Main Menu
ไทย
Eng
Facebook
Instagram
Youtube
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ประวัติความเป็นมา
ผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายข้าราชการการเมือง
ผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายข้าราชการประจำ
ผู้บริหารสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
ข่าวสาร
กิจกรรม
กิจกรรมประจำเดือน
นิทรรศการหมุนเวียน
กิจกรรมพิเศษ
ติดต่อเรา
แนะนำพพด.2(ทุ่งครุ)
แนะนำพพด.2(ทุ่งครุ)
แผนผังอาคารพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 2 (ทุ่งครุ)
หน้าแรก
ข่าวสาร
ข่าวสาร
กลับไปหน้าหลัก
ภาวะลูกเล่นไม่ยอมเลิกของเด็กน้อยวัยซุกซน
บ้านไหนที่ลูกมีอาการติดเล่นไม่ยอมเลิกง่าย ๆ กันบ้างคะ เชื่อเลยค่ะว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องประสบพบเจอภาวะนี้อย่างแน่นอน ยิ่งเจอของเล่นที่ชอบแล้วนั้น บอกให้เลิกเล่นเท่าไหร่ก็ไม่ยอม วันนี้เรามีวิธีจัดการกับลูกที่เล่นไม่ยอมเลิกมาฝากค่ะ มาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าทำไมลูกถึงติดใจ หรือถูกใจอะไรแล้วถึงแยกจากสิ่งนั้นได้ยาก
ทำไมเด็กถึงติดเล่น
1. เด็กใช้เวลาปรับตัวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน จึงทำให้เด็ก ๆ ติดใจอะไรแล้วมักจะเลิกเล่นยาก
2. เกิดจากช่วงวัยเด็ก ซึ่งเด็กประมาณ 1-3 ขวบหากติดใจกับอะไรแล้ว มักจะแยกออกจากสิ่งนั้น ๆ ยาก
3 วิธีจัดการเมื่อลูกเล่นไม่เลิก
วิธีที่ 1 : พูดเกริ่นก่อนให้รู้ตัว
วิธีนี้เป็นวิธีที่เมื่อถึงเวลาที่ลูกควรเลิกเล่นได้แล้ว ให้พ่อแม่พูดเกริ่นให้เขารู้ตัวเสียก่อนว่าหมดเวลาแล้วนะ เช่น เมื่อลูกเล่นอยู่กับเพื่อนอย่างสนุกสนาน แต่ถึงเวลาต้องกลับบ้าน ก็ค่อย ๆ กระซิบบอกเขาก่อนเลยว่า “ใกล้ได้เวลากลับบ้านแล้วนะลูก” หรือ “หนูหิวข้าวหรือยัง เดี๋ยวเราเตรียมตัวกลับบ้านไปทานข้าวเย็นกันนะ” หรืออาจจะกำหนดเวลาให้เขารู้ตัวได้เช่น “ให้เวลา 10 นาทีนะ” เป็นต้น
วิธีที่ 2 : หากลูกยังนิ่งเฉย ให้หาสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจ
วิธีนี้เป็นขั้นต่อมาจากวิธีที่ 1 ซึ่งหากยังไม่ได้ผลคุณพ่อคุณแม่อาจจะลองหาสิ่งที่เด็ก ๆ สนใจเป็นพิเศษมาอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจในขณะที่เขากำลังเล่นกับเพื่อนโดยไม่มีท่าทีว่าจะเลิก เช่น “วันนี้ก่อนนอนแม่จะพาหนูดูการ์ตูนที่หนูชอบสักเรื่อง เดี๋ยวเรากลับไปดูกันที่บ้านนะ” เป็นต้น พยายามหาเรื่อง หรือกิจกรรมมาทดแทนความสนใจที่เขามีอยู่ให้ได้
วิธีที่ 3 : ฝืนความสงสารเอาไว้
วิธีนี้เป็นวิธีสุดท้ายหลังจากที่คุณพ่อคุณแม่ใช้วิธีที่ 1 และ วิธีที่ 2 ไม่สำเร็จ จะสังเกตได้เลยว่าเด็ก ๆ บางคนเริ่มมีอาการไม่พอใจ ร้องไห้ โวยวาย ขึ้นมา แต่พ่อแม่ต้องฝืนความสงสารเอาไว้ไม่ควรตามใจ อาจต้องดึงดูดความสนใจเป็นระยะ ๆ ไม่ควรปล่อยไว้ให้ร้องไห้ สะอึกสะอื้น หรือหากลูกร้องไห้โวยวายหนักจริง ๆ อาจจะใช้วิธีกอดลูกไว้ แล้วพาเขาออกมาจากสิ่งนั้นเลย โดยห้ามดุด่าเด็ดขาด และพยายามคุยกับเขาให้มาก ไม่นานเขาก็จะลืมและอารมณ์ดีขึ้นเอง
แชร์