Main Menu
BANGKOK PORTAL

  • ไทย
  • Eng

บทความน่ารู้

กบช. คืออะไร

กบช. คืออะไร

กบช. หรือ กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ สำหรับแรงงานในระบบที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบการจ่ายบำเหน็จบำนาญ
เป้าหมายของ กบช. เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับสำหรับแรงงานในระบบ โดยให้ผลประโยชน์ในรูปแบบการจ่ายบำเหน็จบำนาญ ขณะเดียวกันกองทุนจะเป็นศูนย์กลางการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบำเหน็จบำนาญด้วย
ใครบ้างที่ต้องเข้าร่วม กบช.
  • ลูกจ้างที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 60 ปี 
  • ลูกจ้างเอกชน 
  • ลูกจ้างชั่วคราวของราชการ 
  • พนักงานราชการ 
  • เจ้าหน้าที่องค์กรมหาชน 
  • พนักงานในรัฐวิสาหกิจ 
  • แรงงานที่ไม่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 
วิธีการจ่ายเงินสมทบ
  • ลูกจ้างและนายจ้างส่งเงินสมทบของแต่ละฝ่าย 
  • กรณีลูกจ้างเงินเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท ให้นายจ้างส่งเงินสมทบเพียงฝ่ายเดียว
  • ปีที่ 1 – 3 ลูกจ้างส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3% ของค่าจ้าง
  • ปีที่ 4 – 6 ลูกจ้างส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 5% ของค่าจ้าง
  • ปีที่ 7 – 9 ลูกจ้างส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 7% ของค่าจ้าง
  • ตั้งแต่ปีที่ 10 เป็นต้นไป ลูกจ้างส่งเงินไม่น้อยกว่า 7 – 10% ของค่าจ้าง
  • กำหนดเพดานค่าจ้างสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาทต่อเดือน เช่น
  • ลูกจ้างและนายจ้างส่งเงินเพิ่มได้ สูงสุดไม่เกิน 30% ของค่าจ้าง โดยไม่จำกัดเพดานค่าจ้าง
การรับเงินจาก กบช. 
  • สมาชิกจะได้รับเงินเมื่ออายุครบ 60 ปี 
  • สามารถเลือกเป็นบำเหน็จ หรือบำนาญเป็นรายเดือน ระยะเวลา 20 ปี
  • กรณีเลือกบำเหน็จ ได้รับเงินเท่ากับจำนวนเงินสะสมที่ลูกจ้างส่ง + เงินสมทบจากนายจ้าง + รวมผลตอบแทน
  • กรณีเลือกบำนาญ แล้วต้องการเปลี่ยนเป็นบำเหน็จก็สามารถทำได้ โดยจะได้รับเงินเท่ากับเงินบำนาญที่เหลือ
  • กรณีที่ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยจนใกล้ถึงแก่ชีวิตก่อนอายุครบ 60 ปี เมื่อออกจากงานแล้ว สามารถขอรับเงินสะสมและเงินสมทบ บางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้
  • เงินสะสม เงินสมทบ เงินผลตอบแทน และเงินที่ได้รับเมื่อเกษียณอายุ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ขอบคุณภาพประกอบจาก Fanpage : WorkpointTODAY
บทความดีๆ จาก : mekhanews.com