Main Menu
BANGKOK PORTAL

วันนี้มีที่มา

วันสุนทรภู่


     พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (พ.ศ. 2329-2398) กวีไทยที่มีชื่อเสียงใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีผลงานที่มีชื่อเสียงหลายเรื่องได้แก่ พระอภัยมณี นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม เมื่อ พ.ศ. 2529

     ประวัติสุนทรภู่

     สุนทรภู่ เกิดในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง (ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329) ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (ซึ่งเป็นบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบันนี้) ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 69 ปี

     บิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นชาวเมืองอื่น สุนทรภู่เกิดเมื่อหลังจากได้สร้างกรุงเทพมหานครแล้ว 4 ปี แล้วต่อมาในภายหลังบิดามารดาได้หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำอันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้นสุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง

     เมื่อสุนทรภู่อายุได้ประมาณ 2 ขวบ มารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระในสำนักวัดชีปะขาว (ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามในรัชกาลที่ 4 ว่า วัดศรีสุดาราม อยู่ริมคลองบางกอกน้อย) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวนในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดี ตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม

     กุฎิวัดเทพธิดารามที่สุนทรภู่บวชจำพรรษา เป็นสถานที่ค้นพบวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ามากมายเช่น พระอภัยมณี ฯลฯ ที่ท่านเก็บซ่อนไว้ใต้เพดานหลังคากุฎิของท่าน กุฎิวัดเทพธิดารามที่สุนทรภู่บวชจำพรรษา เป็นสถานที่ค้นพบวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ามากมายเช่น พระอภัยมณี ฯลฯ ที่ท่านเก็บซ่อนไว้ใต้เพดานหลังคากุฎิของท่าน อนุสาวรอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่ วัดศรีสุดาราม

     ใน พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมอาลักษณ์ได้เป็นขุนสุนทรโวหาร ระหว่างรับราชการต้องจำคุกเพราะถูกอุทธรณ์ว่าเมาสุราทำร้ายญาติผู้ใหญ่ ภายหลังพ้นโทษ ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2

     ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่ออกจากราชการและออกบวช เมื่อลาสิกขาแล้วถวายตัวอยู่กับพระองค์เจ้าลักขณานุคุณได้ปีหนึ่ง ครั้นเจ้านายพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่ก็ขาดที่พึ่งได้รับความลำบากมาก ต้องลอยเรืออยู่และแต่งหนังสือขายเลี้ยงชีวิต ต่อมาจึงได้รับพระอุปถัมภ์ จากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

     พ.ศ. 2394 สุนทรภู่ ได้เป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากสุนทรภู่ (ภู่) จะได้รับนามสกุลคือ “ภู่เรือหงส์”

     ตำแหน่งทางราชการ สุนทรภู่หลวงสุนทรโวหาร – พ.ศ. 2359พระสุนทรโวหาร – พ.ศ. 2394ผลงาน ของท่านสุนทรภู่

     ผลงานประเภทนิราศ

     - นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง

     - นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา

     - นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา

     - นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง

     - นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา

     - นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา

     - รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขา

     - นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) - เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี

     - นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร

     ประเภทนิทาน

     เรื่องโคบุตร , เรื่องพระอภัยมณี , เรื่องพระไชยสุริยา , เรื่องลักษณวงศ์ , เรื่องสิงหไกรภพ

     ประเภทสุภาษิต

     - สวัสดิรักษา คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์

     - สุภาษิตสอนหญิง เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่

     - เพลงยาวถวายโอวาท คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว

     ประเภทบทละคร

     - เรื่องอภัยณุรา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประเภทบทเสภา

     - เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม)

     - เรื่องพระราชพงศาวดาร

     ประเภทบทเห่กล่อม

     แต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ เห่จับระบำ, เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องโคบุตร และเห่เรื่องกากี

Cr. http://www.mungngam-sk.go.th