Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักหอสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
หนังสือแนะนำ
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
New Books ThungKhru
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
E-Books
E-Book Hibrary
E-Book Bangkoklibrary
สาระน่ารู้
วันนี้มีที่มา
ระบบสืบค้นหนังสือ
ปฏิทินห้องสมุด
กิจกรรม-วันหยุด-วันสำคัญ
หน้าแรก
บริการ
สาระน่ารู้
วันนี้มีที่มา
วันนี้มีที่มา
กลับไปหน้าหลัก
วันอาหารโลก
ความหมายของวันอาหารโลก
วันอาหารโลก (World Food Day) ก่อตั้งมาแล้วกว่า 75 ปี โดย องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO (Food and Agriculture Organization of the United Nations) ในปี 2020 นี้ เป็นปีที่นานาประเทศร่วมกันบรรลุเป้าหมายยุติความอดอยากและยากจน เพื่อปกป้องโลก เน้นการดูแลระบบห่วงโซ่อาหารที่ยั่งยืน เพื่อให้ประชากรโลกเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ด้วยการใช้นวัตกรรมและความร่วมมือที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิม
กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกประสบปัญหาความยากจน โดยส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตชนบท และพึ่งพาการเกษตรเพื่อการดำรงชีพ ดังนั้นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ควรได้รับความรู้และเข้าถึงนวัตกรรมที่ช่วยแปรรูปอาหารเพื่อรักษาอายุให้ยาวนาน และส่งจำหน่าย เพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่า
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ดำเนินเป้าหมายแก้ปัญหาระยะสั้นในกรณีพบเหตุการณ์ประเทศที่ต้องการอาหารฉุกเฉิน ลดความหิวโหยเฉียบพลัน ดูแลกลุ่มประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารจำนวนมาก เช่น Small Island Developing (SIDS) ซึ่งมีการส่งออกน้ำมันจำนวนมาก
วันอาหารโลก 2020 ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 จากการขนส่งอาหารช้าลง ด้วยข้อจำกัดหลายด้าน และประชากรประสบปัญหาการเข้าถึงอาหาร ซึ่งบางพื้นที่พบว่ามีความเสี่ยงที่ต้องใช้จ่ายค่าอาหารต่อครัวเรือนสูงขึ้น เนื่องจากหลายประเทศมีการจ้างงานที่ลดลง FAO จึงต้องทำงานร่วมกับเกษตรกรและภาครัฐอย่างรวดเร็วด้วยการใช้ Social Media เพื่อสร้างความตระหนักถึงการดูแลและป้องกันภาคการเกษตร อาทิ
เปรู ชาวสวนเรียนรู้วิธีการปลูกกล้วยออร์แกนิกจาก FAO เพื่อจัดหาอาหารส่งให้กับนักเรียนที่บ้าน
เฮติ FAO ช่วยเหลือกระทรวงเกษตร ฟื้นฟูสิ่งจำเป็นในฤดูใบไม้ผลิ ในชุมชนที่เสี่ยงต่อการเข้าถึงอาหารเฉียบพลัน ด้วยการมอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวให้กับ 50,000 ครัวเรือน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19
สเปน ชาวประมง ในเขต L’Horta เข้าร่วมกับ FAO เพื่อจัดออร์เดอร์ส่งอาหารไปตามบ้านผู้สูงอายุและผู้ที่ได้รับผลกระทบในช่วงล็อกดาวน์
จอร์เจีย ชาวสวนจาก 22 เขต ได้รับเงินทุน 75 เปอร์เซ็นต์ช่วยเหลือการปลูกผัก เรียนรู้การใช้เทคนิคปลูกผัก และติดตั้งระบบน้ำหยด
ปากีสถาน FAO ส่งสัตว์ให้กับปศุสัตว์ในเขตพื้นที่ห่างไกล เพื่อช่วยเหลือปศุสัตว์ในท้องถิ่น รวมถึงเพิ่มทักษะการทำฟาร์มทางธุรกิจ โดยการสร้างโรงเรียนชาวนา รวมถึงจัดตั้งระบบน้ำหยดและชุดปลูกผักอย่างง่าย
โอมาน เริ่มใช้เทคโนโลยีช่วยขายปลา ด้วยการประมูลปลาออนไลน์ ด้วยการถ่ายภาพและใส่รายละเอียด โดยมีเจ้าหน้าที่ของ FAO ช่วยนำร่องแพลตฟอร์มดิจิทัลนี้ เพื่อลดข้อจำกัดการเดินทางให้กับพ่อค้าปลา
ซูดานตอนใต้ FAO ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกร และจัดหาเมล็ดพันธุ์ในพื้นที่เพื่อให้เกษตรกรซื้อขายได้โดยตรง เพื่อลดการเดินทางมายังงานจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ในช่วงโควิด-19
Cr.www.thairath.co.th
แชร์