Main Menu
BANGKOK PORTAL

  • ไทย
  • Eng

ไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว

หมากผู้หมากเมีย
หมากผู้หมากเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์  Cordyline fruticosa (L.) A.Chev
หมากผู้หมากเมีย ชื่อสามัญ  Cabbage palm , Good luck plant , Palmm lily , Red dracaena , Polynesian , Ti plant
วงศ์  Asparagaceae
 ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น  หมากปู๊ , ปู๊หมาก , หมากผู้ (ภาคเหนือ) , มะผู้มะเมีย (ภาคกลาง) , ทิฉิ่งเฮี้ยะ , เที่ยชู (จีน)

ถิ่นกำเนิดหมากผู้หมากเมีย 

หมากผู้หมากเมียเป็นพรรณพืชที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย (น่าจะหมายถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้) แล้วมีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนต่างๆของโลก สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ปัจจุบันมีการผสมข้ามสายพันธุ์หมากผู้หมากเมีย จนได้สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีลักษณะของสีและใบที่สวยงามแปลกตามากมาย เช่น พันธุ์เพชรชมพู พันธุ์เพชรเจ็ดสี , พันธุ์รัศมีเพชร เป็นต้น
ประโยชน์และสรรพคุณหมากผู้หมากเมีย
·         แก้ไข้
·         แก้ตัวร้อน
·         ช่วยขับพิษไข้หัว
·         แก้หวัด
·         แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
·         แก้อาการคันตามผิวหนัง
·         แก้ไข้ออกผื่น
·         แก้หัด
·         แก้ตาแดง
·         ช่วยรักษาอีสุกอีใส
·         แก้เม็ดผดผื่นคันตามผิวหนัง
·         ใช้เป็นยาฟอกเลือด
·         แก้ไอ
·         แก้ไอเป็นเลือด
·         แก้บิด
·         แก้ท้องเสีย
·         แก้ลำไส้อักเสบ
·         แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
·         แก้ริดสีดวงทวาร
·         แก้วัณโรค
·         แก้ประจำเดือนมามากเกินปกติ

            มีการนำหมากผู้หมากเมียมาใช้ประโยชน์ต่างๆมากมายหลายด้าน เช่น ในภาคเหนือมีการนำช่อดอกอ่อนของหมากผู้หมากเมียมาประกอบอาหารต่างๆ หรือนำมาลวกจิ้มน้ำพริก ส่วนใบและดอกใช้นำมาปักแจกันบูชาพระนอกจากนี้ยังมีการปลูกเพื่อประดับบ้านเรือน หรือสวนหย่อมตามสถานที่สำคัญต่างๆ เพราะมีดอกและใบหลากสีสวยงามตามสายพันธุ์ต่างๆ

ลักษณะทั่วไปหมากผู้หมากเมีย 
หมากผู้หมากเมียจัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นเป็นลำต้นเดี่ยว หรือ อาจแตกกอในบางสายพันธุ์ลำต้นมีลักษณะตรงและอาจมีการแตกกิ่ง สูงประมาณ 1-3 เมตร ตามลำต้นมีรอยการติดใบรอบๆลำต้น ใบออกเป็นใบเดี่ยวออกเวียนสลับรอบลำต้น เป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลม ก้านใบยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ส่วนใบกว้าง 10-20 เซนติเมตร  ยาว 25-50 เซนติเมตร (ตามสายพันธุ์) ใบมีสีต่างๆแตกต่างกันตามสายพันธุ์ ดอกเป็นแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ ช่อดอกยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร ช่อแขนงยาว 5-10 เซนติเมตร มีดอกย่อยติดช่อดอกจำนวนมาก ดอกมีสีเหลือง แดง ม่วง (ตามสายพันธุ์) ผลเป็นรูปทรงกลมแห่งสีแดง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร เปลือกหนา เมล็ดหนาเมล็ดมีสีดำใน 1 ผลมีหลายเมล็ด

การขยายพันธุ์หมากผู้หมากเมีย
หมากผู้หมากเมียสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การปักชำ ,การแยกเหง้า , การตอน และการเพาะเมล็ด แต่วิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันคือ การปักชำเพราะเป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็ว และได้ผลสูง โดยมีวิธีการง่ายๆ คือ ตัดส่วนของลำต้นหรือกิ่งแก่จากต้นที่มีเหง้ามากแล้วนำมาปักลงในแปลงหรือบริเวณที่ต้องการ หรืออาจนำไปเพาะไว้ในถุงเพาะชำรอให้รากออกก่อนปลูกในหลุมก็ได้ จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม ทั้งนี้หมากผู้หมากเมียเป็นพืชที่ปลูกง่ายเจริญเติบโตได้ทุกสภาพดิน