Main Menu
BANGKOK PORTAL

  • ไทย
  • Eng

บทความน่ารู้

Black Chin Tilapia จาก "กานา" มา "ไทย"
#สาระน่ารู้
#ปลาหมอคางดํา หรือ #ปลาหมอสีคางดํา #Sarotherodonmelanotheron
.
ปลาหมอคางดำ (Black Chin Tilapia)หรือมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า *Sarotherodon melanotheron*
เป็นปลาน้ำจืดที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาตะวันตก โดยเฉพาะในประเทศกานา
ปลาชนิดนี้ได้เข้ามาในประเทศไทยและกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
(Alien Species หรือ Invasive Species)สร้างปัญหาให้กับระบบนิเวศและเกษตรกรไทย
.
การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากความสามารถในการปรับตัวและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
เช่น ทนต่อความเค็มได้สูง ปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดี
โดยสามารถแพร่กระจายในแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อยได้อย่างกว้างขวาง
.
ลักษณะทางกายภาพ ปลาหมอคางดำมีลักษณะที่สังเกตได้ชัดเจน ได้แก่
- มีสีลำตัวเทาอมฟ้าหรือเทาเงิน
- บริเวณคางมีสีดำเด่นชัด เป็นที่มาของชื่อ "คางดำ"
- ลำตัวค่อนข้างกลมแบน- มีครีบหลังและครีบก้นที่ยาว
- ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 25-30 เซนติเมตร
- มีความคล้ายคลึงกับปลาหมอเทศ แต่มีลักษณะคางดำที่แตกต่างกัน
.
ผลกระทบต่อระบบนิเวศและการประมง หลายด้าน ดังนี้
1. ผลกระทบต่อสัตว์น้ำพื้นถิ่น
- ปลาหมอคางดำมีพฤติกรรมการกินกุ้งน้ำจืดพื้นถิ่นส่งผลให้ประชากรกุ้งในแหล่งน้ำธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว
- แย่งพื้นที่อาศัย และวางไข่กับสัตว์น้ำพื้นถิ่น
- ปลาหมอคางดำแย่งอาหากับปลาพื้นถิ่นในการหาอาหารทำให้ปลาพื้นถิ่นได้รับผลกระทบ
2. ผลกระทบต่อเกษตรกร
- เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งน้ำจืดได้รับความเสียหายเนื่องจากปลาหมอคางดำกินลูกกุ้งและกุ้งขนาดเล็ก
- เมื่อปลาหมอคางดำเข้าสู่บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจะแย่งอาหารจากสัตว์น้ำ สัตว์เศรษฐกิจ
- ปลาหมอคางดำขยายพันธุ์เร็วและปรับตัวได้ดีทำให้ยากต่อการควบคุม
.
ปลาหมอคางดำจากประเทศกานาเป็นตัวอย่างของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามาสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศ
และการประมงของไทยโดยเฉพาะการคุกคามประชากร กุ้งน้ำจืด ปลาในท้องถิ่น และสัตว์ประจำถิ่นอื่นๆ
ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรและประชาชนทั่วไป
การแก้ไขปัญหาต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคโดยเฉพาะทางภาครัฐ
เกษตรกร และประชาชนเพื่อควบคุมและลดผลกระทบจากปลาหมอคางดำให้ได้มากที่สุด
.