Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
Youtube
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
ประวัติห้องสมุด
วิสัยทัศน์ พันธกิจ
การสมัครสมาชิกห้องสมุด
ระเบียบการใช้ห้องสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
หนังสือและสิ่งพิมพ์
นิตยสาร วารสารใหม่
หนังสือแนะนำสำหรับเด็กและเยาวชน
หนังสือ 1เขต 1 วรรณกรรม
บทความ
บทความน่ารู้
ไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
ร่วมตอบแบบสอบถาม
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
E-Books
หน้าแรก
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
ขนมสี่ถ้วย
"ขนมสี่ถ้วย"
เป็นขนมโบราณที่มีไว้ในงานมงคลสมรส เพื่ออวยพรให้บ่าวสาวรักกันยืนยาว ในสมัยก่อนจะเป็นที่รู้กันว่า หากมีชาวบ้านพูดว่า “ไปกินสี่ถ้วย” ก็คือให้ทราบทั่วกันว่าจะไปงานแต่ง สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย หรือแผ่นดินพระร่วง เดิมก่อนที่จะมีการนับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีการแต่งงาน คือ การเลี้ยงผีบรรพบุรุษของ 2 ตระกูล ด้วยการเซ่นไหว้ 4 เตียบ เพื่อให้เป็นทองแผ่นเดียวกันโดยสมบูรณ์ เรียกประเพณีนี้ว่า “กินสี่ถ้วย” การกินสี่ถ้วยยังเป็นพิธีกรรมแต่งงานที่มีอยู่ในแผ่นดินพระร่วงอันเป็นการแสดงให้เห็นว่ามีการสืบทอดการกินสี่ถ้วยมาอย่างยาวนาน จนจวบกระทั่งในสมัยอยุธยา การกินขนมสี่ถ้วยก็ค่อยๆลดความเชื่อด้านประเพณีลงไป หากแต่ยังคงนิยมกินเพื่อความอร่อย โดยขนมสี่ถ้วยนั้นประกอบไปด้วย ขนมมงคล 4 อย่าง ได้แก่ ไข่กบ นกปล่อย บัวลอย หรือนางลอย อ้ายตื้อ
“ไข่กบ” คือ เม็ดแมงลัก สื่อถึงลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง
“นกปล่อย” คือ ลอดช่องแป้งผสมกับน้ำใบเตย ความรักราบรื่น ไร้อุปสรรค
“บัวลอย หรือนางลอย” คือ ข้าวตอก ความรักที่อยู่ในกรอบประเพณี เข้าตามตรอกออกตามประตู
“อ้ายตื้อ” คือ ข้าวเหนียวดำ แทนความรักที่หนักแน่นมั่นคง
ปิดท้ายด้วยการราด น้ำกะทิผสมน้ำตาลโตนด หรือน้ำตาลมะพร้าว ก็สื่อถึงความรักหวานชื่น
แชร์