Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักหอสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
หนังสือและสิ่งพิมพ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หนังสือใหม่
E-Books
บทความ
สาระน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
กิจกรรมประจำสัปดาห์
กิจกรรมประจำสัปดาห์
มุมดีๆ ที่เสรีไทย
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
E-Books
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
หนังสือแนะนำ
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หน้าแรก
ข่าวสาร/กิจกรรม
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
กลับไปหน้าหลัก
กำเนิด “เสรีไทยสายนิสิตจุฬาฯ”
#บทความ
#สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
#ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์เสรีไทยอนุสรณ์
#กิจกรรมส่งเสริมการอ่านออนไลน์
กำเนิด “เสรีไทยสายนิสิตจุฬาฯ” หน่วยอาสากว่า 300 คน ทำเพื่อเอกราช-อธิปไตยไทย
บทความ “อนุสรณ์สถานกับความทรงจำ : นร.สห. 2488 เสรีไทยสายนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” (นร.สห. ย่อมาจาก “นักเรียนสารวัตรทหาร”) โดยกำพล จำปาพันธ์ เผยแพร่ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับมีนาคม 2560 อธิบายถึงบทบาทของเสรีไทยสายนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเริ่มต้นช่วงกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2488 ท่ามกลางสถานการณ์สงครามคุกรุ่น
ในช่วงเวลานั้น หลายฝ่ายไม่ได้มองว่าสงครามจะยุติลงในปีดังกล่าว พลเรือตรี สังวร สุวรรณชีพ นายทหารสารวัตรใหญ่ที่เข้าร่วมเสรีไทย เข้าปรึกษาหารือกับนายปรีดี พนมยงค์ ว่าขบวนการเสรีไทยต้องมีหน่วยทหารลับพร้อมรบแบบสงครามกองโจร (Gurrilla War-fare) ทั้งการรบในป่า การรบในเมือง การใช้อาวุธทันสมัย การทำลายด้วยดินระเบิด มีระเบียบวินัยแบบทหาร และสามารถใช้อาวุธที่ฝ่ายพันธมิตรส่งมาให้ทางอากาศ ไม่ใช่เพียงประชาชนทั่วไปใครก็ได้ที่ไม่ได้ผ่านการฝึกวิชาทหาร เพื่อใช้ดำเนินงานผลักดันฐานทัพญี่ปุ่นออกไปจากประเทศไทย จากความเชื่อว่า จำต้องเปิดสงครามสู้รบขั้นแตกหัก
จุฬาฯ ในเวลานั้นปิดการเรียนการสอนเพราะภัยสงคราม พลเรือตรี สังวร สุวรรณชีพ มองว่า นิสิตชายจุฬาฯ พร้อมและเหมาะสมเข้ารับการฝึก เนื่องจากเป็นยุวชนทหาร ผ่านการฝึกวิชาทหารมาบ้างแล้วตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษา เมื่อได้ไฟเขียวจากนายปรีดีแล้ว พลเรือตรี สังวร สุวรรณชีพ จึงเข้าพบหม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอธิการบดีจุฬาฯ อนุญาตให้นิสิตไปช่วยราชการคับขันได้ แต่ให้เป็นความสมัครใจ ไม่เป็นการบังคับ
อ่านเรื่องราวทั้งหมดต่อได้ในบทความนี้ :
https://www.silpa-mag.com/history/article_54144
#ข้อมูลจาก
: ศิลปวัฒนธรรม
SILPA-MAG.COM
#ติดตามข่าวสารกิจกรรมห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์เสรีไทยอนุสรณ์
ได้ที่
Facebook : ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์เสรีไทยอนุสรณ์
https://www.facebook.com/serithai.library
Website :
http://bangkoklibrary.go.th/web19
02-376-1400
แชร์