Main Menu
BANGKOK PORTAL

  • ไทย
  • Eng

บทความน่ารู้

วันสิทธิผู้บริโภคสากลกับสิทธิของผู้บริโภคในประเทศไทย
#สาระน่ารู้  #15มีนาคม #วันสิทธิผู้บริโภคสากล 
.
ที่มา
วันสิทธิผู้บริโภคสากลเริ่มขึ้นเมื่อ 15 มีนาคม 2505 หลังจากประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ แห่งสหรัฐอเมริกา 
ประกาศ "สิทธิผู้บริโภค" ต่อรัฐสภา องค์กรสหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International) 
จึงกำหนดให้วันนี้เป็นวันสิทธิผู้บริโภคสากล
.
ความสำคัญ
- เป็นวันรณรงค์ให้ทั่วโลกตระหนักถึงสิทธิผู้บริโภคขั้นพื้นฐาน
- ส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้บริโภคเพื่อปกป้องสิทธิของตน
- ผลักดันให้รัฐบาลทั่วโลกออกกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย 
.
สิทธิผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 
โดยล่าสุดมีการปรับปรุงและเพิ่มเติมสิทธิต่างๆ ดังนี้
.
1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารและคำพรรณนาที่ถูกต้อง
- ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสินค้าและบริการสิทธินี้คุ้มครองให้ผู้บริโภค
ได้รับข้อมูลที่เป็นความจริงครบถ้วน และเพียงพอต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ
ตัวอย่าง เช่น
ผู้ผลิตอาหารต้องแสดงฉลากที่ระบุส่วนประกอบ วันผลิต วันหมดอายุ และข้อมูลโภชนาการอย่างครบถ้วน

2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการ 
- ปราศจากการบังคับหรือชักจูงโดยไม่เป็นธรรมผู้บริโภคมีสิทธิตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ
โดยปราศจากการบังคับหรือชักจูงโดยไม่เป็นธรรม
ตัวอย่าง เช่น
ธนาคารไม่สามารถบังคับให้ผู้กู้ต้องซื้อประกันชีวิตกับพันธมิตรของธนาคารเท่านั้นเพื่อเป็นเงื่อนไข
ในการอนุมัติสินเชื่อ

3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ 
- สินค้าต้องได้มาตรฐานและปลอดภัยผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรือทรัพย์สิน
ตัวอย่าง เช่น
เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยจากสำนักงานมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา 
- ไม่ถูกเอาเปรียบในการทำสัญญาซื้อขายหรือบริการผู้บริโภคมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม
ในการทำสัญญา โดยไม่ถูกเอาเปรียบด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
ตัวอย่าง เช่น
สัญญาบัตรเครดิตต้องไม่มีข้อความระบุว่าธนาคารสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
หรือค่าธรรมเนียมได้โดยไม่ต้องแจ้งลูกค้าล่วงหน้า

5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย 
- ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหายเมื่อถูกละเมิดสิทธิ
โดยหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่าง เช่น
ผู้โดยสารที่สายการบินยกเลิกเที่ยวบินมีสิทธิได้รับการชดเชยค่าโดยสาร
และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการยกเลิกนั้น
.
การคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัล (ล่าสุด)
พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)
- คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคในการทำธุรกรรมออนไลน์ พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 
- คุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกหลอกลวงทางออนไลน์
- ผู้ขายต้องเปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจน และผู้บริโภคมีสิทธิยกเลิกการซื้อภายใน 7 วัน
.
ช่องทางร้องเรียนล่าสุด
1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)  - สายด่วน 1166
2. ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ - www.ocpb.go.th
3. แอปพลิเคชัน OCPB Connect  - ร้องเรียนผ่านมือถือ
4. ศูนย์ดำรงธรรม  - สายด่วน 1567
5. กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) 
- สายด่วน 1135
.
การตระหนักรู้ มีความรู้ ความเข้าใจในสิทธิของตนเองของผุู้บริโภค
โดยเฉพาะในด้านการซื้อขายออนไลน์และการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล 
ก็ย่อมส่งผลให้ได้รับความเป็นธรรมและปลอดภัยมากขึ้นค่ะ
.