Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
Youtube
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
ประวัติห้องสมุด
วิสัยทัศน์ พันธกิจ
การสมัครสมาชิกห้องสมุด
ระเบียบการใช้ห้องสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
หนังสือและสิ่งพิมพ์
นิตยสาร วารสารใหม่
หนังสือแนะนำสำหรับเด็กและเยาวชน
หนังสือ 1เขต 1 วรรณกรรม
บทความ
บทความน่ารู้
ไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
ร่วมตอบแบบสอบถาม
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
E-Books
หน้าแรก
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
วันหยุดการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์
#สาระน่ารู้
#20มิถุนายน #วันหยุดการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์
---
"คำพูดฆ่าคนได้"
ประโยคนี้พูดแล้วอาจฟังดูแรงแต่ในยุคดิจิทัลที่ใครก็สามารถพิมพ์ข้อความออกไปได้อย่างง่ายดายโดยไม่มีการไต่ตรองเสียก่อน
บ่อยครั้ง เราจะได้เห็นว่า ความรุนแรงทางวาจาในโลกออนไลน์หรือที่เรียกว่าCyberbullying (ไซเบอร์บูลลี่)
ส่งผลกระทบกับผู้คนไว้มากมายและได้สร้างบาดแผลที่ไม่มีวันหายจนถึงขั้นพรากชีวิตคนๆ หนึ่งไป
อย่างไม่มีวันหวนกลับ
.
กรณีศึกษาของซอลลี่กับบาดแผลบนโลกออนไลน์จากคำพูดของใครสักคนหนึ่ง
ในปี 2019
วงการ K-POP ต้องพบกับความสูญเสียครั้งใหญ่ เมื่อ "ซอลลี่" (Sulli) อดีตสมาชิกวง f(x) เสียชีวิตอย่างกะทันหัน
ซึ่งถูกเชื่อมโยงกับการถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์เป็นเวลาหลายปีจากการแสดงความคิดเห็นของเธออย่างเปิดเผย
เกี่ยวกับสิทธิสตรีการแต่งตัว และชีวิตส่วนตัวแม้เธอจะไม่เคยทำผิดกฎหมายเลย
แต่กลับถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากชาวเน็ตและสื่อบางราย
.
หลังจากเหตุการณ์นี้
เกาหลีใต้ได้เริ่มมีการผลักดัน กฎหมาย"Sulli Act" (กฎหมายซอลลี่) ที่เสนอให้มีการควบคุมคอมเมนต์ในเว็บไซต์ข่าว
และลงโทษผู้ที่กระทำการล่วงละเมิดทางวาจาบนโลกออนไลน์อย่างจริงจัง
กฎหมายเกาหลีที่เกี่ยวข้องในกรณีนี้ เช่น
*กฎหมายว่าด้วยการห้ามหมิ่นประมาท (Criminal Act, Article 307–309)
>การใส่ร้ายผู้อื่นแม้จะเป็นความจริงก็ยังมีโทษ
*กฎหมายว่าด้วยการใช้อินเทอร์เน็ตและ ICT
> ควบคุมการเผยแพร่ข้อความที่ละเมิดศักดิ์ศรีหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล
.
ความตายของซอลลี่และคนดังอีกหลายคนได้กลายเป็นเครื่องสังเวยชีวิตที่ส่งผลต่อสังคมเป็นวงกว้าง
โดยเฉพาะสังคมปิตาธิปไตยอย่างประเทศเกาหลีใต้ได้ตื่นตัวและให้ความสำคัญกับความรุนแรงบนออนไลน์มากยิ่งขึ้น
---
แล้วประเทศไทยล่ะ?
สำหรับประเทศไทย แม้จะยังไม่มี "กฎหมายไซเบอร์บูลลี่" ที่ชัดเจนแบบเฉพาะเจาะจง
แต่ก็มีหลายกฎหมายที่สามารถเอาผิดผู้กระทำผิดบนโลกออนไลน์ได้ทั้งทางแพ่งและอาญา เช่น
.
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มาตรา 14 (1) ห้ามนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลเท็จที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
.
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326-328 ว่าด้วยการหมิ่นประมาทและใส่ร้ายผู้อื่น
โทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
.
แต่ปัญหา คือ การบังคับใช้กฎหมายยังไม่ทั่วถึงและผู้เสียหายจำนวนมากเลือกที่จะเงียบเเทน
เพราะความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ รวมทั้งเป็นกังวลต่อภาพลักษณ์ในสังคม
---
ถึงเวลา "หยุด" การกลั่นแกล้งออนไลน์
การรณรงค์ "วันหยุดการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์"
ควรเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงและผลักดันในสังคมไทยอย่างจริงจัง
เพื่อให้เราทุกคนตระหนักว่า "การกดคีย์บอร์ดโดยไม่คิด คือ การลงมือทำร้ายชีวิตคนหนึ่งโดยไม่รู้ตัว"
.
เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าอีกฝั่งของหน้าจอคนนั้นกำลังเผชิญอะไรอยู่และคำพูดของเรา
อาจจะกลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายสำหรับเขาก็ได้
.
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ปลอดภัยคิดก่อนพิมพ์ อย่าแชร์โดยไม่ตรวจสอบ ร่วมรายงานพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
หยุดโทษเหยื่อ และไม่ส่งต่อความเกลียดชัง
"ไม่ใช่แค่กฎหมายที่ต้องเปลี่ยนแต่หัวใจของความเกลียดชังต่างหากที่ควรถูกเปลี่ยนเสียก่อนใคร"
เพราะเราทุกคนล้วนมีบทบาทในการหยุดยั้งการกลั่นแกล้งออนไลน์ได้
ตั้งแต่วันนี้เลย!
.
#ความรู้ใหม่ใกล้ฉัน
#ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้วัดรัชฎาธิษฐานฯ
แชร์