Main Menu
ไทย
Eng
Facebook
Instagram
Youtube
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ประวัติความเป็นมา
ผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายข้าราชการการเมือง
ผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายข้าราชการประจำ
ผู้บริหารสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
ข่าวสาร
กิจกรรม
กิจกรรมประจำเดือน
นิทรรศการหมุนเวียน
กิจกรรมพิเศษ
ติดต่อเรา
แนะนำพพด.2(ทุ่งครุ)
แนะนำพพด.2(ทุ่งครุ)
แผนผังอาคารพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 2 (ทุ่งครุ)
หน้าแรก
ข่าวสาร
ข่าวสาร
กลับไปหน้าหลัก
Fossils Tell Long Ago กิจกรรมวิทยาศาสตร์ วันเสาร์ - วันอาทิตย์ ประจำเดือนมิถุนายน 2567
ซากดึกดำบรรพ์ หรือ “ฟอสซิล” (Fossil) คือ หินที่เก็บรักษาซากสิ่งมีชีวิตโบราณหรือร่องรอยของการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ แบคทีเรีย ส่วนของละอองเกสร หรือแม้แต่รอยเท้าต่าง ๆ ซึ่งถูกแปรสภาพและเก็บรักษาไว้ด้วยกระบวนการทางธรรมชาติ ในชั้นหินใต้เปลือกโลก ก่อนจะกลายมาเป็นหลักฐานทางธรณีวิทยาที่สำคัญให้เราได้ทำการศึกษาและทำความเข้าใจต่อโลกและสิ่งมีชีวิตในอดีต
กระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ กระบวนการแทรกซึมของแร่ธาตุ (Permineralization) เกิดขึ้นเมื่อซากสิ่งมีชีวิตถูกทับถมภายใต้ดินตะกอนเป็นเวลานาน ทำให้แร่ธาตุในตะกอนเหล่านี้ แทรกซึมเข้าไปภายในช่องว่างของร่างกาย ทั้งในเนื้อและกระดูกของสิ่งมีชีวิต กระบวนการกลายเป็นหิน (Petrification) เกิดขึ้นจากการที่สารอินทรีย์ภายในซากของสิ่งมีชีวิตถูกแทนที่ด้วยสารละลายซิลิกา (Silica) หรือสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate) ซึ่งยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ชะลอการย่อยสลายทางธรรมชาติ ทำให้สามารถคงสภาพของโครงร่างสิ่งมีชีวิตไว้ได้ โดยไม่เกิดการสูญสลาย
แชร์