Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักหอสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
หนังสือและสิ่งพิมพ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หนังสือใหม่
E-Books
บทความ
สาระน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
กิจกรรมประจำสัปดาห์
กิจกรรมประจำสัปดาห์
มุมดีๆ ที่เสรีไทย
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
E-Books
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
หนังสือแนะนำ
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หน้าแรก
ข่าวสาร/กิจกรรม
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
กลับไปหน้าหลัก
อนุสาวรีย์ปราบกบฏ
ทั้งนี้จากการรื้อฟื้นความสำคัญของอนุสาวรีย์ปราบกบฏนับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2550 อาจมีส่วนสำคัญที่ทำให้กรมศิลปากรพิจารณาว่าอนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ อันเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์กบฏบวรเดชเมื่อ พ.ศ. 2476 ดังนั้นกรมศิลปากรจึงประกาศให้อนุสาวรีย์ปราบกบฏหรืออนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นโบราณสถานของชาติและได้รับการปกป้องคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นับตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558[69]ซึ่งเปรียบเสมือนกับการประนีประนอมให้อนุสาวรีย์ปราบกบฏได้มีตำแหน่งแห่งที่ในประวัติศาสตร์ชาติแบบทางการและมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคุ้มครองดูแลอนุสาวรีย์อย่างชัดเจนคือ กรมศิลปากร ขณะเดียวกันก็เบียดขับความหมายและลดทอนความสำคัญของอนุสาวรีย์ปราบกบฏที่เชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงไปโดยปริยาย
แม้ว่าอนุสาวรีย์ปราบกบฏต้องถูกเคลื่อนย้ายเป็นครั้งที่ 2 ในคืนวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เพื่อหลีกทางให้กับตัวสถานีและทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต การนี้กรมศิลปากรได้มีบทบาทในการพิจารณาเห็นชอบที่ตั้งอนุสาวรีย์แห่งใหม่บริเวณริมวงเวียนหลักสี่ด้านทิศตะวันตก รวมถึงกำหนดให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเสริมฐานอนุสาวรีย์เป็นการถาวรให้สูงเด่น เพื่อลดการบดบังจากตัวสถานีรถไฟฟ้า มีการปรับภูมิทัศน์โดยรอบเพื่อส่งเสริมคุณค่าและความสง่างามของอนุสาวรีย์ให้สมกับเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ตลอดจนมีการจัดทำป้ายข้อมูลแสดงความสำคัญของอนุสาวรีย์แห่งนี้
.
อย่างไรก็ตามในคืนวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561 อนุสาวรีย์ปราบกบฏอันเป็นโบราณสถานของชาติ กลับถูกรื้อถอนและหายไปอย่างไม่คาดฝันคล้ายคลึงกับการรื้อถอนหมุดคณะราษฎรเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 อันสะท้อนถึงการจัดการความทรงจำเกี่ยวกับคณะราษฎรระลอกใหม่ของพลังอนุรักษนิยมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อคณะราษฎรและประชาธิปไตยที่มิใช่เพียง “การรื้อสร้างความหมาย” แต่มีลักษณะเป็น “การรื้อถอนความทรงจำ” เสมือนไม่เคยมีวัตถุหรืออนุสรณ์ใดที่แสดงเรื่องราวการสถาปนาระบอบใหม่หรือการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ระบอบใหม่ของคณะราษฎรดำรงอยู่มาก่อน ซึ่งในกรณีอนุสาวรีย์ปราบกบฏสะท้อนถึงปรากฏการณ์นี้อย่างชัดเจนที่ไม่มีแม้แต่ภาพข่าวเหตุการณ์การเคลื่อนย้ายของสื่อมวลชน ความเงียบงันของหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการคุ้มครองดูแลอนุสาวรีย์ปราบกบฏราวกับอนุสาวรีย์แห่งนี้ไม่เคยตั้งอยู่บริเวณวงเวียนหลักสี่ ตลอดจนการเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวจาก “สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่” เป็น “สถานีพหลโยธิน 59” อันแสดงถึงความพยายามที่จะลบล้างการมีอยู่ของอนุสาวรีย์ปราบกบฏให้เลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คน
.
อ่านบทความ "อนุสาวรีย์ปราบกบฏ: จากจุดเริ่มต้นสู่การอันตรธาน พ.ศ. 2476-2561" โดย ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ได้ที่นี่:
https://pridi.or.th/th/content/2024/10/2179https://pridi.or.th/th/content/2024/10/2171
#ขอบคุณที่มาจาก : #เพจเฟสบุ๊คสถาบันปรีดี พนมยงค์
#Pridi Banomyong Institute #อนุสาวรีย์ปราบกบฏ
แชร์