Main Menu
BANGKOK PORTAL

  • ไทย
  • Eng

บทความน่ารู้

1 พฤษภา "วันแรงงานแห่งชาติ"
#สาระน่ารู้ #1พฤษภาคม #วันแรงงานแห่งชาติ 
.
* กำเนิดวันแรงงาน
* สู่วันแรงงานในประเทศไทย
* สถิติที่น่าสนใจ
.
กำเนิด "วันแรงงาน"
วันแรงงานสากล (International Workers' Day) ตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี 
มีต้นกำเนิดจากการเคลื่อนไหวของแรงงาน ในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 19 
โดยเฉพาะเหตุการณ์สำคัญที่เมืองชิคาโก ในปี พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886)

แรงงานในยุคนั้นต้องทำงานวันละ 10–16 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด และสวัสดิการขั้นต่ำ 
จึงได้รวมตัวกันเรียกร้อง "การทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน" 
(8 ชั่วโมงทำงาน, 8 ชั่วโมงพักผ่อน, 8 ชั่วโมงพักผ่อนส่วนตัว)

การชุมนุมครั้งนั้นนำไปสู่เหตุการณ์ที่รู้จักกัน ในชื่อ "เหตุการณ์จลาจลเฮย์มาร์เก็ต" (Haymarket Riot) 
ซึ่งมีการปะทะกันระหว่างแรงงานกับตำรวจ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายคน
หลังจากนั้น ขบวนการแรงงานทั่วโลกจึงยึดวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันแห่งการรำลึกถึง
การต่อสู้ของแรงงาน และเรียกร้องสิทธิที่เป็นธรรม
.
สู่วันแรงงานในประเทศไทย
ในประเทศไทย เริ่มจัดกิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2499
และต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ในที่สุดรัฐบาลประกาศให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันหยุดราชการประจำปี 
เพื่อให้แรงงานได้เฉลิมฉลองและมีเวทีแสดงพลังในการเสนอข้อเรียกร้องในด้านสิทธิแรงงาน
.
สถิติที่น่าสนใจ
รู้หรือไม่
จำนวนแรงงานไทยทั้งหมด ณ ปี 2567 ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 68 ล้านคน
จากจำนวนนั้น มีผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน (อายุ 15 ปีขึ้นไป) และมีงานทำหรือพร้อมทำงาน อยู่ที่ประมาณ 39.5 ล้านคน 
หรือคิดเป็น ประมาณ 58% ของประชากรทั้งประเทศ

แรงงานในไทยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ แบ่งเป็น
1. แรงงานในระบบ (ประมาณ 19.1 ล้านคน) คือ ผู้ที่ทำงานในบริษัท หน่วยงานรัฐ หรือองค์กรที่มีการจ่ายประกันสังคม 
สวัสดิการ ค่าจ้างตามระบบ และมีกฎหมายคุ้มครอง

2. แรงงานนอกระบบ (ประมาณ 20.4 ล้านคน)ได้แก่ แรงงานรับจ้างทั่วไป แม่ค้า ชาวนา คนทำงานอิสระ
ที่มักไม่มีประกันสังคมหรือสวัสดิการที่ชัดเจน คนในกลุ่มนี้มีความเปราะบางสูง
ทั้งในด้านความมั่นคงของรายได้และสุขภาพ
---
ข้อมูลเพิ่มเติม
อัตราการมีงานทำของประชากรในวัยแรงงานอยู่ที่ประมาณ 95.5%
มีสัดส่วนของแรงงานชายและหญิงใกล้เคียงกัน โดยเป็นชายประมาณ 52% และหญิงประมาณ 48%
(ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กระทรวงแรงงาน ปี 2567)