Main Menu
BANGKOK PORTAL

  • ไทย
  • Eng

บทความน่ารู้

มาทำความรู้จักกับ Internet of things

ในยุคที่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทุกอย่างถูกพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ารวมทั้งเทคโนโลยี เราในฐานะมนุษย์ที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ เทคโนโลยี Internet of things จริง ๆ แล้วเทคโนโลยีนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 2000 ริเริ่มแนวคิดจาก Kevin Ashton ในปี 1999  โดยเกิดจากแนวคิดในการต่อยอดจาดเทคโนโลยี RFID ที่ถือเป็นมาตรฐานโลกในการจับสัญญาณเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ( RFID Sensors) ที่สามารถทำให้มันพูดคุยเชื่อมต่อกันได้ผ่านระบบ Auto-ID ของเขา และได้ให้นิยามไว้ว่า “อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต” ซึ่งเทคโนโลยีนี้ไม่ต้องป้อนข้อมูล เป็นการเชื่อมโยงที่ง่ายสามารถสั่งการควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้เลย ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้ถูกนำไปใช้กับอะไรบ้างเราไปดูกันเลย

1. Smart Home

เป็นเทคโนโลยีถูกออกแบบมาใช้กับที่อยู่อาศัยช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับที่อยู่อาศัยให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น โดยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมในที่นี้คือ Smart Phone ซึ่งเป็นตัวควบคุมอุปกรณ์ต่างบริเวณที่อยู่อาศัย คือ การทำหน้าที่ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้าน หรือถ้าอุปกรณ์ภายนอกบ้าน IP Camera ดูการเคลื่อนไหวรอบๆบ้านแบบ 24 ชม เป็นต้น ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าการมีเทคโนโลยีนี้ช่วยเข้ามาอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับเราและครอบครัว

2. Intelligent Transport System (ITS)

เป็นเทคโนโลยีด้านระบบด้านการจราจรและการขนส่ง เป็นตัวช่วยในการลดระยะเวลาที่อาจทำให้สูญเสียไปในการเดินทาง ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ และเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางของเรา ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้นำเอาด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและด้านสารสนเทศเข้ามาช่วยปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีนี้ช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและยังช่วยให้เราประหยัดเวลาในการเดินทาง
 

3. Smart Grid

คือเทคโนโลยีบริหารระบบการใช้ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบนี้จะช่วยคำนวณกำลังการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง ได้แก่ ฟอสซิลและพลังงานทดแทนต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับปริมาณการใช้งานจริง และให้เหมือนกันทุกโรงไฟฟ้า เนื่องจากไฟฟ้าหากถูกผลิตแล้วต้องใช้โดยทันที หากมีการจัดเก็บจะมีต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีนี้เข้ามาช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงและต้นทุนในการจัดเก็บ

ตัวอย่างข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี Internet of things จริงๆแล้วเทคโนโลยีนี้ได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในระยะเวลาไม่กี่ปี เราจะสังเกตได้ว่าเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวก ความปลอดภัย และลดค่าใช้จ่าย

หากเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาต่อไปในอนาคตอาจมีการลดจำนวนแรงงาน นั้นหมายถึงการลดจำนวนและแทนที่ด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ และถ้าหากเราไม่พัฒนาตัวเองให้ควบคุมเทคโนโลยีเหล่านี้เราเองก็จะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

ขอบคุณบทความดีๆ จาก https://numberssd.com