Main Menu
BANGKOK PORTAL

  • ไทย
  • Eng

ไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว

กล้วยไม้

กล้วยไม้ ชื่อวิทยาศาสตร์: Orchidaceae

กล้วยไม้ ชื่อสามัญ: Dendrobium sp.

กล้วยไม้ ชื่อวงศ์: Orchidaceae 

กล้วยไม้ หรือ เอื้อง เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีประมาณ 899 สกุล และมีประมาณ 27,000 ชนิดที่มีการยอมรับ และจะมีการค้นพบราวๆ 800 ชนิดทุกๆ ปี มีสกุลใหญ่ๆ คือ Bulbophyllum (2,000 ชนิด), Epidendrum (1,500 ชนิด), Dendrobium (1,400 ชนิด) และ En:Pleurothallis (1,000 ชนิด) แต่หากจะกล่าวถึงดอกกล้วยไม้ที่คนทั่วไปต่างก็รู้จัก ผู้คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงภาพของดอกกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม และยังนึกถึงกลิ่นหอมอ่อนๆ ละมุน น่าหลงใหล ท่านทราบหรือไม่ว่า สัญลักษณ์ของกล้วยไม้ที่ยอมรับกันเป็นสัญลักษณ์สากลทั่วโลก นั้นเป็นกล้วยไม้ประเภทใด คำตอบคือ กล้วยไม้สกุลแคทลียา (Cattleya
 

กล้วยไม้ในสกุลแคทลียานี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน (ตามลักษณะของใบ) ได้แก่

1. Unifoliate group (ประเภทใบเดี่ยว) เป็นแคทลียาประเภทที่ปลายลำลูกกล้วยมีใบเพียงใบเดียวเท่านั้น มักออกดอกน้อย ช่อหนึ่งอาจมีเพียง 1 หรือ 2 ดอกเท่านั้น ช่อดอกสั้น ดอกมีขนาดใหญ่ มีลักษณะผึ่งผาย มีกลีบปากที่สวยงามและเป็นจุดเด่นของดอก

2. Bifoliate group (ประเภทใบคู่) เป็นแคทลียาประเภทที่ลำลูกกล้วยมี 2 ใบ อาจจะมีใบถึง 3 ใบก็ได้ มักจะออกดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีหลายดอก ช่อดอกยาว ดอกมีขนาดค่อนข้างเล็ก กลีบดอกเป็นมัน มีจำนวนดอกต่อช่อมาก 5 - 20 ดอก ปากมีขนาดเล็ก ปลายปากค่อนข้างแหลม รูปคล้ายหอก สีดอกมีความสดใสและหลากหลาย มีหลายชนิดที่กลีบดอกมีจุดน้ำตาลหรือม่วงแดงแต้ม

ความเชื่อเกี่ยวกับไม้มงคล

ดอกกล้วยไม้ผูกพันกับความเชื่อและความศรัทธามาช้านาน อย่างที่เราเห็นว่าจะมีการนำดอกกล้วยไม้มาจัดช่อให้สวยงาม เพื่อนำขึ้นถวายพระหรือใช้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เสมอ นั่นก็เพราะความเชื่อในแง่ที่ว่า ดอกกล้วยไม้เป็นดอกไม้อันบริสุทธิ์ เป็นดอกไม้แห่งความนอบน้อม ในขณะที่ยังคงความสง่างามเอาไว้ด้วย คนโบราณจึงนิยมปลูกไว้ในเรือนชานสำหรับเก็บไว้ไหว้พระ พร้อมกับเสริมมงคลให้กับคนในบ้าน ว่ากันว่า หากบ้านไหนเลี้ยงดูกล้วยไม้จนออกดอกงดงาม คนในบ้านก็จะเป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป มีคนเมตตา คอยเกื้อหนุนอย่างสม่ำเสมอ เวลาจะทำสิ่งใดจึงสำเร็จได้โดยง่าย มีเสน่ห์ประจำตัว สร้างความประทับใจแรกพบได้ดี นอกจากนี้ กล้วยไม้แต่ละสายพันธุ์ก็จะมีคุณเฉพาะตัวที่ต่างกันไปด้วย เช่น สายพันธุ์แคทลียา จะช่วยเสริมในเรื่องของลาภยศ และเสริมเกียรติให้กับครอบครัว เป็นต้น

ตำแหน่งที่เหมาะสมแก่การปลูกภายในบริเวณบ้าน

สิ่งเดียวที่ต้องระวังก่อนเลือกตำแหน่งปลูกกล้วยไม้ ก็คือปริมาณของแสงแดดที่ได้รับ เพราะกล้วยไม้ชื่นชอบความชื้นสูง แม้จะเป็นสายพันธุ์ที่เติบโตได้ดีในเขตร้อน ก็ยังไม่ต้องการแดดจัดตลอดทั้งวันอยู่ดี ดังนั้น ควรเลือกจุดที่มีร่มไม้บัง และมีช่องให้กล้วยไม้ได้รับแดดสัก 40-70 เปอร์เซ็นต์ก็พอ ตำแหน่งที่ดีมากๆ สำหรับการปลูกเพื่อเสริมสิริมงคลคือ ทิศตะวันออกของบ้าน ซึ่งถ้ามองตามคุณสมบัติของกล้วยไม้แล้ว ทิศนี้ยังดีต่อการเจริญเติบโตด้วย และวันพุธก็เป็นฤกษ์มงคลที่สุดในการเพาะปลูก

ส่วนประกอบ

ลักษณะของลำต้น

ลำต้นของกล้วยไม้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือลำต้นแท้ มีลักษณะเป็นข้อปล้องต่อกัน ตรงรอยต่อของแต่ละข้อสามารถแตกเป็นกิ่งหรือมีใบงอกออกมาได้ อีกส่วนเราเรียกว่าลำต้นเทียม หรือ ลำลูกกล้วย ลักษณะจะเป็นท่อนเดียวที่มีอวบอ้วน เป็นส่วนสะสมอาหารของกล้วยไม้

ใบ

ใบกล้วยไม้จะมีความหนาของใบ สีสัน และรูปร่างต่างกันไปตามสายพันธุ์ แต่จะมีเส้นใบทอดตัวตามแนวยาวเหมือนกันหมด ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

ดอก

กล้วยไม้จะออกดอกเป็นช่อ โดยแต่ละดอกจะมีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียในดอกเดียว กลีบดอกเรียงเป็น 2 ชั้น และมีจำนวนกลีบประมาณ 4-6 กลีบเสมอ ไม่ว่าจะเป็นดอกเล็กหรือดอกใหญ่

ผล

เรานิยมเรียกว่า ฝักกล้วยไม้กันมากกว่า รอบนอกจะเป็นกลีบแข็งชัดเจน บางชนิดเรียวยาว บางชนิดกลมป้อม ด้านในจะมีเมล็ดจำนวนมาก ใช้สำหรับขยายพันธุ์ได้
 

สายพันธุ์ยอดนิยม

เนื่องจากกล้วยไม้นั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ เฉพาะที่เติบโตได้ดีในประเทศไทยก็แทบนับไม่ถ้วนแล้ว เราจึงคัดสรรเอาสายพันธุ์ยอดนิยมที่ปลูกได้ง่าย และไม่ต้องดูแลมากเกินไปนักมาแนะนำดังนี้

แคทลียา

คงไม่มีใครไม่รู้จักราชินีแห่งกล้วยไม้ สายพันธุ์ที่มีทั้งสีสันที่สวยงาม ดอกค่อนข้างใหญ่ และบางชนิดก็ยังมีกลิ่นหอมชัดเจน

สกุลหวาย

น่าจะเป็นกล้วยไม้ที่ดูแลได้ง่ายที่สุด แล้วก็พบเห็นมากที่สุดด้วย สายพันธุ์นี้มีให้เลือกหลายเฉดสี และมีช่อดอกที่แข็งแรง

รองเท้านารี

สายพันธุ์นี้มีเสน่ห์ที่ลักษณะดอก เพราะมีส่วนกระเป๋าด้านล่างคล้ายคลึงกับรองเท้า และกลีบบนก็มีลวดลายที่ต่างจากกลีบอื่น เติบโตได้ดีในพื้นที่อากาศร้อน

ฟาแลนนอปซิส

อีกหนึ่งฉายาก็คือ “ผีเสื้อกลางคืน” ด้วยลักษณะดอกที่มีกลีบคู่หนึ่งใหญ่กว่ากลีบอื่น เรียงตัวคล้ายกับปีกผีเสื้อ และยังมีลวดลายที่โดดเด่นด้วย

ลักษณะ

ลำต้น เป็นพวก sympodial อิงอาศัยอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ หรือโขดหิน ขนาดของลำต้น มีตั้งแต่ 5 ซม.ไปจนกระทั่งถึง 120 ซม. รูปทรงของลำลูกกล้วยจะคล้ายกระบองหรือท่อนอ้อย
ใบ จำนวนใบมีตั้งแต่ 1 - 3 ใบ/ลำ เจริญบนส่วนยอดของลำลูกกล้วย ใบมีลักษณะแบนหรือ เป็นร่องก็ได้ ผิวใบมีลักษณะคล้ายหนัง    ปลายใบอาจจะโค้งมนหรือแหลมก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิด มีเยื่อหุ้มบางๆหุ้มอยู่ที่ลำลูกกล้วยเมื่อมีการเจริญไปได้ระยะหนึ่งแล้ว
ราก เป็นรากแบบกึ่งอากาศ มีทรงกระบอก มีรากเป็นจำนวนมาก รากมีสีขาว และที่ปลายรากจะมีส่วนที่มีสีอาจเป็นสีเขียว หรือเขียวน้ำตาลหุ้มอยู่ก็ได้
ช่อดอก เป็นแบบ raceme มีจำนวนดอกตั้งแต่ 1 ดอก ไปจนกระทั่ง 15 ดอก/ช่อได้
ดอก กลีบดอกชั้นนอกทั้ง 3 กลีบ มีลักษณะที่เหมือนกัน ในขณะที่กลีบใน ทั้ง 2 กลีบ มีขนาดใหญ่กว่า ส่วนของปาก สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ส่วนคือ ปากด้านข้างทั้งสองข้าง (side lobes) และ ปากส่วนกลาง (mid lobe) กลุ่มที่เป็น unifoliate ส่วนของปากเชื่อมต่อกัน ในขณะที่กลุ่มที่เป็น bifoliate ส่วนของปากมีการคอดเว้า สามารถแยกส่วนของปากด้านข้างทั้งสองและปากส่วนกลางได้อย่างชัดเจน เส้าเกสรมีลักษณะเป็นแท่งยื่นออกมา ในสกุลแคทลียาทั้งหมดมี จำนวน pollinia 4 อัน โดยในถุงอับเกสรตัวผู้แต่ละอันมี 2 pollinia ดอกมักมีกลิ่นหอม

วิธีการปลูกและการดูแลรักษา

      ต้นกล้วยไม้เป็นพืชที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการดูแลค่อนข้างมาก เริ่มตั้งแต่เลือกวัสดุปลูกที่เหมาะสม จัดตำแหน่งที่ตั้งให้ได้รับแดดอย่างเพียงพอ ไปจนถึงการเลือกใช้สูตรปุ๋ยที่สอดคล้องกับการเติบโตในช่วงเวลาต่างๆ ดังนั้น ผู้สนใจปลูกกล้วยไม้จึงต้องศึกษาคุณสมบัติของแต่ละสายพันธุ์ก่อนที่จะลงมือปลูกจริง เมื่อเข้าใจทั้งหมดอย่างละเอียดแล้ว ก็จะใช้วิธีปลูกในขั้นต้นไม่ค่อยต่างกันมาก คือให้ล้างลูกกล้วยไม้จนสะอาด นำแช่ในปุ๋ยสูตรแรกก่อนนำลงวัสดุปลูก จากนั้นก็ให้น้ำและให้ปุ๋ยสูตรอื่นตามระยะเวลาที่ควรจะเป็น พร้อมกับเปลี่ยนวัสดุปลูกให้พอดีกับขนาดของต้นกล้วยไม้อยู่เสมอ

แสง

ปริมาณของแสงที่ต้องการขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่เลือก จะมีตั้งแต่ต้องการแดดรำไรไปจนถึงรับแดดประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์

น้ำ

กล้วยไม้เกือบทั้งหมดต้องการความชื้นค่อนข้างสูง แต่ไม่สามารถรดน้ำบ่อยๆ ได้ จึงใช้วิธีรักษาสภาพแวดล้อมโดยรอบให้มีระดับความชื้นที่พอเหมาะแทน

วัสดุปลูก

ต้องเป็นวัสดุที่ดูดซับน้ำและระบายออกได้ดี เช่น กาบมะพร้าว ถ่านไม้ ดินผสม เป็นต้น และต้องพิจารณาชนิดของรากกล้วยไม้ประกอบด้วย

ปุ๋ย

สูตรปุ๋ยจะปรับเปลี่ยนไปตามช่วงของการเจริญเติบโต และความถี่ในการเติมปุ๋ยจะอยู่ที่ 1-2 ครั้งต่อเดือน