Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
Youtube
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
ประวัติห้องสมุด
วิสัยทัศน์ พันธกิจ
การสมัครสมาชิกห้องสมุด
ระเบียบการใช้ห้องสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
หนังสือและสิ่งพิมพ์
นิตยสาร วารสารใหม่
หนังสือแนะนำสำหรับเด็กและเยาวชน
หนังสือ 1เขต 1 วรรณกรรม
บทความ
บทความน่ารู้
ไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
ร่วมตอบแบบสอบถาม
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
E-Books
หน้าแรก
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
ซาเเซง≠แฟนคลับ?
#สาระน่ารู้
#ซาเเซงเเฟน : เส้นบางๆระหว่างความรักและการล่วงละเมิด
ในยุคที่วัฒนธรรม K-Pop เฟื่องฟูคำว่า "ซาแซง" (Sasaeng)ได้กลายเป็นปรากฏการณ์สากล
ที่สร้างความกังวลให้กับวงการบันเทิงในบริบททั่วโลกคำนี้มีรากศัพท์มาจากภาษาเกาหลี
"사생" แปลว่า "ส่วนตัว" สะท้อนถึงพฤติกรรมของแฟนคลับที่ล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของศิลปินที่พวกเขาชื่นชอบ
.
แต่อะไร คือความแตกต่างระหว่างซาแซงและแฟนคลับ?
บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจถึงความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างสองกลุ่มนี้ค่ะ
.
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักที่มาของคำว่า"ซาแซง'
"ซาแซง' เริ่มเป็นที่รู้จักในเกาหลีใต้ ช่วงทศวรรษที่ 1990 พร้อมกับการเติบโตของอุตสาหกรรมบันเทิง
เมื่อแฟนคลับบางกลุ่มแสดงพฤติกรรมสุดโต่งเช่น การแอบตามถ่ายภาพ การบุกรุกที่พัก
หรือแม้แต่การลักลอบติดตั้งกล้องแอบถ่าย
.
ส่วนในประเทศไทย
ปัญหานี้เริ่มปรากฏชัดขึ้นพร้อมกับการเติบโตของวงการ T-Pop และการแพร่หลายของโซเชียลมีเดีย
ทำให้การติดตามและล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของศิลปินทำได้ง่ายขึ้น
.
ความแตกต่างระหว่างซาแซงและแฟนคลับ
แฟนคลับที่ดีมักแสดงการสนับสนุนศิลปินผ่านช่องทางที่เหมาะสม
เช่น การซื้อผลงานการเข้าร่วมงานแฟนมีต และการให้กำลังใจผ่านช่องทางทางการ
ในขณะที่ซาแซงมักมีพฤติกรรมที่ล้ำเส้น เช่น การติดตามศิลปินถึงบ้าน
การขโมยข้อมูลส่วนตัวหรือการคุกคามทางออนไลน์
.
สถานการณ์ในปัจจุบันปัญหาซาแซงในไทยทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ศิลปินหลายคนต้องเผชิญกับการถูกคุกคาม
การแอบถ่ายและการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว บางกรณีรุนแรงถึงขั้นต้องแจ้งความดำเนินคดี
.
ในประเทศไทย การเป็นซาเเซงอาจถูกลงโทษทางกฎหมาย ดังนี้
***ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- มาตรา 420 หากการกระทำของซาแซงก่อให้เกิดความเสียหาย ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
- มาตรา 423 การทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย อาจเป็นเงิน หรือให้กระทำการใดๆ
หรือหยุดกระทำการใดๆ
***ตามประมวลกฎหมายอาญา
- มาตรา 326-328 การหมิ่นประมาท มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท
- มาตรา 362 การรบกวนความเป็นส่วนตัว มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท
-พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 การเผยแพร่ข้อมูลเท็จหรือข้อมูลส่วนตัว มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท
.
การแสดงความรักและชื่นชมต่อศิลปินควรอยู่บนพื้นฐานของความเคารพและให้เกียรติ
แฟนคลับควรตระหนักว่าศิลปินก็เป็นมนุษย์ที่ต้องการพื้นที่ส่วนตัว
การละเมิดความเป็นส่วนตัวไม่เพียงผิดกฎหมายแต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของศิลปินอย่างรุนแรง
.
หลายครั้งที่ซาแซงมักอ้างว่าพฤติกรรมของตนเกิดจาก "ความรักที่มากเกินไป"
แท้จริงเเล้วมันคือความหลงผิด เห็นแก่ตัว
ความรักที่แท้จริงนั้นต้องประกอบไปด้วยความเคารพและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ไม่ใช่การทำร้ายหรือสร้างความทุกข์ให้คนที่เราบอกว่ารัก
.
การเป็นแฟนคลับที่ดีควรแสดงความรักและการสนับสนุนในขอบเขตที่เหมาะสม
เพื่อให้ทั้งศิลปินและแฟนคลับสามารถมีความสัมพันธ์ที่ดีและยั่งยืนต่อกันได้
*************************************************************
แชร์