Main Menu
BANGKOK PORTAL

  • ไทย
  • Eng

บทความน่ารู้

ChildGrooming คืออะไร
#สาระน่ารู้ #ChildGrooming #การล่อลวงเด็ก#คิมแซรน
.
ความรักระหว่าง  อายุ 15 ปี กับอายุ 30 ปี
ความรักระหว่าง  อายุ 25 ปี กับอายุ 40 ปี

อายุต่าง 15 ปีเท่ากัน
อายุที่ห่างกันไม่ใช่ปัญหาหลัก แต่วุฒิภาวะและอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันต่างหาก
ที่ทำให้ความสัมพันธ์บางอย่างเป็นอันตราย
.
ความรักระหว่าง 25 กับ 40 เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่
มักไม่เป็นปัญหา เพราะทั้งคู่มีวุฒิภาวะพอที่จะตัดสินใจเอง
.
ความรักระหว่าง 15 กับ 30 แม้อายุห่างเท่ากัน แต่ด้วยวัย 15 ปี
ยังอยู่ในช่วงพัฒนา ทั้งทางอารมณ์ จิตใจ และสังคม
ทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูกชักจูงหรือควบคุมได้ง่ายผู้ใหญ่มีประสบการณ์มากกว่า
อาจใช้คำพูดโน้มน้าวหรือหลอกล่อให้เด็กเชื่อใจ
เด็กอาจยังไม่เข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ที่สมดุล
และอาจไม่สามารถปฏิเสธหรือรับมือกับการกดดันจากผู้ใหญ่ได้
.
การล่อลวงเด็ก (Child Grooming)
เป็นพฤติกรรมที่ผู้กระทำผิดใช้เพื่อเข้าถึงและล่วงละเมิดเด็ก
โดยมีลักษณะสำคัญคือการวางแผนอย่างเป็นระบบและใช้เวลา
ผู้กระทำมักเริ่มจากการสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจกับเด็ก
และบางครั้งรวมถึงครอบครัวของเด็ก โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือ "การล่วงละเมิดเด็ก"
.
รูปแบบของการล่อลวงเด็ก
1. การสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจผู้กระทำผิดจะพยายามสร้างความสัมพันธ์
ที่ดูเหมือนปกติและน่าไว้วางใจกับเด็ก อาจรวมถึงการให้ความสนใจพิเศษให้ของขวัญ
หรือแสดงความเข้าใจต่อปัญหาของเด็ก
2. การแยกเด็กออกจากสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ผู้กระทำผิดจะพยายามแยกเด็ก
จากครอบครัวหรือเพื่อนเพื่อลดโอกาสที่เด็กจะขอความช่วยเหลือ
3. การปรับเปลี่ยนความคิดของเด็กผู้กระทำจะค่อยๆ ปรับเปลี่ยนความคิดของเด็ก
ให้ยอมรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การแสดงสื่อลามกอนาจารหรือการพูดคุยเรื่องเพศ
4. การรักษาความลับผู้กระทำผิดจะสร้างเงื่อนไขให้เด็กรักษาความลับ
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพวกเขา อาจใช้การข่มขู่การให้รางวัล หรือทำให้เด็กรู้สึกผิด
.
ผลกระทบต่อเด็ก
เด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการล่อลวงมักได้รับผลกระทบระยะยาว ได้แก่
- ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (PTSD)
- ความรู้สึกอับอาย ผิด และความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
- ปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในอนาคต
- พฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตนเอง เช่น การใช้สารเสพติดหรือการทำร้ายตัวเอง
.
การป้องกันที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วย
- การให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับขอบเขตความสัมพันธ์ที่เหมาะสม
- การเปิดช่องทางการสื่อสารระหว่างเด็กและผู้ปกครอง
- การสอนทักษะความปลอดภัยทางออนไลน์
- การสร้างความตระหนักในสังคมเกี่ยวกับสัญญาณเตือนของการล่อลวงเด็ก
- การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดต่อผู้กระทำผิด
.
ในประเทศไทย
ขณะนี้ยัง "ไม่มีกฎหมายเฉพาะ" ที่กำหนดบทลงโทษ
สำหรับพฤติกรรมการล่อลวงเด็กหรือ "grooming" โดยตรง
อย่างไรก็ตาม การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก
สามารถถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น

การกระทำอนาจารต่อเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
มีโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

การพรากผู้เยาว์ ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ไปจนถึง 20 ปี
และปรับตั้งแต่ 100,000 - 400,000 บาท
.
นอกจากนี้มีความพยายามในการผลักดันกฎหมายใหม่ เพื่อคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์รูปแบบใหม่
เช่น การส่งข้อความในเชิงชู้สาว (sexting)และการล่อลวงเด็กเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ (grooming)
โดยมีการจัดทำรายงานการพิจารณาศึกษาและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อผลักดันกฎหมาย
ว่าด้วยการกระทำความผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์ซึ่งได้รับมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565
.
การรับรู้และเข้าใจกระบวนการล่อลวงเด็กเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการปกป้องเด็กจากการถูกล่วงละเมิด
การให้ความรู้แก่เด็ก ผู้ปกครอง ครู และชุมชนเกี่ยวกับสัญญาณเตือนและวิธีการป้องกันที่เท่าทัน
เหมาะสมจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมและความรักปลอดภัยสำหรับเด็กทุกคนค่ะ
.