Main Menu
BANGKOK PORTAL

  • ไทย
  • Eng

ข่าวประชาสัมพันธ์ห้องสมุด

ปฏิทินกิจกรรม ประจำเดือน เมษายน 2564

สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะ^^
สงกรานต์ใกล้เข้ามาแล้ว
วันนี้นอกจากจะมีปฏิทินกิจกรรมมาฝากแล้ว แอดมินยังมีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับวันปีใหม่ไทย และประเพณีสงกรานต์แถมให้ด้วย
เริ่มด้วยกิจกรรมเจ๋งๆ
สนุกได้ทุกวันเสาร์
ที่เก่าเวลาเดิม 13.00 - 14.00 น.
03/04/64 : รู้ไหม...ฉันเป็นใคร
17/04/64 : มาแปรงฟันกันเถอะ
24/04/64 : ปลาแฟนซี
บริเวณชั้น 1 ห้องดอยคำ
"วันสงกรานต์"
เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณคู่กับ วันตรุษ จึงเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
โดยคำว่า “สงกรานต์” เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง “การเคลื่อนย้าย” เป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือ การเคลื่อนขึ้นปีใหม่ ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ก่อนที่ประเทศไทยเรานั้นจะถือ “วันสงกรานต์” เป็น “ปีใหม่ไทย” สมัยโบราณ คนไทยเราจะถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ค่ะ เพราะถือว่าฤดูหนาว เป็นการเริ่มต้นปี โดยจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม
ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ วันปีใหม่ไทยจึงเป็น วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 หรือประมาณเดือนเมษายน ต่อมาในปี พ.ศ.2432 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เมษายน
จนมาถึง จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2483 ได้ประกาศให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่จนปัจจุบัน ซึ่งเป็นการนับแบบสากล แต่อย่างไรก็ตาม คนไทยในหลายภูมิภาค ก็ยังยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่อยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ค่ะ และต่อมาก็มีการกำหนดให้วันสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13 เมษายนนั่นเอง
ประเพณีสงกรานต์ดั้งเดิม จะมีพิธีสงกรานต์ที่ปฏิบัติกันในครอบครัวค่ะ โดยจะมีการใช้น้ำเป็นองค์ประกอบหลักในพิธี เนื่องจาก การคำนวณทางดาราศาสตร์ที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน จึงใช้น้ำมารดให้แก่กันเพื่อความสดชื่นในหน้าร้อนนั่นเอง โดยหลักๆ แล้ว จะมีพิธีสงกรานต์ คือ
- การสรงน้ำพระ ทั้งที่บ้าน และที่วัด เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมถึงการทำบุญตักบาตรไหว้พระ
- การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน
- การรดน้ำผู้ใหญ่ เป็นการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์
- การดำหัว เป็นพิธีสงกรานต์ทางภาคเหนือ โดยจะคล้ายกับการรดน้ำผู้ใหญ่ในภาคกลาง เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่
- การขนทรายเข้าวัด มีความเชื่อว่า เพื่อคามเป็นมงคล ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองมากมายเหมือนเม็ดทรายที่ขนเข้าวัด และอีกความเชื่อก็คือ การนำทรายที่ติดเท้าออกวัด เป็นบาป จึงขนทรายเข้าวัดเพื่อไม่ให้เป็นบาปนั่นเอง
และเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19
การเว้นระยะห่าง (social distancing) ยังคงเป็นเรื่องสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ถึงแม้ว่าสถานการณ์จะเริ่มดีขึ้นแล้วก็ตาม
สำหรับ "ข้อห้าม" ในการจัดกิจกรรมในเทศกาล “สงกรานต์ ปี 64” หลักๆ มีดังนี้
1. งดการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ได้แก่ งดการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มสาดน้ำ คอนเสิร์ต
2. งดการจัดกิจกรรมที่มีการสัมผัสกันใกล้ชิด ได้แก่ งดประแป้ง งดการเล่นปาร์ตี้โฟม
โดย "กิจกรรมที่สามารถจัดได้" ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2564 คือ
1. จัดพิธีสรงน้ำพระ รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ ทางศาสนา
2. จัดพิธีรดน้ำดำหัว ตามประเพณีนิยมหรือตามรูปแบบที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.กำหนด)
สำหรับ "การเดินทางข้ามจังหวัด" เพื่อไปท่องเที่ยว หรือกลับบ้านพบปะญาติพี่น้องในภูมิลำเนานั้น พญ.อภิสมัย กล่าวว่า สามารถเดินทางได้ทุกพื้นที่ เพียงแต่ขอให้ยึดถือแนวทางดำเนินการดังนี้
- ใส่หน้ากาก
- ล้างมือบ่อยๆ
- เว้นระยะห่าง
- สแกนไทยชนะ และหมอชนะ
ทั้งนี้ สำหรับกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดที่สามารถปรับได้ หากเห็นว่าในพื้นที่ยังมีความเสี่ยงก็ปรับให้เข้มงวดขึ้นได้
ขอขอบคุณสาระดีๆจาก
•-------------------------------------•
และเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19
ทางห้องสมุดฯ จึงขอความร่วมมือจากผู้ร่วมทำกิจกรรมดังนี้
1. เว้นระยะห่างขณะทำกิจกรรม
2. สวมใส่หน้ากากอนามัยให้มิดชิด
3. ล้างมือ ก่อน - หลัง ทำกิจกรรม
4. ลงชื่อเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง
สอบถามเพิ่มเติมโทร 0 2372 2438