Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักหอสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
หนังสือและสิ่งพิมพ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หนังสือใหม่
E-Books
บทความ
สาระน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
กิจกรรมประจำสัปดาห์
กิจกรรมประจำสัปดาห์
มุมดีๆ ที่เสรีไทย
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
E-Books
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
หนังสือแนะนำ
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หน้าแรก
ข่าวสาร/กิจกรรม
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
กลับไปหน้าหลัก
จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม #โดยปรีดี พนมยงค์
#บทความ
#สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
#ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์เสรีไทยอนุสรณ์
#กิจกรรมส่งเสริมการอ่านออนไลน์
#จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน
14 ตุลาคม
#โดยปรีดี
พนมยงค์
#14 ตุลาคม 2516-2566 #50 ปี 14 ตุลาฯ
“วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นวันสําคัญวันหนึ่งแห่งประวัติศาสตร์ของชาติไทย คือ เป็นวันชัยชนะก้าวแรกของเยาวชนหญิงชายไทย ภายใต้การนําของนิสิตนักศึกษานักเรียนแห่งสถานศึกษามากหลาย ซึ่งได้รับการสนับสนุนและร่วมมือจากราษฎรไทยทุกชนชาติ และทุกชนชั้นวรรณะที่รักชาติจํานวนหลายล้านคน ผนึกกันเป็นขบวนการเรียกร้องรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยสมบูรณ์ให้แก่ปวงชนชาวไทย” (ส่วนหนึ่งจากบทความ จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม โดย ปรีดี พนมยงค์)
.
หลังอสัญกรรมของ 'จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์' เมื่อปี 2506 อำนาจทางการเมืองได้ถูกถ่ายทอดมาสู่ 'จอมพลถนอม กิตติขจร' 'จอมพลประภาส จารุเสถียร' และ 'พันเอก ณรงค์ กิตติขจร' ส่งผลต่อมาให้สังคมไทยปกครองอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการยาวนานเป็นเวลาเกือบ 15 ปี จึงสามารถกล่าวได้ว่านับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2500 เหล่าเผด็จการทหารได้เข้ามาครองอำนาจนำทางการเมืองไทย ทั้งยังสร้างมรดกตกทอดมาจนกระทั่งทุกวันนี้
.
แม้ว่าในต้นปี 2512 ได้มีการเลือกตั้งทั่วไป แต่จอมพลถนอมก็ชนะการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป หากแต่เป็นรัฐบาลที่ขาดเสถียรภาพทางการเมืองอย่างยิ่ง จึงทำให้ในเวลาต่อมาจอมพลถนอม ตัดสินใจทำรัฐประหารรัฐบาลตนเองในเดือนพฤศจิกายน 2514 อันเป็นผลให้ความมุ่งมั่นของประชาชนในการจะใช้สิทธิการเลือกตั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐบาลประชาธิปไตยต้องดับลงอีกครั้ง
.
ด้วยระบอบเผด็จการที่ปกครองโดยปราศจากการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบจากประชาชน จึงเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลกระทำการฉ้อราษฎร์บังหลวง แสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองและในทางเศรษฐกิจก็เกิดการกระจุกตัวที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ชนชั้นนำ การพัฒนาประเทศไม่ส่งผลต่อการอยู่ดีกินดีของประชาชนอย่างทั่วถึง จึงนำไปสู่กระแสต่อต้านที่ค่อยๆ เริ่มก่อร่างสร้างตัวในหมู่ประชาชน ก่อนจะปะทุด้วยข่าวอื้อฉาวเหตุการณ์ลักลอบล่าสัตว์ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งพัวพันกับพันเอก ณรงค์ กิตติขจร และขยายความต้องการไปสู่ข้อเรียกร้องจากประชาชนเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย
.
การเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่ถูกตำรวจจับเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในขณะแจกใบปลิวของอาจารย์ นักศึกษา และประชาชน 12 คน ทำให้ขบวนการนักศึกษาพร้อมด้วยประชาชนผู้มีใจรักประชาธิปไตยจำนวนมากกว่าแสนคน ร่วมกันชุมนุมอย่างสันติวิธี ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เรียกร้องให้รัฐบาลคณาธิปไตยถนอม-ประภาส-ณรงค์ ปล่อยนิสิตนักศึกษา อาจารย์ และนักการเมือง รวมต่อมา 13 คน ซึ่งถูกจับกุมด้วยข้อหาบ่อนทำลายความมั่นคงแห่งรัฐและการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์จากการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
.
คลื่นผู้เรียกร้องประชาธิปไตยราว 5 แสนคน คลาคล่ำไปด้วยประชาชนจากทั่วทุกสารทิศเพื่อให้บรรลุข้อเรียกร้องและประท้วงต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ โดยเริ่มต้นเดินขบวนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งหน้าสู่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
.
ทว่า เมื่อความต้องการของประชาชนมีทีท่าว่าจะสัมฤทธิ์ผ
ล ก่อนการสลายการชุมนุม ได้ปรากฏการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐอย่างรุนแรง
.
รัฐบาลได้ใช้กำลังทหารพร้อมด้วยอาวุธหนัก รถถัง เฮลิคอปเตอร์ กระสุนจริง และแก๊สน้ำตาล้อมปราบปรามผู้ชุมนุม ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก ในช่วงเย็นของวันที่ 14 จอมพล ถนอม ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาในวันที่ 15 ตุลาคม มีการประกาศว่าถนอม-ประภาส-ณรงค์ ทั้ง 3 คน ได้เดินทางออกนอกประเทศไปแล้ว เหตุการณ์ทุกอย่างจึงสงบลง
.
เหตุการณ์ในครั้งนั้นยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายเผด็จการ และเป็นชัยชนะของมวลมหาราษฎรไทยที่ผนึกกำลังกันเรียกร้องประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ แต่ขณะเดียวกันก็บังเกิดความสูญเสียที่ควรแก่การระลึกไว้ โดยมีผู้เสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรงโดยรัฐทั้งสิ้น 77 คน บาดเจ็บกว่า 857 คน และสูญหายอีกเป็นจำนวนมาก จึงเป็นหน้าที่คนรุ่นปัจจุบันและในอนาคตที่จะร่วมกันธำรงเจตนารมณ์การต่อสู้กับรัฐบาลที่ฉ้อฉลในครั้งนั้น และการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง
#บทความที่เกี่ยวข้อง
: จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม โดย ปรีดี พนมยงค์
https://pridi.or.th/th/content/2020/10/455
#ขอบคุณ
: สถาบันปรีดี พนมยงค์ Pridi Banomyong Institute
#ติดตามข่าวสารกิจกรรมห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์เสรีไทยอนุสรณ์
ได้ที่
Facebook : ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์เสรีไทยอนุสรณ์
https://www.facebook.com/serithai.library
Website :
http://bangkoklibrary.go.th/web19
02-376-1400
แชร์