นางกวัก ชื่อวิทยาศาสตร์: Alocasia cucullata (Lour.) G.Don
นางกวัก ชื่อสามัญ: Buddha’s Hand, Chinese Taro, Elephant Ear นางกวัก ชื่อวงศ์: Araceae สำหรับในไทยรู้จักกันในชื่อ นางกวักใบโพธิ์ ว่านกวักศรีมหาโพธิ์ ว่านทรหด และว่านเศรษฐีใบโพธิ์ ไม่ทราบถิ่นกำเนิดแน่ชัด แต่ได้รับความนิยมมาเนิ่นนานตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะต้นนางกวักเป็นต้นไม้ที่มีชื่อมงคล โดยเชื่อกันว่าหากบ้านไหนปลูกไว้ จะช่วยเรียกโชคลาภและความร่ำรวยมาสู่ผู้คนในบ้าน แถมชาวจีนยังเชื่ออีกว่าถ้าหากปลูกเอาไว้จะทำให้มีอายุยืนยาวด้วย นอกจากนี้ยังว่ากันอีกว่าถ้าหากใครกินหัวและใบของต้นนางกวักเข้าไป จะทำให้คงกระพันชาตรีและมีเมตตามหานิยม
ความเชื่อเกี่ยวกับไม้มงคล
ต้นนางกวัก ยังมีความเชื่อโบราณอีกว่าถ้าบ้านไหนปลุกไว้จะช่วยนำเงินทองมาให้เจ้าของบ้าน และผู้อยู่อาศัยให้ร่ำรวยยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะแค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าจะช่วยกวักเงิน กวักทอง และกวักโชคลาภให้เข้ามาในบ้าน ส่วนใหญ่หลายบ้านก็นิยมปลูกต้นนางกวักเป็นต้นไม้ติดสวนเพราะนอกจากเป็นไม้มงคลแล้วยังเป็นไม่ประดับสวนได้อีกด้วย
ในแต่ละสายพันธุ์จะมีวิธีการดูแลที่แตกต่างกัน แต่หลักๆที่เหมือนกันคือในเรื่องการการรดน้ำ ถ้ารดน้ำบ่อยเกินไปจะทำให้รากเน่า เรื่องแมลงหรือศัตรูพืชก็ไม่ค่อยมี ควรใส่ปุ๋ยชนิดละลายน้ำเดือนละครั้ง หรือปุ๋ยยูเรียทุก ๆ 3-4 เดือน สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ ถ้าปลูกในบ้านก็ควรเช็ดใบให้เขียวสวยอยู่ตลอดและพาออกไปโดนแดดบ้าง แต่ส่วนมากจะนิยมปลูกในสวนหน้าบ้าน และปลูกเป็นกระถาง
ต้นนางกวัก เป็นไม้ล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน มีก้านตั้งตรงโผล่ขึ้นมาเป็นก้านใบ อวบน้ำ หนาประมาณ 3-6 เซนติเมตร ความยาวประมาณ 20-85 เซนติเมตร มีกวักแตกหน่อโตเป็นต้นใหม่ได้เรื่อย ๆ ส่วนใบมีลักษณะคล้ายใบโพธิ์ ความกว้าง 10-12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปหัวใจ ผิวใบด้านบนเป็นมัน สีเขียวเข้ม มีร่องตื้นตามแนวเส้นใบชัดเจน และมีดอกออกเป็นช่อออกตามกาบใบ มีปลีและใบประดับสีเขียวอ่อน ชัดเจน ต้นที่สมบูรณ์จะมีใบใหญ่เป็นมัน และมีก้านยาว เมื่อใบเก่าแห้งแล้วลองลอกทิ้งจะเห็นเป็นลักษณะคล้ายลำต้น ต้นนางกวักสามารถแตกหน่ออกเป็นต้นใหม่ไปเรื่อย ๆ แม้ปลูกเพียงต้นเดียวก็สามารถมีหน่อจนเต็มกระถาง
กลุ่มไม้มงคลที่มีความเชื่อว่าถ้าปลูกไว้ในบ้าน จะช่วยเรื่องโชคลาภ กวักเงินกวักทองเข้าบ้าน และยังช่วยดูดสารพิษภายในบ้านได้อีกด้วย
วิธีการปลูกและการดูแลรักษา