Main Menu
ไทย
Eng
Facebook
Instagram
Youtube
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ประวัติความเป็นมา
ผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายข้าราชการการเมือง
ผู้บริหารกรุงเทพมหานครฝ่ายข้าราชการประจำ
ผู้บริหารสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
ข่าวสาร
กิจกรรม
กิจกรรมประจำเดือน
นิทรรศการหมุนเวียน
กิจกรรมพิเศษ
ติดต่อเรา
แนะนำพพด.2(ทุ่งครุ)
แนะนำพพด.2(ทุ่งครุ)
แผนผังอาคารพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 2 (ทุ่งครุ)
หน้าแรก
ข่าวสาร
ข่าวสาร
กลับไปหน้าหลัก
เล่นสะบ้า กิจกรรมศิลปะการแสดง ทุกวันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์
การละเล่นสะบ้า ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าชนชาติใดเริ่มเล่นก่อนเป็นชาติแรก และมีมาแต่เมื่อใด ซึ่งเท่าที่พบแต่ละชนชาติก็มีบุคลิกลักษณะการเล่นเป็นของตัวเอง ในส่วนของไทยมีบันทึกอยู่ในกฎมณเฑียรบาลเมื่อต้นกรุงศรีอยุธยากว่า 500 ปีมาแล้ว ว่า การละเล่นสมัยนั้นมีแข่งวัวควาย แข่งเกวียนเทียมวัวควาย แข่งช้างชนกัน หัวล้านชนกัน ต่อยมวย ตีไก่ กัดปลา รวมทั้งสะบ้า เพียงแต่ปัจจุบันเหลือเล่นกันอยู่มากในกลุ่มมอญ-เขมร และบางกลุ่มในสิบสองปันนา ประเทศจีน
คำเรียกชื่อการละเล่นที่ใช้ลูกสะบ้าของชาติต่าง ๆ มักเรียกตามผลสะบ้า เช่น ชาวไทใหญ่ ในพม่าและแถบแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “หมากนิม” ชาวไทเขินเรียก “หมากวา” ย่านอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่านเรียก “หมากบ้า” ชาวลำปางเรียก “หมากนิมคำ” ชาวฉิ่นในพม่าเรียก “กาวี” ชาวลาหู่เรียก “หม่ายี้สื่อต่อดะเว” ชาวอาข่าเรียก “อ๊ะเบอฉ่อเออ” ชาวชองแถบจันทบุรีเรียก “พลีซะบ่า” ชาวลาวเรียก “หมากบ้า” ชาวเกาหลีเรียก “โทลชิ โนริ” ชาวมวงในเวียดนามเรียก “ดันฮ์ มัง” ชาวปากีสถานเรียก “กิลลิ ดานดา” ชาวชวาตะวันตกของอินโดนีเซียเรียก “กาตริก” ชาวมอญเรียก “ฮะนิ” ส่วนชาวเขมรเรียก “ลีงอังกุญจ์” แล้วมาสนุกสนานกับกิจกรรมเล่นสะบ้า กิจกรรมประจำวันเสาร์ - วันอาทิตย์ ในเดือนเมษายน 2567 นี้ ไปด้วยกันนะคะ
แชร์