Main Menu
BANGKOK PORTAL

ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด

ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ ไวรัส COVID-19

โควิด-19 ส่งผลต่อผู้คนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล

อาการทั่วไปมีดังนี้
มีไข้
ไอแห้ง
อ่อนเพลีย
อาการที่พบไม่บ่อยนักมีดังนี้
ปวดเมื่อยเนื้อตัว
เจ็บคอ
ท้องเสีย
ตาแดง
ปวดศีรษะ
สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส
มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
ปกป้องตนเองและคนรอบตัวโดยการหาข้อมูลและปฏิบัติตามข้อควรระวังที่เหมาะสม รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
 

วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์
รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้ที่ไอหรือจาม
สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเว้นระยะห่างไม่ได้
ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปาก
ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม
เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย
หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบากโปรดไปพบแพทย์
โปรดติดต่อล่วงหน้าเพื่อที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะแนะนำให้คุณไปยังสถานพยาบาลที่ถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยปกป้องคุณ รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสและการติดเชื้ออื่นๆ
หน้ากากอนามัย
หน้ากากอนามัยช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ที่สวมแพร่กระจายไวรัสไปยังผู้อื่น อย่างไรก็ตาม หน้ากากอนามัยเพียงอย่างเดียวป้องกันเชื้อโควิด-19 ไม่ได้ จึงควรรักษาระยะห่างและหมั่นทำความสะอาดของมือร่วมด้วย รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
การดูแลตนเอง
หากรู้สึกไม่สบาย คุณควรพักผ่อน ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ กักตัวเองในห้องแยกจากสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ และใช้ห้องน้ำแยก หากเป็นไปได้ ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวที่สัมผัสเป็นประจำ
เมื่ออยู่ที่บ้าน ทุกคนควรทำกิจวัตรประจำวันที่ดีต่อสุขภาพ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ และติดต่อคนที่รักผ่านโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ต เด็กๆ ต้องการความรักและการเอาใจใส่เป็นพิเศษจากผู้ใหญ่ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ และโปรดใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงรักษาตารางเวลาตามปกติเท่าที่จะทำได้
ความรู้สึกเศร้า ตึงเครียด หรือสับสนเป็นเรื่องปกติในช่วงวิกฤต การพูดคุยกับคนที่ไว้ใจ เช่น เพื่อนหรือครอบครัวช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ แต่หากรู้สึกเป็นกังวลมาก โปรดติดต่อพูดคุยกับบุคลากรทางการแพทย์หรือนักจิตวิทยาการปรึกษา