Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักหอสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
หนังสือและสิ่งพิมพ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หนังสือใหม่
E-Books
บทความ
สาระน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
กิจกรรมประจำสัปดาห์
กิจกรรมประจำสัปดาห์
มุมดีๆ ที่เสรีไทย
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
E-Books
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
หนังสือแนะนำ
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หน้าแรก
ข่าวสาร/กิจกรรม
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
กลับไปหน้าหลัก
อัตชีวประวัติ : ทหารชั่วคราว
อัตชีวประวัติ : ทหารชั่วคราว
ผู้แต่ง : ป๋วย อึ้งภากรณ์
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีที่พิมพ์ : 2559
จำนวนหน้า : 272 หน้า
ISBN : 9789744668547
บรรณนิทัศน์ :
วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ เป็นวาระครบ ๗๐ ปีของวันสันติภาพไทย อันเป็นวันที่ท่านผู้ประศาสน์การ ปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประกาศสันติภาพ เพื่อแสดงให้ปรากฏว่า การประกาศสงครามของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่ เป็นโมฆะ เพราะท่านในฐานะผู้สำเร็จราชการฯคนหนึ่งไม่ได้ลงนามด้วยทั้งยังเป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตจำนงของมวลราษฎรไทย เพื่อยืนยันถึงเอกราชและอธิปไตยสมบูรณ์ของไทย ว่าไม่ได้ตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม
ขณะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น ท่านอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ ศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อรัฐบาลจอมพล ป. ประกาศสงคราม และเรียกตัวคนไทยกลับประเทศ อาจารย์ป๋วยเขียนเล่าไว้ว่า
“ก็เหมือนกับคนไทยอื่นๆ อีกในแง่ที่เป็นห่วงใยในอิสรภาพอธิปไตยของประเทศ เมื่อญี่ปุ่นยกทัพขึ้นดินแดนไทย เราก็ภาวนาให้มีช่องทางอย่างใดให้ญี่ปุ่นออกไปเสีย ครั้งรัฐบาลไทยก้าวล้ำเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง โดยทำสัญญาร่วมกับญี่ปุ่นและประกาศสงครามกับสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร เราก็ยิ่งเกิดความพรั่นพรึงว่า เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและไทยก็ร่วมแพ้ด้วย เห็นทีหายนะจะเกิดแก่ชาติเราเป็นแน่ ถ้าหากว่าคนไทยทุกคนเชื่อผู้นำและทำอะไรตามผู้นำไปหมด ฉะนั้นเมื่อมีคำสั่งให้เตรียมตัวเดินทางกลับประเทศไทย ในการแลกเปลี่ยนเชลยศึก จึงเป็นวาระที่พวกเราจะต้องเลือกทางเดิน จะเดินทางกลับบ้าน หรือจะอยู่ทำอะไรให้เป็นประโยชน์แก่อนาคตของประเทศชาติ”
ท่านจึงเลือกเป็น “ทหารชั่วคราว” เพื่อ “ประโยชน์แก่อนาคตของประเทศชาติ” ซึ่งก็เป็นไปตามนั้น
แต่น่าเสียดายที่เหตุการณ์อันเนิ่นนานผ่านมากว่า ๗ ทศวรรษค่อยๆ เลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คนในสังคม ดังนั้น ในวาระ ๑๐๐ ปี ชาตกาล ของอาจารย์ป๋วย ในปี ๒๕๕๙ นี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงจัดพิมพ์ อัตชีวประวัติ : ทหารชั่วคราว ขึ้นอีกครั้งเพื่อเผยแพร่เรื่องราวการเป็นเสรีไทยของอาจารย์ป๋วยให้กว้างขวางออกไป เพื่อเชิดชูเกียรติท่าน และเพื่อเป็นตัวอย่างให้อนุชนได้ยึดเป็นแบบอย่างต่อไป
แชร์