"วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล" (International Anti-Corruption Day) ถูกตั้งขึ้นหลังจากที่ประชุมใหญ่สมัชชา สหประชาชาติ (UN) มีมติเห็นชอบ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2003 อย่างเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546
โดยประเทศภาคีสมาชิก UN จำนวน 191 ประเทศรวมทั้ง ประเทศไทย เข้าร่วมลงนามในอนุสัญญาฯ ระหว่างวันที่ 9 -11 ธันวาคม 2546 ดังนั้น UN จึงประกาศให้วันที่ 9 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล"
ซึ่ง "วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล" มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องให้ทั่วโลกร่วมกันตรวจสอบและยุติ การคอร์รัปชัน และให้ทุกประเทศต้องถือว่าการ คอร์รัปชัน เป็นอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ
วันที่ 9 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็น "วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล" ที่ประชาชนทั่วทุกประเทศต่างสนใจและให้ความสำคัญ องค์กรความโปร่งใสสากล (Transparency International - TI ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1993) ได้ให้ความหมายของคำว่า "คอร์รัปชัน" (Corruption) ไว้หมายถึง การใช้อำนาจที่ได้มาโดยหน้าที่ในการหาประโยชน์ส่วนตัว หรือ การทุจริตโดยใช้หรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่ อำนาจและอิทธิพลที่ตนมีอยู่ เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและหรือผู้อื่น โดยองค์กรความโปร่งใสสากลได้ระบุถึงกรณีต่างๆที่จะสามารถเกิดขึ้นในการคอร์รัปชันดังนี้
ปัญหาการคอร์รัปชัน (Corruption) เป็นปัญหาที่รุมแรงปัญหาหนึ่งของการเมือง การบริหารของไทย และยังคงเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาช้านาน จนถึงปัจจุบัน และนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น
"คอร์รัปชัน" หมายถึง ความผิดที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา อันได้แก่ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ, ความผิดที่เกี่ยวกับความยุติธรรม และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการบุติธรรม ซึ่งกล่าวง่ายๆ คือ การกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรชอบได้ด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เช่น
1. การเบียดบังทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต
2. ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ
3. การบอกว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์แก่เจ้าพนักงาน
ประเภทของ "คอร์รัปชัน" มีอยู่ 3 ประเภท
1. การคอร์รัปชันขนาดเล็กน้อย (petty corruption) คือ การรับเงินที่ไม่ชอบธรรม หรือไม่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นจำนวนเงินที่ไม่มากนัก เพื่อดำเนินการบางอย่างให้กับผู้ที่ให้เงิน
2. การคอร์รัปชันขนาดใหญ่ (big corruption) ซึ่งมักเป็นการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ระดับสูง ที่รับเงินในรูปแบบของสินบนเป็นเงินจำนวนสูง และโครงการใหญ่ๆเช่น บริษัทต่างๆ
3. การให้ของขวัญ (gift) เป็นการคอร์รัปชันอีกประเภทหนึ่ง เป็นการให้ตอบแทนในรูปแบบสิ่งของ หรือการให้ตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ เช่น การเชิญไปรับประทามอาหาร ซึ่งเป็นการพยายามสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิด
สาเหตุของ "คอร์รัปชัน"
1. คนในสังคมส่วนใหญ่ นับถือความร่ำรวย ย่อมเป็นแรงจูงใจในการแสวงหาเงินทอง
2. ค่านิยมแบบนิยมพวกพ้องและเครือญาติ ความสัมพันธ์ในเชิงผลประโยชน์
3. ระบบอุปถัมภ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับลูกน้อง สร้างลูกน้องไว้ช่วยเหลือตนในเรื่องต่างๆ
4. ระบบการควบคุมและตรวจสอบที่ขาดประสิทธิภาพ
5. สภาพทางการเมืองที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้น เพื่อช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองและผลประโยชน์
รูปแบบของการ "คอร์รัปชัน"
1. การทุจริตในการซื้อจัดจ้าง การทุจริตในเรื่องเหล่านี้มีตั้งแต่การเรียกรับเงินสินบน ค่านายหน้า หรือการตอบแทนในรูปแบบต่างๆ ในการอนุมัติคำร้องเพื่อดำเนินกิจการต่างๆ
2. การทุจริตโดยการยักยอกทรัพย์ ของทางราชการหรือการทุจริตในการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่ารักษาพยาบาล และค่าเช่าบ้าน เช่น การใช้พาหนะของราชการ โดยเบิกค่าพาหนะ หรือการเบิกเบี้ยเลี้ยงเกินวันเวลาที่ปฏิบัติจริง หรือ การเบิกค่าเช่าบ้าน แต่ไม่ได้เช่าบ้านจริง
3. การทุจริตโดยการเรียกรับเงินหรือผลประโยชน์อื่นในการแต่งตั้งข้าราชการ ในการเลื่อนตำแหน่งหรือการโยกย้ายไปในพื้นที่ ที่อยากไป โดยการให้ค่าตอบแทน หรือเรียกว่า "การซื้อ"
4. การซื้อขายเสียงและการให้ผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ในการเลือกตั้ง การทุจริตเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการคอร์รัปชันทางการเมือง เช่นการให้เงิน สิ่งของ แก่หัวคะแนนเสียง
สำหรับ "วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล" ประเทศไทย ในปี 2565 ในฐานะหนึ่งในประเทศภาคีสมาชิกของอนุสัญญา UNCAC ได้ให้ความสำคัญมุ่งมั่น แก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันตลอดมา ดังนั้น รัฐบาล สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ประเทศไทย ภาคีเครือข่ายภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ได้จัดงาน เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) ในวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 เวลา 08:30 - 13:00 น. ณ ห้องนนทบุรี 1 สำนักงาน ป.ป.ช. ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ภายใต้แนวคิด "ไม่ทำ ไม่ทน ไม่เฉย รวมไทยต้านโกง"
สำหรับการจัดกิจกรรมเนื่องใน "วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล" ในครั้งนี้ จะเป็นการแสดงถึงเจตนารมณ์ของผู้นำการเมืองที่ร่วมกับภาคีทุกภาคส่วน มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างต่อเนื่อง และปลุกกระแสสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตในทุกรูปแบบ และมุ่งหวังจะยกระดับค่าดัชนีการรับรู้ การทุจริต (CPI) ให้เพิ่มสูงขึ้น Cr.www.komchadluek.net