Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
Youtube
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
ประวัติห้องสมุด
วิสัยทัศน์ พันธกิจ
การสมัครสมาชิกห้องสมุด
ระเบียบการใช้ห้องสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
หนังสือและสิ่งพิมพ์
นิตยสาร วารสารใหม่
หนังสือแนะนำสำหรับเด็กและเยาวชน
หนังสือ 1เขต 1 วรรณกรรม
บทความ
บทความน่ารู้
ไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
ร่วมตอบแบบสอบถาม
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
E-Books
หน้าแรก
บทความ
ไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว
ไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว
กลับไปหน้าหลัก
มะเขือเปราะ
มะเขือเปราะ
ชื่อสามัญ
Thai Eggplant, Yellow berried nightshade ส่วนอินเดียเรียก Kantakari
มะเขือเปราะ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Solanum virginianum L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Solanum mairei H. Lév., Solanum xanthocarpum Schrad. & H. Wendl.) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (
SOLANACEAE
)
มะเขือเปราะ
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะเขือขัยคำ มะเขือคางกบ มะเขือจาน มะเขือแจ้ มะเขือแจ้ดิน มะเขือดำ (ภาคเหนือ), มะเขือหืน (ภาคอีสาน), มะเขือขื่น มะเขือเสวย (ภาคกลาง), เขือพา เขือหิน (ภาคใต้), มั่งคอเก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หวงกั่วเชี๋ย หวงสุ่ยเชี๋ย (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะของมะเขือเปราะ
ต้นมะเขือเปราะ
มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 ฟุต มีอายุได้หลายฤดูกาล
ใบมะเขือเปราะ
ใบมีขนาดใหญ่ ออกเรียงตัวแบบสลับ
ดอกมะเขือเปราะ
ออกดอกเดี่ยว ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีม่วงหรือสีขาว
ผลมะเขือเปราะ
ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมแบนหรือเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีขาวอมเขียว และอาจเป็นสีขาว สีเขียว สีเหลือง หรือสีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ผลเมื่อแก่แล้วจะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในผลเป็นสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น
สรรพคุณของมะเขือเปราะ
1.ที่ประเทศอินเดียจะใช้น้ำต้มจากผลมะเขือเปราะเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (ผล)
2.ผลใช้เป็นยาลดไข้ (ผล)
3.ใช้เป็นยาแก้ไข้พิษร้อน กระทุ้งพิษไข้ ใช้เป็นยาขับน้ำชื้น (ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนใด)
4.ผลตากแห้งนำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งใช้ปรุงเป็นยาแก้ไอ ส่วนการแพทย์อายุรเวทของอินเดียจะใช้รากมะเขือเปราะเป็นยารักษาอาการไอ (ราก, ผล)
5.รากใช้เป็นยาแก้หอบหืด หลอดลมอักเสบ (ราก)
6.ใช้แก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้ราก 15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำอมในปาก (ราก)
7.ช่วยขับลม (ราก)
8.ช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยในการขับถ่าย (ผล)
9.ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะอาหาร (ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนใด)
10.ผลมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ (ผล)
11.รากมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
12.ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ (ผล)
13.ใช้เป็นยาแก้อัณฑะอักเสบ ด้วยการใช้ 15 กรัม, หญ้าแซ่ม้า 15 กรัม และต้นทิ้งถ่อน นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)
14.ช่วยลดการอักเสบ (ผล)
15.ใบสดใช้ภายนอกนำมาตำพอกแก้พิษ แก้ฝีหนอง (ใบสด)
16.ช่วยแก้อาการปวดบวม ปวดหลัง ฟกช้ำดำเขียว (ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนใด)
17.ใช้เป็นยาช่วยขับลมชื้น แก้อาการปวดข้อเนื่องจากลมชื้นติดเกาะ แก้ไขข้ออักเสบ มือเท้าชา ด้วยการใช้ผลสดประมาณ 70-100 กรัม นำมาตุ๋นกับไตหมูรับประทาน (ผล)
***ถ้าอยากได้ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำกลับบ้านได้***
แชร์