Main Menu
ไทย
Eng
Facebook
Instagram
Youtube
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ประวัติความเป็นมา
ผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายข้าราชการการเมือง
ผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายข้าราชการประจำ
ผู้บริหารสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
ข่าวสาร
กิจกรรม
กิจกรรมประจำเดือน
นิทรรศการหมุนเวียน
กิจกรรมพิเศษ
ติดต่อเรา
แนะนำพพด.2(ทุ่งครุ)
แนะนำพพด.2(ทุ่งครุ)
แผนผังอาคารพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 2 (ทุ่งครุ)
หน้าแรก
ข่าวสาร
ข่าวสาร
กลับไปหน้าหลัก
โมบายปลาตะเพียน
ปลาตะเพียนสาน เป็นงานประดิษฐ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทย เดิมมักใช้ใบลานมาทำเป็นเส้นแผ่นยาว ๆ บาง ๆ มาตากแดด แล้วมาสานเป็นรูปปลาตะเพียน เนื่องจากใบลานมีโครงสร้างที่เหนียว แข็งแรง แล้วลงสีให้สวยงาม จากนั้นก็นำมาประกอบเป็นโมบาย สมัยก่อนคนไทยมีอาชีพทำนากันเป็นส่วนใหญ่ ในคูคลองก็จะมีปลาตะเพียนเป็นจำนวนมาก ปลาตะเพียนสานจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากช่วงที่ปลาโตเต็มที่นั้น เป็นช่วงเดียวกับช่วงเวลาที่ข้าวตกรวง นอกจากนี้ผู้ใหญ่มักจะแขวนปลาตะเพียนสานไว้เหนือเปลเด็ก เพื่อเป็นการอวยพรให้เด็กสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย ปลาตะเพียนสาน มี 2 ชนิด คือ ชนิดมีลวดลายและตกแต่งสวยงาม ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และอีกชนิดหนึ่งเป็นเพียงสีใบลานตามธรรมชาติ ปัจจุบันปลาตะเพียนสานยังมีการทำเป็นสินค้า OTOP ของชาวบ้านกลุ่มท่าวาสุกรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกด้วย ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน และยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของคนไทยไว้ นอกจากนี้บางคนยังใช้ริบบิ้นทำอีกด้วย นอกจากปลาตะเพียนสานใบลานที่ลงสีมา
ในสมัยรัชการที่ 5 แล้วในปัจจุบันยังมีการคิดเพิ่มเติมค่าให้ปลาตะเพียน ในสมัยปัจจุบันได้มีการค้นคิดการฉลุใบลานขึ้นมาอีก เพี่อเพิ่มคุณค่าและลวดลายต่าง ๆ ลงไป อีกทั้งยังพัฒนาประโยชน์การใช้งานปลาตะเพียนสานใบลานให้มีประโยชน์มากกว่าการที่จะเป็นเครื่องแขวนสำหรับใช้ในโอกาสอื่น ๆ อีกมากมาย
แชร์