Main Menu
BANGKOK PORTAL

ข่าวสาร

ศิลปะกระจกสีบนกระดาษ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ อาคาร 1 ชั้น 2 วันอังคาร - วันศุกร์ ประจำเดือนมีนาคม 2567

กระจกสี (Stained Glass) คือ กระจกที่ถูกทำให้เป็นสีต่าง ๆ โดยการเติม Metallic Oxides เช่น ออกไซด์ของทอง ทองแดง โคบอลต์ เป็นต้น ลงไปในระหว่างขั้นตอนของการหลอมในขณะที่กระจกยังอยู่ในสถานะหลอมเหลว แล้วจึงรีดเป็นแผ่นและปล่อยให้เย็น โดยทั่วไปแล้วมักถูกนำมาประกอบเป็นงานศิลปะเพื่อใช้ในการตกแต่งอาคารสถานที่ เช่น หน้าต่าง ประตู หรือบางครั้งอาจนำมาประดับในเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเล็ก เช่น โคมไฟ กล่องใส่เครื่องประดับ เป็นต้น ยุคที่ศิลปะกอทิกรุ่งเรือง
งานกระจกสีก็ได้รับความนิยมและพัฒนาไปมากเช่นกัน เพราะสถาปัตยกรรมกอทิกจะเน้นไปที่ความโปร่ง สูงชะลูด และอ่อนช้อย ทำให้อาคารสถานที่ส่วนมากจะถูกประดับไปด้วยงาน Stained Glass เพื่อให้แสงสามารถส่องผ่านเข้าไปในตัวอาคารได้ดี จนถือเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมกอทิก ซึ่งงานกระจกสีในยุคนี้จะมีขนาดใหญ่และมีรายละเอียดมากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีการสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ ๆ และเทคนิคที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นด้วย Stained Glass นับเป็นงานศิลปะยุโรปชั้นสูงที่ถูกเผยแพร่ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลกตามการขยายอิทธิพลตะวันตกและการเผยแผ่คริสต์ศาสนา ซึ่งรวมถึงประเทศไทยที่รับเอางานกระจกสีเข้ามาปรับใช้กับสถาปัตยกรรมในประเทศเช่นกัน โดยจะเห็นได้จากศาสนสถานจำนวนไม่น้อยที่มีการประดับงานกระจกสี เช่น วัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วัดพระวิสุทธิวงศ์ ปทุมธานี, โบสถ์คอนเซ็ปชัญ กรุงเทพฯ, โบสถ์วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล จันทบุรี เป็นต้น