Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักหอสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
หนังสือและสิ่งพิมพ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หนังสือใหม่
E-Books
บทความ
สาระน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
กิจกรรมประจำสัปดาห์
กิจกรรมประจำสัปดาห์
มุมดีๆ ที่เสรีไทย
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
E-Books
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
หนังสือแนะนำ
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หน้าแรก
บทความ
สาระน่ารู้
สาระน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
20 กันยายน 2567 99 พรรษา วันพระราชสมภพ #พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงเป็นพระโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู สัปตศก จ.ศ. 1287 ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดิลแบร์ค สาธารณรัฐไวมาร์ (ปัจจุบันคือ ประเทศเยอรมนี) ขณะที่สมเด็จพระราชชนกทรงศึกษาการแพทย์ที่ประเทศเยอรมนี โดยได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล
.
หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล โดยสมเด็จพระราชชนนีทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า นันท พระองค์มีสมเด็จพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
.
และทรงเสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อพระชนมายุได้ 3 พรรษา ประทับ ณ วังสระปทุม ในระหว่างนั้นสมเด็จพระราชชนกทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ ดังนั้น พระองค์จึงอยู่ในความดูแลของสมเด็จพระราชชนนีเพียงพระองค์เดียว โดยทรงเริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี และทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ แต่หลังจากการอภิวัฒน์สยาม พ.ศ. 2475 สมเด็จพระราชชนนีฯ ขอพระราชทานพระราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะทรงนำพระโอรสและพระธิดาไปประทับทียังเมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์จึงทรงศึกษาต่อที่นี่
.
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และมิได้ทรงสมมติเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท ดังนั้น คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลที่มีพระชันษาเพียง 9 ปี ซึ่งเป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ขึ้นทรงราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไปตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 และได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2478 ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
.
เหตุการณ์สำคัญในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 นับจากวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 มีเหตุการณ์การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ แล้วกองทัพญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองประเทศไทย ส่งผลให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้เสด็จออกนอกประเทศ และเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีนายปรีดี พนมยงค์ เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ไทยที่ถูกยึดครองได้กลายเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของจักรวรรดิญี่ปุ่นและเป็นสมาชิกของฝ่ายอักษะ ภายใตรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ไทยได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ผู้สำเร็จราชการได้ปฏิเสธที่จะลงนามในปฏิญญาฉบับนี้จึงทำให้ตกเป็นโมฆะตามกฎหมาย และนายปรีดีได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยในประเทศขึ้นตั้งแต่ช่วงวันที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองไทยโดยมีผลสำคัญทำให้ไทยได้รับเอกราชและไม่ตกเป็นผู้แพ้ในสงคราม
.
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลงและมีการประกาศสันติภาพ ณ วันที่ 16 สิงหาคมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนคร ครั้งที่สองในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 พร้อมกับปริญญาด้านนิติศาสตร์ และยังทรงเข้าร่วมในเหตุการณ์หลังสงครามที่ทำให้ชาวไทยตระหนักถึงเอกราช อธิปไตยทและเกียรติภูมิของชาติโดยลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเทนแห่งกองทัพอังกฤษ ผู้บัญชาการทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เข้ามาในพระนครและมีการตรวจพลสวนสนามกองฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2489 โดยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ได้เสด็จออกทรงรับการตรวจพลสวนสนามในฐานะองค์พระประมุขของประเทศพร้อมกับ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเทน อย่างสง่างาม
.
กระทั่งในเช้าของวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ท่ามกลางความเงียบของโมงยามอันสงัดได้เกิดเสียงปืนดังขึ้นหนึ่งนัด เมื่อตามหาต้นตอของเสียงปืนดังกล่าวจึงพบว่า เหตุเกิดขึ้นในห้องบรรทมของในหลวงอานันทมหิดล บนพระศพพบบาดแผลบริเวณกลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ระหว่างพระขนง (คิ้ว) อีกทั้งยังพบปืนในบริเวณที่เกิดเหตุอีกด้วยโดยในวันนั้นทางรัฐบาลได้แถลงฯ ถึงการสวรรคตไว้ดังนี้
.
“ข้าพเจ้ามีข่าวอันแสนเศร้าสลดใจอย่างสุดซึ้งที่จะแจ้งต่อรัฐสภาให้ทราบว่า ด้วยนับตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน ศกนี้เป็นต้นมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เริ่มทรงพระประชวรเกี่ยวกับพระนาภี(ทรงมีอาการปวดท้อง-กองบรรณาธิการ)ไม่เป็นปกติและเหน็ดเหนื่อย ไม่มีพระกำลัง แม้กระนั้นก็ดี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จประพาสเยี่ยมราษฎรเป็นพระราชกรณีกิจของพระองค์ ครั้งต่อมาพระอาการเกี่ยวกับพระนาภีก็ยังมิได้ทุเลาลงจึงต้องเสด็จประทับอยู่แต่บนพระที่นั่ง มิได้เสด็จออกงานตามหมายกำหนดการ ครั้นวันที่ 9 มิถุนายน ศกนี้ เมื่อตื่นพระบรรทมตอนเช้าเวลา 6.00 นาฬิกา ได้เสวยพระโอสถน้ำมันละหุ่งแล้วเข้าห้องสรงซึ่งเป็นพระราชกิจประจำวันแล้วก็เสด็จเข้าพระที่
.
ครั้นประมาณเวลา 9.00 นาฬิกา มหาดเล็กห้องพระบรรทมได้ยินเสียงปืนดังขึ้นในพระที่นั่งจึงวิ่งเข้าไปดูเห็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรทมอยู่บนพระที่ มีพระโลหิตไหลเปื้อน พระองค์สวรรคตเสียแล้วที่ห้องพระบรรทม จึงได้ไปกราบทูลสมเด็จพระราชชนนีให้ทรงทราบมหาดเล็ก แล้วเสด็จไปถวายบังคมพระบรมศพ ต่อนั้นมามีพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ได้เข้าไปกราบถวายบังคมและอธิบดีกรมตำรวจกับอธิบดีกรมการแพทย์ได้ไปถวายตรวจพระบรมศพและสอบสวน…” [บางส่วนจากคำแถลงของนายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีแถลงต่อที่ประชุมรัฐสภาฯ กรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลา 21.00 น.]
.
กรณีการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ได้กลายเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนการเมืองไทย ด้วยเพราะการตรวจสอบสาเหตุของการสวรรคตเป็นไปด้วยความยากลำบาก ความเคลือบแคลงใจได้ก่อตัวขึ้นในหมู่สาธารณชน เมื่อความจริงยังมิอาจปรากฏ ความคลุมเครือจึงถูกหยิบฉวยนำมาใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายตรงข้ามเพื่อโจมตีรัฐบาลภายใต้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ 'นายปรีดี พนมยงค์'
.
ภายหลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต ได้อัญเชิญพระบรมศพมาประดิษฐาน ณพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง และจัดให้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคม พ.ศ. 2493 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง และเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในโอกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณี
.
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยมว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร และอย่างสังเขปว่า 'พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร'
แชร์