Main Menu
BANGKOK PORTAL

  • ไทย
  • Eng

บทความน่ารู้

นํ้าตาลในเลือดสูง
#สาระน่ารู้ #นํ้าตาลในเลือดสูง
---
น้ำตาลในเลือดสูงเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
รู้ไหมคะว่าในประเทศไทย มีผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า 5 ล้านคนและแนวโน้มกำลังเพิ่มขึ้นทุกปี
จากรายงานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปกว่า 1 ใน 10 คน
มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์และในจำนวนนี้ หลายคนไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังเป็นเบาหวาน
หรืออยู่ในระยะเสี่ยง (pre-diabetes)
.
ปัจจัยหลักมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัไม่ว่าจะเป็นอาหารรสหวานจัด แป้งขัดขาวขนมของว่างแปรรูป
หรือแม้แต่ความเครียดพักผ่อนไม่เพียงพอ และการขาดการออกกำลังกาย
ทั้งหมดนี้ค่อย ๆ บั่นทอนสุขภาพของเราโดยไม่รู้ตัว
.
วันนี้เลยอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ “ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง” ให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้เฝ้าระวัง ปรับพฤติกรรม
และดูแลตัวเองหรือคนรอบข้างให้ห่างไกลจากโรคเบาหวานในระยะยาว
---
สาเหตุของน้ำตาลในเลือดสูงน้ำตาลในเลือดสูงเกิดจากร่างกายมีปัญหาในการใช้อินซูลินหรือมีการผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ
โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ได้แก่
- กรรมพันธุ์ มีคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน
- ภาวะอ้วน โดยเฉพาะรอบเอวมากกว่า 80 ซม. สำหรับผู้หญิง และ 90 ซม. สำหรับผู้ชาย
- การกินอาหารหวานจัด มันจัด เค็มจัด รวมถึงอาหารแปรรูปและของทอด
- ขาดการออกกำลังกาย นั่งทำงานนาน ไม่ขยับตัว
-ความเครียดเรื้อรังและการนอนหลับไม่เพียงพอ
---
อาการของน้ำตาลในเลือดสูงช่วงเริ่มต้นของน้ำตาลในเลือดสูงอาจไม่มีอาการชัดเจน แต่หากปล่อยไว้นานเกินไป
อาจพบอาการดังต่อไปนี้
- ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะกลางคืน
- กระหายน้ำมาก
- หิวบ่อย แต่น้ำหนักลด
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- ตาพร่ามัว มองไม่ชัด
- แผลหายช้า ติดเชื้อง่าย
- ชา หรือปวดแสบปวดร้อนตามมือ เท้า
หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทันที
---
ผลกระทบต่อสุขภาพ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังไม่เพียงแค่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานเท่านั้น
แต่ยังนำไปสู่โรคแทรกซ้อนร้ายแรงอื่น ๆ เช่น
- หลอดเลือดตีบและหัวใจวาย
- จอประสาทตาเสื่อมและตาบอด
- ไตวายเรื้อรัง ต้องฟอกไต
- ปลายประสาทเสื่อม ชาตามมือ–เท้า
- เท้าเป็นแผลเรื้อรัง ติดเชื้อง่าย อาจถึงขั้นต้องตัดเท้า
---
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ข่าวดีคือ เราสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยการดูแลตัวเองแบบง่าย ๆ
เริ่มได้ทันทีจากวันนี้เลย เช่น
- ปรับอาหาร หลีกเลี่ยงของหวาน ของทอด ขนมขบเคี้ยว และน้ำอัดลม เน้นผักสดผลไม้หวานน้อย ข้าวกล้อง และโปรตีนคุณภาพ
- ออกกำลังกาย อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน
- ควบคุมน้ำหนัก โดยเฉพาะรอบเอว
- พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 7–8 ชั่วโมง
- ลดความเครียด ด้วยการฝึกสมาธิ หรือทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย
- ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจจับความผิดปกติได้แต่เนิ่น ๆ
---
การรักษา หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานหรือมีน้ำตาลในเลือดสูงจนเสี่ยงต่อโรค ควรดูแลตนเองควบคู่กับการรักษาดังนี้
- รับประทานยาลดน้ำตาลในเลือดตามที่แพทย์สั่ง
- บางรายอาจต้องฉีดอินซูลินเป็นประจำ
- ตรวจระดับน้ำตาลที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ
- พบแพทย์เพื่อติดตามผล ตรวจสายตา ตรวจเท้า และการทำงานของไตเป็นระยะ
---
การป้องกันและควบคุมแม้ยังไม่เป็น แต่เราทุกคนสามารถ ป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ดังนี้
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างน้อยปีละครั้ง
- รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์
- เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดน้ำตาลและของมัน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- งดสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์
- พักผ่อนให้เพียงพอและดูแลสุขภาพจิต
---
แม้ “น้ำตาลในเลือดสูง” จะฟังดูเหมือนเรื่องเล็กแต่หากละเลย ก็อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลถึงคุณภาพชีวิตในอนาคตได้
อย่ารอจนป่วยแล้วค่อยเริ่มดูแลตัวเองเพราะการป้องกันง่ายกว่าและดีกว่าการรักษาเสมอ ฃ
.
แล้วอย่าลืมชวนคนรอบข้างตรวจสุขภาพประจำปี และเริ่มดูแลสุขภาพวันนี้ เพื่ออนาคตที่แข็งแรงในทุกวันของชีวิตนะคะ
#ความรู้ใหม่ใกล้ฉัน #สาระน่ารู้กับห้องสมุดฯวัดรัชฎาธิษฐานฯ
02 412 0702