Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
Youtube
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
ประวัติห้องสมุด
วิสัยทัศน์ พันธกิจ
การสมัครสมาชิกห้องสมุด
ระเบียบการใช้ห้องสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
หนังสือและสิ่งพิมพ์
นิตยสาร วารสารใหม่
หนังสือแนะนำสำหรับเด็กและเยาวชน
หนังสือ 1เขต 1 วรรณกรรม
บทความ
บทความน่ารู้
ไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
ร่วมตอบแบบสอบถาม
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
E-Books
หน้าแรก
บทความ
บทความน่ารู้
บทความน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
วันจักรี
วันจักรี
วันจักรี (ภาษาอังกฤษ Chakri Memorial Day) คือ วันเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และตั้งกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้วันที่ 6 เมษายนของทุกปี ถือเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรี จึงถูกเรียกว่า "วันจักรี" นั่นเอง และยังถือเป็นวันที่ระลึกถึงมหาจักรีบรมราชวงศ์อีกด้วย
ประวัติวันจักรี มีความเป็นมาอย่างไร?
หลังจากสิ้นสุดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) เสด็จขึ้นครองราชสมบัติและปราบดาภิเษกปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญหลายประการ ทั้งทรงตรากฎหมายตราสามดวงขึ้นเพื่อสำหรับใช้บริหารบ้านเมือง และทรงให้สร้างราชธานีใหม่ โดยย้ายเมืองหลวงจากฝั่งธนบุรีมายังฝั่งพระนคร ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา หรือที่เราเรียกว่า "กรุงเทพฯ" ในปัจจุบัน
ต่อมาใน พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ ให้มีการหล่อพระบรมรูปพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 1-4 แห่งราชวงศ์จักรี ประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 เพิ่มเติม และทรงประกาศตั้งพระราชพิธีถสายบังคมพระบรมรูป ทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชน จะเข้าถวายบังคมปีละ 1 ครั้ง เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงทำนุบำรุงประเทศเรื่อยมา รวมถึงโปรดเกล้าฯ ให้วันที่ 6 เมษายนของทุกปี เป็น "วันจักรี" และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
แชร์