Main Menu
BANGKOK PORTAL

  • ไทย
  • Eng

บทความน่ารู้

โรคครูป (Croup)
#สาระน่ารู้ #โรคครูป (Croup)
---
เสียงไอแปลกๆตอนดึก อาจไม่ใช่แค่หวัดธรรมดา หลายครั้งที่พ่อแม่ตื่นตกใจกลางดึก
เมื่อได้ยินเสียงไอของลูกที่ฟังดูแปลก ๆ คล้ายเสียงสุนัขเห่าร่วมกับการหายใจที่มีเสียงหวีด
อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของ "โรคครูป" ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
---
โรคครูปคืออะไร?
โรคครูป (Croup) คือ การติดเชื้อไวรัสที่ส่งผลต่อหลอดลมส่วนบน โดยเฉพาะบริเวณกล่องเสียง
และหลอดลมใต้กล่องเสียง
เมื่อเกิดการอักเสบ บริเวณนี้จะบวมแคบลง
ทำให้เด็กมีอาการหายใจลำบากและเสียงไอที่แหบและก้อง
โรคนี้พบบ่อยที่สุดในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 6 ปี โดยมักจะเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว
และสามารถระบาดในระดับกลุ่มหรือชุมชนได้
.
โรคครูประบาดในไทยเมื่อไร?
ในประเทศไทย โรคครูปมักพบผู้ป่วยมากขึ้นในช่วง ฤดูฝนต่อเนื่องฤดูหนาว โดยเฉพาะระหว่าง
เดือน
กันยายนถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า
ในบางปีที่มีการระบาดของไวรัส Parainfluenza หรือ RSV อาจพบผู้ป่วยเด็กเข้ารับการรักษาจำนวนมาก
โดยเฉพาะใน โรงพยาบาลเด็กและศูนย์กุมารเวชในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา

ในช่วงหลังโควิด-19 (ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา) พบว่าอัตราการพบผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจในเด็ก
รวมถึงครูป กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง เพราะเด็กกลับเข้าสู่โรงเรียนและมีการสัมผัสใกล้ชิดมากขึ้น
---
ปัจจัยเสี่ยง คือ บุคคลที่อายุระหว่าง 6 เดือน - 6 ปี โดยเพศชายมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิง
เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่แข็งแรงการได้รับควันบุหรี่มือสอง การอยู่ในที่แออัดล้วนแต่ส่งผลทั้งสิ้น
---
อาการของโรคครูปที่เด่นที่สุด ได้เเก่
1.เสียงไอแห้ง คล้ายเสียงสุนัขเห่า (Barking cough) เป็นอาการที่ผู้ปกครองสังเกตได้ง่ายที่สุด
และเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญ

2.เสียงหายแหบ หรือพูดไม่ออกเสียง เนื่องจากกล่องเสียงอักเสบและบวม
3. หายใจลำบาก มีเสียงหวีด (Stridor) เมื่อหายใจเข้า โดยเฉพาะเวลานอน
4. มีไข้ มักไม่สูงมาก อยู่ระหว่าง 38-39°C
5. มีอาการหวัดธรรมดา เช่น น้ำมูกไหล จาม เจ็บคอ
6. อาการแย่ลงตอนกลางคืน เด็กมักตื่นจากการไอและหายใจลำบาก
.
อาการที่ต้องเฝ้าระวัง ควรรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
1. หายใจเร็วและลำบากมาก
2. ริมฝีปากหรือเล็บมือเขียว
3. ผิวหนังซีดหรือเขียว
4. ไม่สามารถกลืนน้ำลาย
5. มีเสียงหวีดแม้เวลาหายใจปกติ
6. ดูอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
.
การดูแลรักษาเบื้องต้นที่บ้าน
1. การทำให้อากาศชื้น โดยเปิดน้ำร้อนในห้องน้ำ พาเด็กนั่งในห้องน้ำที่มีไอน้ำ โดยอาจใช้ใช้เครื่องพ่นไอน้ำ (Humidifier)
2. พาเด็กออกไปสูดอากาศเย็นข้างนอก (ในกรณีฉุกเฉิน)
3. การจัดท่านอน ยกหัวเตียงให้สูงขึ้น อุ้มเด็กให้นั่งตัวตรง หลีกเลี่ยงการนอนราบ
4. ให้ดื่มน้ำอุ่น ๆ บ่อย ๆ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเย็นจัด
***สามารถให้นมแม่หรือนมผงตามปกติ
.
การรักษาทางการแพทย์ ยาที่อาจใช้ ได้เเก่
- Corticosteroids (เช่น Dexamethasone) เพื่อลดการอักเสบ
- Nebulized epinephrine ในกรณีอาการรุนแรง
- ยาลดไข้ เช่น Paracetamol หรือ Ibuprofen
.
การป้องกันโรคครูป มีหลักการแแบบการป้องโรคกันทั่วไป โดยเน้นไปที่ การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล
เช่น
- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย
- ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน
- หลีกเลี่ยงควันบุหรี่
- รักษาความชื้นในบ้านให้เหมาะสม
- ทำความสะอาดของเล่นและพื้นผิวต่าง ๆ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ
-
ออกกำลังกายให้เหมาะสมตามช่วงวัย
.
สิ่งที่ไม่ควรทำ
- รับประทานยาแก้ไอ โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
- รับประทานอาหารที่รสจัด กลืนยาก
- ปล่อยให้เด็กร้องไห้ ส่งผลให้หายใจลำบากมากขึ้น
- สูบบุหรี่ใกล้เด็ก
---
โรคครูปเป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก แม้จะดูน่ากลัว แต่ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยการดูแลที่เหมาะสม
สิ่งสำคัญ คือ การรู้จักสังเกตอาการ
เข้าใจวิธีการดูแลเบื้องต้น และรู้ว่าเมื่อไหร่ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์
การเตรียมความพร้อมและความรู้ที่ถูกต้องจะช่วยให้ผู้ปกครองจัดการกับสถานการณ์ได้อย่างมั่นใจ
และช่วยให้เด็กหายป่วยได้เร็วขึ้น หากมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์เสมอ
เพราะสุขภาพของลูกน้อยเป็นสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดจริงมั้ยคะ?

#โรคในเด็กเล็ก #ความรู้ใหม่ใกล้ฉัน
#สาระน่ารู้กับห้องสมุดฯวัดรัชฎาธิษฐานฯ