Main Menu
BANGKOK PORTAL

  • ไทย
  • Eng

สาระน่ารู้

กำเนิดไปรษณีย์ไทย

กำเนิดไปรษณีย์ไทย

เปิดภาพเก่าเล่าเรื่อง ....กำเนิดไปรษณีย์ไทย
ในยุคที่ยังไม่ได้มีข้อความกระพริบเตือนในหน้าจอมือถือเหมือนเช่นทุกวันนี้ คนยุคนั้น เขาสื่อสารกันเยี่ยงไร....
ไปรษณีย์ไทย เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบกิจการไปรษณีย์ในสมัยแรกคือ กรมไปรษณีย์ เปิดให้บริการเป็นครั้งแรก ณ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ไปรษณียาคาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ปากคลองโอ่งอ่าง ปัจจุบันรื้อทิ้งเพื่อสร้างสะพานพระปกเกล้า
ในระยะแรกที่ให้บริการ ครอบคลุมเฉพาะกรุงเทพเท่านั้น เมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 จึงเริ่มขยายไปต่างจังหวัดโดยเปิดที่ทำการไปรษณีย์ที่สมุทรปราการและนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง ในปัจจุบัน) และขยายต่อจนถึงเชียงใหม่ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน ส่วนบริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ เริ่มเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 หลังประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์
ในปี พ.ศ. 2441 กรมไปรษณีย์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมไปรษณีย์โทรเลข หลังจากมีการควบรวมกรมไปรษณีย์เข้ากับกรมโทรเลข ซึ่งดูแลงานด้านโทรเลข เมื่อ พ.ศ. 2483 ได้มีการเปิด ที่ทำการไปรษณีย์กลาง ขึ้นบนถนนเจริญกรุง เขตบางรัก และใช้เป็นที่ทำการของกรมไปรษณีย์โทรเลข
: ยุครัฐวิสาหกิจ
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ได้แยกงานบางส่วนออกจากกรมไปรษณีย์โทรเลข และจัดตั้งมาเป็นรัฐวิสาหกิจ ใช้ชื่อว่า การสื่อสารแห่งประเทศไทย (ก.ส.ท.)
และเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2546 มีการปรับโครงสร้างอีกครั้งตามนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยแยกการสื่อสารแห่งประเทศไทย ออกเป็น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) โดยไปรษณีย์ไทยดูแลบริการด้านไปรษณีย์ทั้งหมด รวมถึงรับจ้างให้บริการโทรเลขจาก กสท.โทรคมนาคม ซึ่งให้บริการจนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551
...ประวัติการไปรษณีย์ไทย.....
การติดต่อส่งข่าวสารไปมาถึงกัน ของคนไทยในสมัยโบราณนั้น ถ้าเป็น เรื่องรีบร้อนสำคัญ
ก็มักจะจัดให้คนถือไป หากเป็นเรื่องธรรมดาไม่เร่งร้อนก็มักจะฝากไปกับพ่อค้า หรือคนเดินทาง
ที่จะเดินผ่าน ไปทางนั้นๆ ส่วนในทางราชการหากเป็นราชการเร่งร้อนสำคัญ ก็มีการแต่งข้า
หลวงเชิญหนังสือ หรือ "ท้องตรา" หรือ "ใบบอก" ออกไปส่งยังที่หมายซึ่งอาจจะต้องขึ่ช้าง ขึ่ม้า ลง
เรือ ลงแพ ตามลักษณะภูมิประเทศ และเป็นหน้าที่ของกรมการเมืองรายทางที่ผ่าน ที่จะต้องจัดยาน
พาหนะทางไปส่งถึงเขตชายแดน ถ้าเป็นราชการไม่เร่งร้อน คณะกรรมการเมืองก็จัดคนให้ส่ง
หนังสือต่อๆ กันไป ส่วนการส่งพระราชสาสน์ หรือหนังสือ ติดต่อกับประเทศนั้น มีวิธีใหญ่ๆ อยู่ ๒ วิธีคือ ๑. แต่งตั้งคณะทูตอัญเชิญพระราชสาสน์ไปยังประเทศที่จะติดต่อโดยตรง เช่น พระวิสุทธสุนทร (ปาน) อันเชิญพระราชสาสน์ของสมเด็จพระนา- รายณ์ มหาราชไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่ง ฝรั่งเศส พระยามนตรีสุริยวงศ์เป็นราชทูตอัญเชิญ พระราชสาสน์ และเครื่องราชบรรณาการของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปถวายสมเด็จ พระราชินีนาถวิกตอเรีย แห่งอังกฤษ เป็นต้น
๒.ทางราชสำนักฝากหนังสือผ่านคนกลางซึ่งโดยมากก็คือ พ่อค้า นายเรือ หรือเจ้าหน้าที่ของต่างประ
เทศเป็นสำคัญ เป็นที่น่าสังเกตว่าการติดต่อสื่อสารกันทางจดหมายในสมัยก่อน ไม่ค่อยมีแพร่หลาย นอกจากจะมีสาเหตุจากความไม่สะดวกในการฝากส่ง และการเดินหนังสือไปมาถึงกันแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นคือการศึกษาเล่าเรียนของประชาชนมีจำกัด ในสมัยก่อนไม่มีโรงเรียน การศึกษาเล่าเรียนของพระบรมวงศานุวงศ์ หรือข้าราชการขุนนางชั้นผู้ใหญ่ จึงมีอาจารย์สอนให้เฉพาะในวัง
จนมาถึงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) มีกลุ่มมิชชันนารี
หรือหมอสอนศาสนาชาวยุโรป เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในประเทศไทย จึงเริ่มมีการเขียน
จดหมายติดต่อกับ ญาติพี่น้อง มิตรสหายในประเทศของตนขึ้น โดย ส่งจดหมายไปทางเรือ
ดังตัวอย่างจดหมายของมิช- ชันนารีผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นภรรยาของหมอบรัดเลย์ ผู้ ริเริ่มก่อตั้งโรงพิมพ์
แห่งแรกในประเทศไทย (โรงพิมพ์ อักษรสยามนุกูลกิจ) จดหมายนี้ส่งจากกรุงเทพฯ ใน วันที่ ๑๑
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๗๙ ถึงเมืองโรเชส- เตอร์(Rochester) ในนิวยอร์ก วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.
๒๓๘๐ ใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น ๕ เดือน อัตราค่าส่ง๑๘ เซ็นต์ ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีแสตมป์ใช้
#ขอบคุณ
ที่มา : เพจกว่าจะเป็น"ไทย"ในวันนี้