Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักหอสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
หนังสือและสิ่งพิมพ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หนังสือใหม่
E-Books
บทความ
สาระน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
กิจกรรมประจำสัปดาห์
กิจกรรมประจำสัปดาห์
มุมดีๆ ที่เสรีไทย
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
E-Books
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
หนังสือแนะนำ
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หน้าแรก
ข่าวสาร/กิจกรรม
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
กลับไปหน้าหลัก
บางหน้าในประวัติศาสตร์ไทย : อัตชีวประวัติของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์
บางหน้าในประวัติศาสตร์ไทย : อัตชีวประวัติของรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์
ผู้แต่ง : ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร ราชบัณฑิต
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : แสงดาว
ปีที่พิมพ์ : 2549
จำนวนหน้า : 488 หน้า
ISBN : 9749818830
บรรณนิทัศน์ :
ความผูกพันของท่านปรีดีฯ กับการเมืองภายหลังสงครามประการหนึ่ง ก็คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่
แต่โดยความเป็นจริง ก็คือ ท่านปรีดี พนมยงค์ มีความเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่แรกเริ่ม
ในฐานะ
“สถาปนิก” ของการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญ
นับตั้งแต่การก่อตั้งคณะราษฎรขึ้น ณ กรุงปารีส เมื่อ พ.ศ.
2469-2470
และการสถาปนาการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 ท่านปรีดีฯ เป็นผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย คือ “ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม” ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับสุดท้ายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ซึ่งได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ท่านรัฐบุรุษอาวุโสมีความเชื่อมั่นในการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยอย่างมั่นคง และได้อุทิศชีวิตเพื่อธํารงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญและการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ในช่วงปลายสงครามใน พ.ศ. 2488 ท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ปรารภกับนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ว่า รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2475 ได้ใช้มาแล้ว 14 ปี แม้ว่าจะได้ยังความเจริญแก่ประเทศชาติเป็นอเนกประการ แต่เหตุการณ์บ้านเมืองก็ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ถึงเวลาแล้วที่ควรจะได้ยกเลิกบทเฉพาะกาล (ที่ให้มีสมาชิกประเภทที่ 2) และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น นายกรัฐมนตรีจึงได้นําความนั้นปรึกษาหารือกับสมาชิกประเภทที่ 2 และผู้ก่อการ 24 มิถุนายน 2475 และเมื่อได้ตกลงกันแล้ว รัฐบาลควง อภัยวงศ์ ก็ได้เสนอญัตติต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2488 ขอให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อพิจารณาค้นคว้าตรวจสอบว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ขณะนั้นสมควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไรเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของบ้านเมือง และเพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การดําเนินการในเรื่องรัฐธรรมนูญตามที่กล่าวนี้ได้ดําเนินไปเป็นเวลา 7 เดือน จนกระทั่งได้มีการเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2489 ซึ่งสภาฯ ได้พิจารณารับหลักการและตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นอีกคณะหนึ่งเพื่อกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง โดยมีท่านปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ซึ่งได้ลาออกจากความเป็นสมาชิกสภาฯ ประเภทที่ 2 แล้วเป็นประธาน ต่อมาเมื่อท่านปรีดีฯ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ศกเดียวกัน ก็ได้ขอลาออกจากตําแหน่งกรรมาธิการ เมื่อคณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาเสร็จแล้ว สภาผู้แทนราษฎรก็มีมติให้นําร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 โดยมีผลใช้บังคับในวันถัดมา ในขณะที่ท่านปรีดี พนมยงค์ กําลังดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี
แชร์