Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักหอสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
หนังสือแนะนำ
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
New Books ThungKhru
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
E-Books
E-Book Hibrary
E-Book Bangkoklibrary
สาระน่ารู้
วันนี้มีที่มา
ระบบสืบค้นหนังสือ
ปฏิทินห้องสมุด
กิจกรรม-วันหยุด-วันสำคัญ
หน้าแรก
บริการ
สาระน่ารู้
วันนี้มีที่มา
วันนี้มีที่มา
กลับไปหน้าหลัก
วันคณิตศาสตร์โลก
'วันคณิตศาสตร์โลก'
หรือ
'วันพาย' ซึ่งตรงกับวันที่ 14 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึงสัญลักษณ์สำคัญทางคณิตศาสตร์ π (พาย) ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่หาได้จากความยาวของเส้นรอบวงกลม (Perimeter) หารด้วยความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมนั้น (Diameter) โดยมีค่าเท่ากับ 3.14 ด้วยเหตุนี้จึงถือเอาวันที่ 14 เดือน 3 เป็นวันคณิตศาสตร์โลกหรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า 'วันพาย'
คณิตศาสตร์
(Mathematics) เป็นศาสตร์ที่ครอบคลุมการค้นคว้าเกี่ยวกับ ปริมาณ โครงสร้าง การเปลี่ยนแปลง และปริภูมิ คณิตศาสตร์ไม่มีคำนิยามที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป กล่าวคร่าวๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ
'รูปร่างและจำนวน'
และเนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ ในปัจจุบันเป็นคณิตศาสตร์ที่ยึดโยงกับโครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ และอาศัยการให้เหตุผลที่รัดกุมโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์
โครงสร้างต่างๆ ที่นักคณิตศาสตร์สนใจและพิจารณานั้น มักจะมีต้นกำเนิดจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์ และเศรษฐศาสตร์ ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน ยังเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการสื่อสาร อีกด้วย
เนื่องจาก คณิตศาสตร์ นั้นใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ ซึ่งทำให้กิจกรรมทุกอย่างกระทำผ่านทางขั้นตอนที่ชัดเจน เราจึงสามารถพิจารณาคณิตศาสตร์ว่า เป็นระบบภาษาที่เพิ่มความแม่นยำและชัดเจนให้กับภาษาธรรมชาติ ผ่านทางศัพท์และไวยากรณ์บางอย่าง สำหรับการอธิบายและศึกษาความสัมพันธ์ทั้งทางกายภาพและนามธรรม ความหมายของคณิตศาสตร์นั้นยังมีอีกหลายมุมมอง ซึ่งหลายอันถูกกล่าวถึงในบทความเกี่ยวกับปรัชญาของคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ ยังถูกจัดว่าเป็นศาสตร์สัมบูรณ์ โดยไม่จำเป็นต้องมีการอ้างถึงใดๆ จากโลกภายนอก นักคณิตศาสตร์กำหนดและพิจารณาโครงสร้างบางประเภท สำหรับใช้ในคณิตศาสตร์เองโดยเฉพาะ เนื่องจากโครงสร้างเหล่านี้ อาจทำให้สามารถอธิบายสาขาย่อยๆ หลายๆ สาขาได้ในภาพรวม หรือเป็นประโยชน์ในการคำนวณพื้นฐาน
นอกจากนี้ วันที่ 14 มีนาคม ยังเป็นวันคล้ายวันเกิดของนักฟิสิกส์คนสำคัญของโลก
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
(
Albert Einstein
) หรือ
อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์
เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเยอรมันมาแต่โดยกำเนิด ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ไอน์สไตน์ ได้เป็นที่รู้จักกันในการพัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพ แต่เขายังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม ทฤษฎีสัมพัทธภาพและทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัมเป็นสองเสาหลักของฟิสิกส์สมัยใหม่ สูตรความสมมูลมวล-พลังงานของเขา E = mc2 ซึ่งเกิดจากทฤษฎีสัมพัทธภาพจึงได้รับการขนานนามว่า เป็น 'สมการที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก'
ผลงานของเขาได้เป็นที่รู้จักจากอิทธิพลที่มีต่อปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1921
'สำหรับทำหน้าที่ทางด้านฟิสิกส์ทฤษฏี'
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการค้นพบปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม ความสำเร็จทางปัญญาและความคิดริเริ่มของเขาส่งผลให้ ไอน์สไตน์ กลายเป็นคำพ้องที่มีความหมายตรงกับคำว่า จีเนียส (อัจฉริยะ)
Cr.
www.komchadluek.net
แชร์