Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักหอสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
ยืม-คืน อุปกรณ์
ห้องค้นคว้า
ห้องวีดีทัศน์
จอง/ขอใช้บริการ
ตู้ล็อกเกอร์
ฟรีอินเตอร์เน็ต
บริการอื่นๆ
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
หนังสือและสิ่งพิมพ์
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หนังสือใหม่
E-Books
บทความ
สาระน่ารู้
แหล่งความรู้อื่นๆ
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
ข่าวสาร/กิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
กิจกรรมประจำสัปดาห์
กิจกรรมประจำสัปดาห์
มุมดีๆ ที่เสรีไทย
สารสนเทศขบวนการเสรีไทย
E-Books
ระบบสืบค้นหนังสือ
ถาม ตอบ
หนังสือแนะนำ
หนังสือดีที่น่าอ่าน
นิตยสารดีที่น่าอ่าน
หน้าแรก
บทความ
สาระน่ารู้
สาระน่ารู้
กลับไปหน้าหลัก
119 ปี ชาตกาล ศ. ดร.เดือน บุนนาค (พ.ศ. 2448-พ.ศ. 2525 )
119 ปี ชาตกาล ศ. ดร.เดือน บุนนาค (พ.ศ. 2448-พ.ศ. 2525 )
#ศ
. ดร.เดือน บุนนาค เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2448 ภูมิลำเนาพระนคร เป็นบุตรชายของพระยาประเสนะชิตศรีพิไลย (ดัด บุนนาค) กับคุณหญิงทรัพย์ บุนนาค สำหรับการศึกษาชั้นต้น ศ. ดร.เดือน บุนนาค ศึกษาที่โรงเรียนวัดราชบูรณะ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ภายหลัง ศ. ดร.เดือน บุนนาค เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส โดยจบการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาเอกด้านกฎหมาย (Docteur en droit) ที่มหาวิทยาปารีส และก่อนกลับมารับราชการที่สยาามศึกษาดูงานเกี่ยวกับหน่วยงานภาครัฐ
.
#ศ
. ดร.เดือน บุนนาค เริ่มต้นรับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษา กระทรวงยุติธรรม ต่อมาเมื่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ศ. ดร.เดือน มีบทบาทร่วมจัดระเบียบหน่วยงานราชการและจัดตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกา และหลังจากนั้นก้าวสู่ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา นอกจากนี้ บทบาทางด้านการศึกษา ศ. ดร.เดือน บุนนาค เลขาธิการ เป็นบุคคลผู้มีส่วนร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) โดยได้เข้ามาช่วยงานผู้ประศาสน์การ ดร.ปรีดี พนมยงค์ กระทั่งได้รับความไว้วางใจให้เป็นเลขาธิการคนแรกของ มธก. ทั้งเป็นผู้บรรยายมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2477 และมีตำแหน่งผู้ช่วยจัดทำตำรากับนายวิจิตร ลุลิตานนท์ นายเสริม วินิจฉัยกุล นายทวี ตะเวทีกุล ทั้งสามคนล้วนเป็นเพื่อนนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ และขุนประเสริฐศุภมาตรา ต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้เป็นกำลังสำคัญในการวางรากฐานมหาวิทยาลัย
.
แม้ว่า ศ. ดร.เดือน บุนนาค จะไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะราษฎรในเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ด้วยสายสัมพันธ์ที่ดี และมีความสามารถทำให้ ศ. ดร.เดือน มีบทบาทสำคัญทางการเมืองในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 1 กรรมาธิการวิสามัญในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกพฤฒสภา รวมไปถึงการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในหลายรัฐบาล อาทิ ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ที่มาจากการแต่งตั้งในวันที่ 8 ตุลาคม ปี 2478 จนถึงปี 2486 และเป็นอีกครั้งในตอนต้นปี 2489
.
ในเดือนมกราคม ปี 2489 ทางสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกให้ ศ. ดร.เดือนเป็นรองประธานสภาฯ ที่มีพระยามานวราชเสวี เป็นประธานฯ และการได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีแล้วเว้นวรรคทางการเมืองไปช่วงหนึ่ง จนเมื่อนายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี ศ. ดร.เดือน ก็กลับมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อเปลี่ยนตัวนายกฯมาเป็นหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ดร.เดือน ก็ยังเป็นสืบต่อมา และได้ขยับขึ้นเป็นรองนายกฯและควบรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวงพาณิชย์
.
และช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีการเกิดขึ้นของขบวนการเสรีไทย ศ. ดร.เดือน และนายเสริม วินิจฉัยกุล ได้เข้าเป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทยโดยมีบทบาทสำคัญในฐานะคณะผู้แทนในการเจรจาสมบูรณ์แบบเพื่อเลิกสถานะสงคราม หลังสงครามจบลง ศ. ดร.เดือนมีความโดดเด่นในด้านการศึกษา โดยเป็นคณบดีคณะพาณิชย์ศาสตร์ และคณบดีคนแรกของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สำคัญคือ เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งผู้ประศาสน์การ เมื่อนาย ปรีดี พนมยงค์ ต้องเดินทางลี้ภัยจากการรัฐประหาร 2490ไปต่างประเทศอีกด้วย
.
ศ.ดร. เดือน บุนนาค ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการเส้นเลือดหัวใจอุดตันอย่างเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 นำความเสียใจมายังครอบครัว ผู้ใกล้ชิด มิตรสหาย และลูกศิษย์
แชร์