Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
Youtube
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
ประวัติห้องสมุด
วิสัยทัศน์ พันธกิจ
การสมัครสมาชิกห้องสมุด
ระเบียบการใช้ห้องสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
หนังสือและสิ่งพิมพ์
นิตยสาร วารสารใหม่
หนังสือแนะนำสำหรับเด็กและเยาวชน
หนังสือ 1เขต 1 วรรณกรรม
บทความ
บทความน่ารู้
ไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
ร่วมตอบแบบสอบถาม
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
E-Books
หน้าแรก
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
๒๖มิถุนายน วันสุนทรภู่
#สาระน่ารู้
#๒๖มิถุนายน
#วันสุนทรภู่
---
*กำเนิดสุนทรภู่
*สู่ชีวิตในรั้ววัง
*หันเข้าบวรพระศาสนา
*ตำนานกาพย์ กลอน สุภาษิต
*กลับคืนถิ่นสุขาวดี
*กวีเอกยูเนสโก
---
กำเนิดสุนทรภู่
บันทึกส่วนใหญ่มักระบุถึงต้นตระกูลของสุนทรภู่เพียงว่า
บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
ตระกูลฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชรบุรี
สุนทรภู่ มีชื่อเดิมว่า ภู่
เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๙
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง
ซึ่งเป็นบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบันนี้
.
สู่ชีวิตในวัง
เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน
บิดามารดาก็หย่าร้างกัน
บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ
อันเป็นภูมิลำเนาเดิม
ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง
ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล
พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์
ดังนั้น สุนทรภู่ จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา
และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง
เมื่อเติบโตขึ้น ก็ได้เริ่มทำหน้าที่เป็น "กวี" ในราชสำนัก
โดยเฉพาะใน รัชกาลที่ ๒ ซึ่งทรงโปรดวรรณศิลป์
และทรงส่งเสริมกวีเป็นอย่างมาก และ
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร"
กลายเป็นกวีเอกที่ทุกคนให้การยอมรับ
.
หันเข้าบวรพระศาสนา
สุนทรภู่รับราชการอยู่เพียง ๘ ปี
เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๓๖๗
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต
สุนทรภู่ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
และได้เดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ รวมถึงแต่ง "นิราศ"
ซึ่งเล่าการเดินทางและความรู้สึกไว้
นิราศของสุนทรภู่จึงมีทั้งแง่คิด ศิลปะ
และภาพชีวิตไทยในอดีตอย่างลึกซึ้ง
งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท
คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษา
อยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. ๒๓๘๕
.
ตำนานกาพย์ กลอน สุภาษิต
สุนทรภู่มีผลงานหลากหลาย เช่น
พระอภัยมณี (วรรณคดีเรื่องยาว)
นิราศเมืองแกลง, นิราศภูเขาทอง (นิราศเดินทาง)
สุภาษิตสอนหญิง (กลอนสอนใจ)
รำพันพิลาป (กลอนแสดงความทุกข์ในชีวิต)
นิราศพระประธม, นิราศเมืองเพชร
กลอนของท่านโดดเด่นด้วยความไพเราะ
ใช้ภาษาเรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง มีความคิดคติสอนใจ
จึงถูกนำมาใช้เป็นแบบเรียนไทยมาอย่างยาวนาน
.
กลับคืนถิ่นสุขาวดี
สุนทรภู่พำนักอยู่ในเขตพระราชวังเดิม
ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว)
ถึงแก่อนิจกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๔
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘ รวมอายุได้ ๖๙ ปี
ท่านจากไปพร้อมชื่อเสียงอันยิ่งใหญ่
และกลายเป็นตำนานของกวีไทยตลอดกาล
.
กวีเอกยูเนสโก
ปี พ.ศ. ๒๕๒๙
ในโอกาสครบรอบวันเกิด ๒๐๐ ปีของสุนทรภู่
องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้สุนทรภู่
เป็นบุคคลสำคัญ
ของโลกทางด้านวรรณกรรม
นับเป็นชาวไทยคนที่ ๕ และเป็นสามัญชนชาวไทยคนแรก
ที่ได้รับเกียรตินี้
ในปีนั้น สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์จึงได้จัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ
"อนุสรณ์สุนทรภู่ ๒๐๐ ปี" และมีการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น
เพื่อส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ชีวิต
และผลงาน
ของสุนทรภู่ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
สุนทรภู่ได้กลายเป็นแบบอย่างของกวีไทย
ที่รักภาษาไทย
อย่างแท้จริง
ท่านได้สร้างสรรค์วรรณกรรมที่เป็นทั้ง
ความบันเทิง ความรู้ และบทเรียนชีวิต
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๐
นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
ได้จัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น
และกำหนดให้วันที่ ๒๖ มิถุนายนของทุกปี
เป็นวันสุนทรภู่
นับแต่นั้นทุก ๆ ปีเมื่อถึงวันสุนทรภู่
จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่าง ๆ
เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ วัดเทพธิดาราม
และที่จังหวัดระยอง รวมถึงการประกวดแต่งกลอน
ประกวดคำขวัญ และการจัดนิทรรศการ
เกี่ยวกับสุนทรภู่ในโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ
.
ในปัจจุบัน หลายคำกล่าวของท่านกลายเป็น "สุภาษิตไทย"
ที่คนรุ่นหลังยังใช้จนถึงปัจจุบัน เช่น
"รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี"
"อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย"
#สุนทรภู่
#ความรู้ใหม่ใกล้ฉัน
#ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้วัดรัชฎาธิษฐานฯ
แชร์