รองผู้ว่าฯ (นายศานนท์ หวังสร้างบุญ) เป็นประธานในพิธีเปิด งาน “Wit in Bangkok” เทศกาลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกรุงเทพมหานคร
วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม 2567 นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิด งาน“Wit in Bangkok” เทศกาลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกรุงเทพมหานคร จัดโดยกรุงเทพมหานคร และภาคีเครื่อข่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ โดยมีนายสิงห์ ลิ้มพิรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว นางสาวรุจิรา อารินทร์ รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว นายปิยะ เย็นจันทร ผู้อำนวยการกองคาราวานวิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นางอติพร สุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีศักยภาพสูง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นายโสภณ สุดเอียด ผู้อำนวยการส่วนห้องสมุดและการเรียนรู้ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ นางณปภัช ละออเอี่ยม ผู้อำนวยการส่วนนันทนาการ นายแทนไท ประเสริฐกุล อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประธานภาคีนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่มงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ อาคารพิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ (โรงงานผลิตยาสูบ 5) สวนเบญจกิติ กรุงเทพมหานคร
รับชมรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ Facebook ส่วนห้องสมุดและการเรียนรู้
งาน Wit in Bangkok เทศกาลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกรุงเทพมหานคร จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 11.00 - 20.00 น. งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “12 เทศกาลตลอดปีกรุงเทพฯ” ของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เนื่องในเดือนวิทยาศาสตร์ไทย และเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร ซึ่งการจัดงานจะดำเนินงานภายใต้แนวคิด “Up Sci Town: วิทย์ทุกมุมเมือง” เพื่อสะท้อนและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
ภายในงานมีนิทรรศการและบูทกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเวทีเสวนาจากเหล่านักสื่อสารวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของประเทศไทย และกิจกรรมเวิร์คชอปต่าง ๆ
ทั้งนี้กิจกรรมประกอบด้วย 4 โซนกิจกรรม 3 นิทรรศการ และ 2 เวทีเสวนาดังนี้
โซน Wit in town : ว่าด้วยเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพมหานครกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งอากาศที่หายใจ น้ำที่ใช้อุปโภคบริโภค รวมถึงสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่ล้วนมีวิทยาศาสตร์มาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
โซน Wit in the wild : ปัญหาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นวาระแห่งชาติที่สำคัญของเมืองที่ประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่นเฉกเช่น กรุงเทพมหานคร มาร่วมสร้างความตระหนักถึงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของเมืองผ่านบูทกิจกรรมต่าง ๆ ใน Wit in the wild
โซน Wit in the class : พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้สร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ ตระหนักต่อความสำคัญของวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างสรรค์สังคมของการเป็นเหตุเป็นผล พร้อมกับการเรียนรู้ที่ไม่ได้จำกัดแค่ในห้องเรียน สร้างเสริมประสบการณ์และความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์กับบูทกิจกรรมจากหน่วยงานด้านการศึกษาในโซน Wit in class
โซน Wit in the crown : การสื่อสารวิทยาศาสตร์ คือ การนำเสนอข้อมูล องค์ความรู้ และแนวคิดตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับบุคคลทั่วไป เพื่อสร้างเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และความเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งบุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้ทำหน้าที่สื่อสารวิทยาศาสตร์ คือ “นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ หรือ Science Communicator” ภายในงานพบกับ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ Science influencers ของไทย มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ พบปะ พูดคุย พร้อมกิจกรรมมากมาย
โมเดลจำลองกรุงเทพมหานคร : โมเดลจำลองเมืองหลวงกรุงเทพมหานครขนาดย่อส่วน ยืนกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ทัศนาริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมแสงสี เล่าเรื่องราวและพลวัตของกรุงเทพฯ ที่เรารู้จักแบบ Interactive
นิทรรศการภาพวาดทางวิทยาศาสตร์จากเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ : Science and Art (ศาสตร์และศิลป์) การรวมกันอย่างลงตัวระหว่างวิทยาศาสตร์ที่ทุกคนสงสัยและศิลปะที่ทุกคนหลงใหล กับนิทรรศการภาพวาดทางวิทยาศาสตร์จากเครื่อข่ายวิทย์สานศิลป์ที่ไม่ใช่เพียงแค่ความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความรู้และถูกต้องตามหลักวิชาการ
นิทรรศการหลอกลวง(สมอง)จากประสิทธิ์ประสาท : คำโกหกและคำลวงเป็นสิ่งที่เราต้องใช้ประสาทสัมผัสไตร่ตรองเพื่อพิสูจน์ความจริง จะเป็นยังไงเมื่อสิ่งที่เราเห็นกับความจริงนั้นสวนทางกัน พบกับศาสตร์และศิลป์แห่งการลวงหลอกโสตประสาทไปกับนิทรรศการหลอกลวง (สมอง) จากประสิทธิ์ประสาท หลังจากนี่คุณอาจ ‘ไม่เชื่อ’ ในสิ่งที่ตาเห็นก็ได้
เสวนาจากผู้เชี่ยวชาญ : โลกแห่งวิทยาศาสตร์มีองค์ความรู้ต่าง ๆ มากมายที่รอคอยการค้นพบ คงจะดีไม่น้อยถ้าเราได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นจากผู้เชี่ยวชาญ มาค้นหาคำตอบกับผู้เชี่ยวชาญและร่วมกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ไปกับเวทีเสวนา Cosmos Stage และ Quantum Stage ในหัวข้อและกิจกรรมที่หลากหลาย
รับชมรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่ Facebook ส่วนห้องสมุดและการเรียนรู้
งาน Wit in Bangkok เทศกาลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกรุงเทพมหานคร จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-11 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เวลา 11.00 - 20.00 น. งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “12 เทศกาลตลอดปีกรุงเทพฯ” ของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เนื่องในเดือนวิทยาศาสตร์ไทย และเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร ซึ่งการจัดงานจะดำเนินงานภายใต้แนวคิด “Up Sci Town: วิทย์ทุกมุมเมือง” เพื่อสะท้อนและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
ภายในงานมีนิทรรศการและบูทกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเวทีเสวนาจากเหล่านักสื่อสารวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของประเทศไทย และกิจกรรมเวิร์คชอปต่าง ๆ
ทั้งนี้กิจกรรมประกอบด้วย 4 โซนกิจกรรม 3 นิทรรศการ และ 2 เวทีเสวนาดังนี้
โซน Wit in town : ว่าด้วยเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพมหานครกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งอากาศที่หายใจ น้ำที่ใช้อุปโภคบริโภค รวมถึงสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่ล้วนมีวิทยาศาสตร์มาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
โซน Wit in the wild : ปัญหาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นวาระแห่งชาติที่สำคัญของเมืองที่ประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่นเฉกเช่น กรุงเทพมหานคร มาร่วมสร้างความตระหนักถึงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของเมืองผ่านบูทกิจกรรมต่าง ๆ ใน Wit in the wild
โซน Wit in the class : พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้สร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ ตระหนักต่อความสำคัญของวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างสรรค์สังคมของการเป็นเหตุเป็นผล พร้อมกับการเรียนรู้ที่ไม่ได้จำกัดแค่ในห้องเรียน สร้างเสริมประสบการณ์และความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์กับบูทกิจกรรมจากหน่วยงานด้านการศึกษาในโซน Wit in class
โซน Wit in the crown : การสื่อสารวิทยาศาสตร์ คือ การนำเสนอข้อมูล องค์ความรู้ และแนวคิดตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับบุคคลทั่วไป เพื่อสร้างเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และความเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งบุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้ทำหน้าที่สื่อสารวิทยาศาสตร์ คือ “นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ หรือ Science Communicator” ภายในงานพบกับ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ Science influencers ของไทย มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ พบปะ พูดคุย พร้อมกิจกรรมมากมาย
โมเดลจำลองกรุงเทพมหานคร : โมเดลจำลองเมืองหลวงกรุงเทพมหานครขนาดย่อส่วน ยืนกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ทัศนาริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมแสงสี เล่าเรื่องราวและพลวัตของกรุงเทพฯ ที่เรารู้จักแบบ Interactive
นิทรรศการภาพวาดทางวิทยาศาสตร์จากเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ : Science and Art (ศาสตร์และศิลป์) การรวมกันอย่างลงตัวระหว่างวิทยาศาสตร์ที่ทุกคนสงสัยและศิลปะที่ทุกคนหลงใหล กับนิทรรศการภาพวาดทางวิทยาศาสตร์จากเครื่อข่ายวิทย์สานศิลป์ที่ไม่ใช่เพียงแค่ความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความรู้และถูกต้องตามหลักวิชาการ
นิทรรศการหลอกลวง(สมอง)จากประสิทธิ์ประสาท : คำโกหกและคำลวงเป็นสิ่งที่เราต้องใช้ประสาทสัมผัสไตร่ตรองเพื่อพิสูจน์ความจริง จะเป็นยังไงเมื่อสิ่งที่เราเห็นกับความจริงนั้นสวนทางกัน พบกับศาสตร์และศิลป์แห่งการลวงหลอกโสตประสาทไปกับนิทรรศการหลอกลวง (สมอง) จากประสิทธิ์ประสาท หลังจากนี่คุณอาจ ‘ไม่เชื่อ’ ในสิ่งที่ตาเห็นก็ได้
เสวนาจากผู้เชี่ยวชาญ : โลกแห่งวิทยาศาสตร์มีองค์ความรู้ต่าง ๆ มากมายที่รอคอยการค้นพบ คงจะดีไม่น้อยถ้าเราได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นจากผู้เชี่ยวชาญ มาค้นหาคำตอบกับผู้เชี่ยวชาญและร่วมกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ไปกับเวทีเสวนา Cosmos Stage และ Quantum Stage ในหัวข้อและกิจกรรมที่หลากหลาย
ข่าวสารอื่นๆ
-
10 Oct ,2022
ผอ. สนส.เป็นประธานการประชุมหารืองานจ้างเหมาปรับปรุงภาพลักษณ์ห้องสมุดฯ วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต -
26 Aug ,2023
รองผู้ว่าฯ ศานนท์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานเทศกาลสื่อสารวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566 = Science Communication Festival 2023 (Science and Art : ศาสตร์และศิลป์) -
07 Apr ,2024
สสร.จัดกิจกรรมวันครอบครัว Learning together, Creating the future (เรียนรู้ร่วมกัน สร้างสรรค์อนาคต) ครอบครัวสุขสันต์ สงกรานต์สุขใจ ณ พพด.2