Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักหอสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
หนังสือและสิ่งพิมพ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หนังสือใหม่
E-Books
บทความ
สาระน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
กิจกรรมประจำสัปดาห์
กิจกรรมประจำสัปดาห์
มุมดีๆ ที่เสรีไทย
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
E-Books
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
หนังสือแนะนำ
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หน้าแรก
หนังสือและสิ่งพิมพ์
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
กลับไปหน้าหลัก
นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับที่ 571 (มิถุนายน 2567)
“ชวนท่านผู้อ่านทบทวนเรื่องราวของ 2475 อีกครั้งผ่านชีวิตของพระยาพหลพลพยุหเสนา ด้วยหวังว่าเมื่อศึกษา “อดีต” จะเข้าใจ “ปัจจุบัน” มากขึ้น"
สำหรับคนทั่วไปเมื่อได้ยินชื่อ “พระยาพหลฯ” หลายคนเลิกคิ้วด้วยความสงสัย บ้างคุ้นหู แต่ก็ไม่รู้ว่าเจ้าของนามนี้คือใคร สำคัญอย่างไร
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ชื่อของเขาถูกกล่าวถึงบ่อยขึ้น วิกฤตการเมืองที่ดำเนินมาเกือบ 2 ทศวรรษทำให้คนจำนวนหนึ่งหันกลับมาสนใจเรื่องราวในยุคที่เขามีชีวิต ไม่ว่าจะตีความไปในแง่บวกหรือลบ
เรื่องราวของเขานั้นปรากฏน้อยนิด ทั้งที่เขาคือผู้เริ่ม “ก้าวแรก” ให้ประชาธิปไตยไทย นับตั้งแต่ก้าวเท้าขึ้นไปยืนบนลัง ล้วงกระเป๋าหยิบแผ่นกระดาษออกมาคลี่ ก่อนจะอ่านแถลงการณ์อภิวัฒน์ 2475 ด้วยเสียงอันดัง ท่ามกลางนายทหารหลายกรมกองที่ยืนชุมนุมปะปนกันตรงหน้า ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า
เกือบศตวรรษหลังจากนั้น สปอตไลต์กลับส่องไปที่หลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) “รุ่นน้อง” ร่วมคณะที่สร้างแรงสะเทือนส่งผลมายังปัจจุบันมากกว่า
.
ด้วยผู้เขียนเชื่อว่าจะทำความเข้าใจเหตุการณ์ทางการเมืองให้ถ่องแท้ สิ่งหนึ่งที่ต้องทำคือศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงยาว (longue durée) โดยเฉพาะ “ปฐมบท” ต้นธารของเรื่องราว
ส่งท้ายคลื่นความร้อนกลางปี 2567 ท่ามกลางวิกฤตการเมืองไทยที่สงบลงชั่วคราว
แชร์