Main Menu
ไทย
Eng
ติดต่อเรา
แบบสอบถาม
โพลล์สำรวจ
สมัครสมาชิกห้องสมุด
Facebook
หน้าหลัก
ข้อมูลห้องสมุด
รู้จักหอสมุด
บริการ
หนังสือและสิ่งพิมพ์
หนังสือแนะนำ
บรรณนิทัศน์ออนไลน์
New Books ThungKhru
อีบุ้คและมัลติมีเดีย
E-Books
E-Book Hibrary
E-Book Bangkoklibrary
สาระน่ารู้
วันนี้มีที่มา
ระบบสืบค้นหนังสือ
ปฏิทินห้องสมุด
กิจกรรม-วันหยุด-วันสำคัญ
หน้าแรก
ปฏิทินห้องสมุด
วันนี้มีที่มา
วันนี้มีที่มา
กลับไปหน้าหลัก
วันอนุรักษ์น้ำโลก
วันอนุรักษ์น้ำโลก มีจุดเริ่มต้นจากการประชุมเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิลในวันที่ 22 มีนาคมปี 1992 ที่มีเนื้อหาสำคัญโดยตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรน้ำของมนุษย์ จึงมีแนวคิดที่จะจัดกิจกรรมที่จะเป็นแผนแม่บทให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้เฝ้าระวังทรัพยาการน้ำในประเทศนั้น ๆ และในวันนั้นเองสมัชชาทั่วไปแห่งสหประชาชาติก็ได้ออกประกาศให้่วันที่ 22 มีนาคมของทุกปีเป็นวัน World Water Day หรือ วันอนุรักษ์น้ำโลก
โดยทางองค์การสหประชาชาติจะกำหนดกำหนดธีมหรือหัวข้อประเด็นของวันอนุรักษ์ น้ำโลกในแต่ละปีแตกต่างกันออกไป ซึ่งแม้การรณรงค์ในวันน้ำโลกจะไม่สามารถประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาได้ แต่ การกำหนดหัวข้อของวันน้ำโลกในแต่ละปีนั้นถือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงประเด็น ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำที่เชื่อมโยงกับประชากรโลกได้เป็นอย่างดีใน ช่วงเวลานั้น เช่น...
- ปี ค.ศ.1994 ซึ่งเป็นวันน้ำโลกครั้งแรก ได้กำหนดหัวข้อว่า "Caring for our Water Resources is Everybody's Business" หรือการรักษาดูแลแหล่งน้ำเป็นเรื่องของคนทุกคน ซึ่งสะท้อนถึงช่วงเวลานั้นเป็นอย่างดีว่า คนส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญที่จะดูแลรักษาแหล่งน้ำ
- ปี ค.ศ.1998 ได้มีการหยิบยกหัวข้อ "Groundwater - The Invisible Resource" ที่ ให้ความสำคัญในการรักษาแหล่งน้ำใต้ดิน ซึ่งเวลานั้นประชากรโลกมากกว่าครึ่งอาศัยแหล่งน้ำใต้ดินเป็นแหล่งน้ำอุปโภค และบริโภคที่สำคัญมากสำหรับแหล่งธุรกิจจนถึงแหล่งธุรกันดาร และในขณะเดียวกัน น้ำใต้ดินในหลาย ๆ แห่งพบว่ามีการปนเปื้อนสารเคมีอันตรายจากการประกอบอุตสาหกรรม
- ปี ค.ศ.2003 ได้มีการหยิบยกหัวข้อ "Water for Future" ที่เน้นการรณรงค์ให้รักษาคุณภาพแหล่งน้ำที่ส่งผลต่ออนาตคหรือความเป็นอยู่ ของคนรุ่นต่อไปที่ต้องอาศัยทรัพยากรน้ำที่ดีพอเช่นกัน เนื่องจากข้อกังวลที่คนในยุคปัจจุบันกำลังใช้ทรัพยาอย่างสิ้นเปลือง ไม่ดูแลรักษา และผลกระทบจะตกอยู่กับคนรุ่นต่อไปซึ่งต้องรับผลร้ายจากที่คนรุ่นก่อนได้ทำ ไว้
- ปี ค.ศ.2004 เป็นปีที่มีการหยิบยกหัวข้อ "Water and Disasters" หรือน้ำและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นช่วงเราที่คนเริ่มตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำและสามารถส่งผลกระโดยตรงต่อมนุษย์ จากเหตุการณ์ที่เกิดการณ์คลื่นยักษ์สึนามิในมหาสมุทรอินเดีย
- ปีค.ศ. 2011 กับหัวข้อ "Water for cities: responding to the urban challenge" ที่กล่าวถึงเรื่องการเติบโตของเมืองที่มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชากรโลกจำนวนมากของโลกอยู่ในเมือง และส่วนใหญ่อยู่ในสลัมที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด
และในปี ค.ศ. 2012 ได้มีการหยิบยกหัวข้อที่สำคัญและน่าสนใจมารณรงค์คือ "Water and Food Security: The World is Thirsty Because We are Hungry" ที่ กล่าวถึงน้ำและความมั่นคงทางอาหาร โดยเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างปริมาณน้ำที่จำกัด กับปริมาณความต้องการน้ำที่เพิ่มขึ้นสำหรับการการผลิตอาหาร ของใช้และการบริโภคที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับ พฤติกรรมการบริโภคที่สิ้นเปลือง
ทั้งนี้ หัวข้อเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับประเทศไทย มากเช่นกัน แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศที่ขาดแคลนอาหาร แต่ยังเป็นประเทศที่ผลิตอาหารและส่งออกเป็นอันดับสำคัญของโลก และยังต้องใช้น้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานซึ่งไม่เพียงแค่สำหรับอุปโภค บริโภคโดยตรง แต่ยังเป็นทรัพยากรพื้นฐานสำหรับการผลิตทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม แน่นอนว่า เนื่องในวันน้ำโลกปีนี้ ประชาชนคนไทยก็หวังที่จะได้เห็นแหล่งน้ำต่าง ๆ ได้รับการปกป้อง ได้เห็นแหล่งน้ำสะอาดอยู่ในทุก ๆ ที่ และได้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำที่เต็มไปด้วยอาหาร และสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำอย่างเต็มที่
Cr. www.
arit.kpru.ac.th
แชร์