Main Menu
BANGKOK PORTAL

  • ไทย
  • Eng

รู้จักอาคารราชดำเนินกลาง

อาคารหลังนี้เป็นอาคาร คสล. (คอนกรีตเสริมเหล็ก) ความสูง ๓ ชั้น พื้นที่ใช้สอยรวม ๔,๘๘๐.๓๘ ตารางเมตร
มีความเป็นมาแรกเริ่มภายใต้พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕)
ให้ตัดถนนราชดำเนินจากพระราชวังดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวัง
โดยจัดวางรูปแบบตามลักษณะของ Champs Elysees ในประเทศฝรั่งเศส
การก่อสร้างถนนราชดำเนินเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ส่วนอาคารตลอดแนวถนนราชดำเนินกลาง
ได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ โดยสถาปนิกหลายท่าน อาทิ หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล นายจิตรเสน อภัยวงศ์
(นามเดิม คือ นายหมิว อภัยวงศ์) ซึ่งใช้แนวความคิดในการออกแบบจาก Champ Elysees
ตามพระราชดำริเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้มีก่อสร้างระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๒ – พ.ศ.๒๔๙๑
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

ต่อเนื่องถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ได้ทำการปลูกสร้างกลุ่มอาคารสาธารณะประเภทต่างๆ ประกอบด้วย อาคารพาณิชย์ โรงแรมและโรงมหรสพ
ซึ่งรูปแบบเป็นศิลปะสไตล์อาร์ตเดคอร์ แลนีโอ - พลาสติก(สถาปัตยกรรมเดิม)
ซึ่งมีลักษณะเฉพาะบางประการ เช่น มีกันสาดบางๆ คลุมส่วนหน้าต่าง
มีขอบปูนปั้นมีการใช้ลูกกรงเป็นเส้นแนวนอน เป็นต้น ด้วยแนวคิดการอนุรักษ์
และเคารพในคุณค่าของสถาปัตยกรรมเดิม ส่งผลให้การออกแบบปรับปรุงอาคารหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร
ยังคงกลิ่นอายอารยธรรมตะวันตกผสมผสานการตกแต่งแบบศิลปะไทย เพื่อคงรูปแบบเดิมไว้ให้มากที่สุด

  ลักษณะอาคารของหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ได้รับการออกแบบให้มีความโอ่โถง โปร่งสบาย ตามแนวคิด “แสงแห่งปัญญา” (Wisdom of Life) ตามรอยทางของพระราชา ตามรอยแสงแห่งปัญญา เพราะการเรียนรู้เปรียบเสมือนแสงสว่าง การออกแบบแสงสว่างในอาคารจึงเป็นสิ่งที่ผู้ออกแบบต้องการเน้นโดยเฉพาะบริเวณที่มีการอ่านหนังสือและการทำงาน ส่วนบริเวณอื่นๆ
จะมีการคุมแสงให้อยู่ในระดับสบายตาในโทนสีที่ร่วมสมัย มีการตกแต่ง
ใช้ลวดลาย สี และวัสดุที่บ่งบอกเอกลักษณ์ความเป็นไทย ซึ่งอยู่ในยุคเดียวกันกับศิลปะสไตล์อาร์ตเดคอร์ และนีโอ - พลาสติก (สถาปัตยกรรมเดิม)โดยกรุงเทพมหานครได้จัดสรรพื้นที่ใช้สอยไว้ทั้งหมด ๔ ชั้น (รวมชั้นลอย)