Main Menu
BANGKOK PORTAL

ข่าวสาร

ขนมครกใบเตย กิจกรรมคหกรรม อาคาร 1 ชั้น 2 ทุกวันอังคาร - วันศุกร์ ตลอดเดือนกรกฎาคม 2567

“ขนมครกใบเตย” นั้น มีอีกชื่อเรียกว่า “ขนมครกสิงคโปร์” เชื่อกันว่ามีต้นฉบับเป็นขนมของชาวมุสลิม 2 ชนิด
- ชนิดแรก คือ “ชาราบี” ขนมของชาวบ้านในหมู่เกาะชวาแห่งอินโดนีเซีย ซึ่งรูปลักษณ์ภายนอกเป็น ขนมครกสีเขียว เพราะใช้แป้งข้าวเจ้าหรือแป้งสาลีต้มกับใบเตยและกะทิ
- อีกชนิดคือ “ขนมจอร้อ” ขนมที่รูปลักษณ์ใกล้เคียงกับขนมครกใบเตย มากสุด แต่ต่างกันที่ “จอร้อ” นั้น ใช้แป้งสาลี น้ำใบเตย ไข่ไก่ น้ำตาลทราย และกะทิ ผสมกันแล้วนำไปหยอดพิมพ์ แต่ขนมครกใบเตย ใช้แป้งมันสำปะหลัง สันนิษฐานว่าขนมทั้ง 2 ชนิดนี้เผยแพร่เข้าสู่ไทย
- ในสมัยของรัชกาลที่ 5 และคงเป็นที่นิยมของชาวไทยทั่วไปจนมีการดัดแปลงสูตรกันเรื่อยมา แต่จุดสำคัญที่ทำให้เกิดเป็นขนมครกใบเตยขึ้น คือ การนำเข้าส่วนประกอบหลัก คือ แป้งมันสำปะหลังจากประเทศสิงคโปร์ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งคนไทยน่าจะนำมาใช้ร่วมกับสูตรขนมชาราบี และ จอร้อ ที่ดัดแปลงมา จนเกิดเป็น “ขนมครกสิงคโปร์” หรือ “ขนมครกใบเตย” นับแต่นั้นมา