Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักหอสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
หนังสือและสิ่งพิมพ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หนังสือใหม่
E-Books
บทความ
สาระน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
กิจกรรมประจำสัปดาห์
กิจกรรมประจำสัปดาห์
มุมดีๆ ที่เสรีไทย
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
E-Books
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
หนังสือแนะนำ
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หน้าแรก
บทความ
สาระน่ารู้
สาระน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
12 กรกฎาคม 2461-2567 106 ปี ชาตกาล ศักดิชัย บำรุงพงศ์
#ศักดิชัย
บำรุงพงศ์ เจ้าของนามปากกา เสนีย์ เสาวพงศ์ เป็นอดีตประธานมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ คนที่ 2 เป็นนักการทูต นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนเจ้าของรางวัลศรีบูรพา และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2533
.
#สังเขปชีวประวัติ
ศักดิชัย บำรุงพงศ์
.
ศักดิชัย บำรุงพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 เกิดในครอบครัวชาวนาจากบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ แต่ย้ายเข้ามาเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดจักวรรดิ และระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดบพิตรภิมุข กรุงเทพฯ และได้สอบเข้าศึกษาต่อที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หากต่อมาบิดาก็ถึงแก่กรรมลงจนครอบครัวเกิดปัญหาทางการเงิน ศักดิชัยจึงได้ลาออกมาทำงานเป็นผู้แปลข่าวต่างประเทศและเป็นคอลัมนิสต์ที่หนังสือพิมพ์ศรีกรุงและสยามราษฎร์ตามลำดับและเข้าศึกษาเรียนที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองจนสำเร็จการศึกษา และยังเคยได้ทุนไปเรียนต่อประเทศเยอรมนีแต่ตัดสินใจเข้าทำงานในกระทรวงการต่างประเทศจนเกษียณอายุราชการเมื่อปี 2521
.
ในแวดวงวรรณกรรม ศักดิชัยมีนามปากกาหลายอันได้แก่ โบ้ บางบ่อ, สุจริต พรหมจรรยา, กรัสนัย, โปรชาติ, คมนศานติ, วัลยา ศิลปวัลลภ, ๑๒๒๒, สีปอย อ่องคำ, แทน นราธร, หนานสีมา และนามปากกาที่มีผลงานยอดนิยมคือ เสนีย์ เสาวพงศ์ โดยผลงานที่เริ่มติดหูมนนามปากกานี้คือ “ชัยชนะของคนแพ้” นวนิยายเรื่องแรกซึ่งเขียนเมื่อเข้ารับราชการในกระทรวงต่างประเทศและยังคงเขียนอย่างต่อเนื่องในระหว่างที่รับราชการ
.
นวนิยายที่เขาเขียนในช่วงนี้ส่วนใหญ่จึงมีที่มาจากประสบการณ์ในการทำงานยังต่างประเทศในฐานะนักการทูต งานของเขามีประเด็นทางสังคมที่แหลมคม และมีหลากแนว ทั้งอาทิ นวนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล กวีนิพนธ์ คอลัมน์ หรือแม้แต่แบบเรียน ซึ่งผลงานเล่มสำคัญที่สะท้อนอุดมคติทางการเมืองและสังคมของสามัญชนคือ นวนิยายเรื่อง “ปีศาจ” และ “ความรักของวัลยา” โดยวลีแหลมในนวนิยายเรื่องปีศาจที่ได้รับการกล่าวถึงจากอดีตจนถึงคนรุ่นใหม่คือ
.
“ผมเป็นปีศาจที่กาลเวลาได้สร้างขึ้นมาหลอกหลอนคนที่อยู่ในโลกเก่า ความคิดเก่า ทำให้เกิดความละเมอหวาดกลัว”
.
กระทั่งในวาระครบรอบ 100 ปี ของศักดิชัย สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยามได้เล่าถึงความสัมพันธ์ของศักดิชัยกับบุคคลสำคัญ อาทิ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์, ดิเรก ชัยนาม, หลวงอดุลเดชจรัส และเฉลียว ปทุมรส ไว้ดังนี้
.
"คุณศักดิชัยรับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ เคยเป็นหน้าห้องของคุณดิเรก ชัยนาม เมื่อท่านผู้นั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คุณศักดิชัยรับใช้คุณดิเรกอย่างใกล้ชิด พอถึงตอนเสนอให้ขึ้นเงินเดือน คุณดิเรกบอกกับคุณศักดิชัยว่า "ศักดิชัยรับใช้ใกล้ชิดอาจารย์ ถ้าเสนอขึ้นเงินเดือนให้เธอเป็นพิเศษ คนจะหมันไส้เอา อย่าเอาสองขั้นเลย" แต่คุณศักดิชัยก็เคารพนับถือท่านเป็นอันมาก
คุณศักดิชัยเคยเล่าให้ฟังว่ามีโทรศัพท์มาที่กระทรวง ซึ่งคุณศักดิชัยต้องรับก่อนและถามว่าใครพูด คำตอบก็คือ "อดุลพูด" ถามต่อไปว่า "อดุลไหน" คำตอบคือ "อดุลเดชจรัส จะพูดกับคุณดิเรก" คุณศักดิชัยกลัวจนเกือบตกเก้าอี้ โดยที่เวลานั้นคุณหลวงอดุลฯใกล้ชิดกับคุณดิเรกมาก เคยมาเยี่ยมที่กระทรวงต่างประเทศ เวลาเดินออกไปขึ้นรถ ท่านให้คุณศักดิชัยเดินนำหน้า เพราะท่านพกปืนติดตัวตลอด แสดงว่าไม่ไว้ใจใครเลย
ต่อมาคุณศักดิชัยยังได้ร่วมงานกับ วรพุทธิ์ ชัยนาม ลูกชายของคุณดิเรก ณ สถานทูตไทย ณ กรุงเวียนนา คุณศักดิชัยชื่นชมวรพุทธิ์มาก ว่าฉลาด ขยัน และอุทิศตัวเพื่อราชการยิ่งกว่าเห็นประโยชน์ส่วนตัว
เราต้องไม่ลืมว่า ภรรยาของคุณศักดิชัยนั้น เป็นลูกสาวคุณเฉลียว ปทุมรส ซึ่งเคยเป็นราชเลขานุการในพระองค์ในหลวงรัชกาลที่ 8 และถูกศาลฎีกาลงโทษประหารชีวิตร่วมกับมหาดเล็กอีก 2 คนที่เป็นผู้ต้องหา ภรรยาคุณศักดิชัยเคยเป็นทนายให้พ่อ แต่เมื่อคดีนี้ผ่านพ้นไป ทั้งสองท่านนี้ไม่เคยพูดถึงกรณีสวรรคตอีกเลย
โดยที่ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เป็นประธานในการหมั้นคุณศักดิชัยและคุณเครือพันธ์ เพราะตอนนั้นอาจารย์ปรีดีลี้ภัยไปแล้ว และท่านผู้หญิงพูนศุขก็ถูกจับในงานหมั้นของคู่นี้เอง
ผมมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับคุณศักดิชัยได้มาก เพราะคุ้นกับท่านมานาน โดยที่ท่านเป็นคนที่อ่อนน้อมถ่อมตัว และมีอารมณ์ขันที่ถ้าใครตามท่านไม่ทัน ก็อาจจะไม่ขันไปด้วย ส่วนงานเขียนของท่านนั้น บางชิ้นถือได้ว่าเป็นอมตะเอาเลย
สมัยผมทำ สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ได้อุดหนุนนักเขียนรุ่นใหม่ คนหนึ่งในจำนวนนี้คือ นิพนธ์ ขำวิไล ซึ่งเขียนฉันท์ได้เป็นเลิศ และเขียนเรื่องสั้นได้อย่างวิเศษ ดังผมเคยให้แปลเป็นภาษาอังกฤษและนำไปลงพิมพ์ในนิตยสาร Solidarity ที่ฟิลิปปินส์ คุณศักดิชัยอ่านแล้ว บอกกับผมว่า "เด็กรุ่นใหม่เขาเขียนได้ดีกว่าผมเสียแล้ว" แสดงว่าท่านมีความอ่อนน้อมถ่อมตนมาก เสียดายที่นิพนธ์มุ่งความเป็นเลิศมากไป เขาจึงไม่มีวรรณศิลป์ทิ้งร่องรอยไว้ให้อีก" [ส. ศิวรักษ์, 2561]
.
29 พฤศจิกายน 2564 ศักดิชัย บำรุงพงศ์ ได้ถึงแก่กรรมอย่างสงบหากผลงานที่ยังสานต่อถักทอมาถึงคนรุ่นใหม่คือ ผลงานที่สะท้อนอุดมคติเคียงข้างฝั่งสามัญชน
#ขอบคุณข้อมูล
: สถาบันปรีดี พนมยงค์ Pridi Banomyong Institute
แชร์