Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักหอสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
หนังสือและสิ่งพิมพ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หนังสือใหม่
E-Books
บทความ
สาระน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
กิจกรรมประจำสัปดาห์
กิจกรรมประจำสัปดาห์
มุมดีๆ ที่เสรีไทย
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
E-Books
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
หนังสือแนะนำ
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หน้าแรก
หนังสือและสิ่งพิมพ์
หนังสือใหม่
หนังสือใหม่
กลับไปหน้าหลัก
การเมืองภาคประชาชน
ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 สถานการณ์บ้านเมืองของไทยนับแต่อดีตตราบจนปัจจุบันยังคงอยู่ในสภาวะลุ่ม ๆ ดอน ๆ ซึ่งโดยมากมักผันแปรไปตามผู้มีอำนาจในแต่ละยุคสมัย..
"อุเชนทร์ เชียงเสน" นักวิชาการหนุ่มผู้คร่ำหวอดอยู่กับการขบวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองในแง่มุมต่าง ๆ จึงใช้โอกาสดังกล่าวสรรค์สร้างและเรียนรู้พัฒนาการทางการเมืองของไทยผ่านงานวิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนจะต่อยอดเป็นหนังสือ การเมืองภาคประชาชน ด้วยการนำเสนอรากเหง้าของปัญหาบ้านเมืองภายหลังเหตุการณ์ทางการเมือง เชื่อมโยงไปยังจุดเริ่มต้นของวาทกรรม "การเมืองภาคประชาชน" อันหมายถึงกระบวนการของประชาชนที่ตรวจสอบ ถ่วงดุล และคัดค้านแนวนโยบายของรัฐที่มีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ นับแต่การรณรงค์ให้โหวตรับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่ง การรวมตัวของขบวนการ "สมัชชาคนจน" เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่คนยากไร้ รวมถึงการถือกำเนิดของ "คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย" ที่เริ่มมีบทบาทเทียบเคียงเวทีการเมืองมากขึ้นตามลำดับ โดยกลุ่มองค์กรที่ได้ยกตัวอย่างดังกล่าว ไม่ว่าจะมีฐานมวลชนเป็นของตัวเองหรือเปล่า ล้วนกำเนิดจากรากเหง้าทางความคิดเกี่ยวกับ "การเมืองภาคประชาชน" แทบทั้งสิ้น และจุดหักเหสำคัญของขบวนการภาคประชาชนใน ช่วงเวลาต่อมาก็คือ การถือกำเนิดของ "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ซึ่งมีเป้าประสงค์เพื่อขับไล่ "ระบอบทักษิณ"
เมื่อเรื่องราวดำเนินมาถึงตรงจุดนี้ย่อมสังเกตได้ชัดเจนว่า การต่อสู้เรียกร้องในฐานะ "การเมืองภาคประชาชน" เริ่มจะแตกต่างจากในอดีตอย่างไร ใช้รูปแบบการต่อสู้อย่างสันติอหิงหาเหมือนในอดีตหรือไม่ เชิดชูการกระจายอำนาจตามปณิธานประชาธิปไตยหรือเปล่า ใครคือผู้กำหนดกลเกมการเรียกร้อง จนถึงคำถามสำคัญก็คือ จริงหรือไม่ที่การต่อสู้กับระบอบทักษิณคือการเมืองภาคประชาชนตามเจตนารมณ์เดิม..
#มีเวลาว่างลองมาหาอ่านได้ที่ห้องสมุดฯ
ผู้แต่ง : อุเชนทร์ เชียงเสน
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : มติชน
จำนวนหน้า : 376 หน้า
ISBN : 9789740216308
แชร์