Main Menu
BANGKOK PORTAL

  • ไทย
  • Eng

สารสนเทศขบวนการเสรีไทย

นายปรีดี พนมยงค์กับบทบาทนายกรัฐมนตรี ในช่วงกรณีสวรรคต รัชกาลที่ 8 (ตอนที่ 1)

 
     ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ประธานพฤฒสภา นายวิลาศ โอสถานนท์ และสภาผู้แทน นายเกษม บุญศรี ได้นัดประชุมสมาชิกสภาทั้งสองหารือร่วมกันเป็นการภายใน ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อหยั่งเสียงว่าที่ประชุมจะเห็นสมควรให้ผู้ใดดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่ประชุมมีความเห็นเป็นเอกฉันท์เห็นควรให้ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป
.
     ประธานพฤฒสภาจึงได้นำความขี้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ตามความเห็นของที่ประชุม และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2489 โดยมีประธานสภาทั้งสองเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ยังมิทันจะมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามครรลองประชาธิปไตยเลย เหตุการณ์อันไม่เคยฝัน เหตุการณ์อันนำความเศร้าสลดอย่างแสนสาหัสมาสู่ปวงประชาชาวไทยทั้งมวลอุบัติขึ้น นั่นคือ...ในวันรุ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสู่สวรรคต เหตุการณ์อันนี้แหละที่ผลักดันวิถีชีวิตของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษอาวุโสของชาติไทย ให้กลายเป็นเครื่องมือถูกย่ำยีทางการเมือง จนไร้แผ่นดินไทยจะอาศัย
.
     แม้ในหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ จะได้ปฏิบัติการตามหน้าที่อย่างดีที่สุด ดั่งที่ ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิ์วัฒน์ ได้ทรงกล่าวไว้แล้ว ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้พยายามประกอบคุณงามความดีและเอาชนะต่อศัตรูทางการเมือง ซึ่งเคยสืบเนื่องมาจากครั้งกระโน้นแล้วจะได้ร่วมมือกันทำงานสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ แต่ ดร.ปรีดี พนมยงค์ยิ่งผิดหวัง
     ในระหว่างมหาสงครามโลกเมื่อเสรีไทยก่อหวอดขึ้นในสหรัฐอเมริกา เจ้าและขุนนางในเมืองไทยที่อยู่เงียบอยู่นานได้เริ่มฟักตัวขึ้น และมีการเคลื่อนไหว พวกนี้บางทีเรียกกันว่า “พวกตีนเล็ก” ทั้งนี้เพื่อทำการเรียกร้องและดึงเอาสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่อยู่ในมือของราษฎรและเป็นของราษฎรคืนมาอย่างที่เป็นอยู่ก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2475 และอันนี้หมายความว่าบรรดาคณะ 24 มิถุนายน ก็คือ ศัตรูทางการเมืองของคณะนี้ ดร.ปรีดี พนมยงค์ทราบความเคลื่อนไหวของคณะนี้ดี แต่ก็ยังหวังอยู่ว่า โดยที่ตนได้ประกอบคุณงามความดีถวายชีวิตต่อราชบัลลังก์ตลอดมา คงจะสมัครสมานสามัคคีกันได้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชาติ เมื่อ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี “คลื่นใต้น้ำ” นี้ยังไม่รุนแรง
.
อ่าน "นายปรีดี พนมยงค์กับบทบาทนายกรัฐมนตรีในช่วงกรณีสวรรคต รัชกาลที่ 8 ตอนที่ 1" โดย ไสว สุทธิพิทักษ์ ได้ที่นี่ : https://pridi.or.th/th/content/2024/06/1989