Main Menu
BANGKOK PORTAL

วันนี้มีที่มา

วันไข้เลือดออกอาเซียน

     วันที่ 15 มิถุนายนของทุกปี เป็น "วันไข้เลือดออกอาเซียน" ( ASEAN Dengue Day) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนในประเทศตระหนักในการป้องกันโรค และร่วมกันแก้ปัญหา
<div class="ContentRendererstyle__NewsContentContainer-sc-wainsr-0 dLNBCi" id="item-description" style="box-sizing: border-box; color: rgb(0, 0, 0); font-family: db_helvethaica_x_custom, thongterm, -apple-system, BlinkMacSystemFont, " segoe="" ui",="" roboto,="" oxygen,="" ubuntu,="" cantarell,="" "fira="" sans",="" "droid="" "helvetica="" neue",="" sans-serif;="" font-size:="" 16px;="" background-color:="" rgb(254,="" 254,="" 254);"="">

     จากสถิติของผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก พบว่าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสถิติผู้ป่วยจำนวนมากสุด ดังนั้น ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บูรไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา จึงได้มีมติร่วมกันในการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนครั้งที่ 22 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010) ณ ประเทศสิงคโปร์

     กำหนดให้วันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันไข้เลือดออกอาเซียน (ASEAN Dengue Day) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนในประเทศตระหนักในการป้องกันโรค และร่วมกันแก้ปัญหา 

     สำหรับวันไข้เลือดออกอาเซียน ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “ก้าวสู่สังคมไทย ไม่ป่วยตายด้วยไข้เลือดออก” (Moving Forward to Zero Dengue Death)

     ไข้เลือดออกในประเทศไทย

     นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากกรณีที่มีการคาดการณ์ว่าในปี 2566 ประเทศไทยจะพบการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากขึ้นตามวงรอบของปีที่จะระบาด โดยในปีนี้สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 8 มิถุนายน 2566 พบรายงานผู้ป่วยจำนวน 19,503 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน 29.47 เสียชีวิต 17 ราย และจำนวนผู้ป่วยปี 2566 มากกว่า ปี 2565 ณ ช่วงเวลาเดียวกันถึง 3.8 เท่า กลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยสูงที่สุด ได้แก่ อายุ 5-14 ปี รองลงมา 15-24 ปี จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงที่สุดในช่วงเดือนที่ผ่านมา คือ จังหวัดตราด น่าน จันทบุรี แม่ฮ่องสอน และสตูล ตามลำดับ

มาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค และ 7 ร.

  • เก็บบ้านให้สะอาดไม่ให้ยุงลายเข้ามาเกาะพัก
  • เก็บภาชนะกักเก็บน้ำให้มิดชิดเพื่อป้องกันยุงลายลงไปวางไข่
  • เก็บขยะภายในบริเวณบ้าน โรงเรียน และวัด เช่น ขวด กระป๋อง ให้เรียบร้อยไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

จะสามารถป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายได้ ได้แก่

  • โรคไข้เลือดออก
  • โรคไข้ปวดข้อยุงลาย
  • โรคติดเชื้อไวรัสซิกา

     นอกจากนี้ต้องช่วยกันปรับปรุงสิ่งแวดล้อม หรือทำกิจกรรม BIG CLEANING DAY เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถานที่ ให้ปลอดโปร่ง สะอาด ไม่ให้เป็นที่เกาะพักของยุง ซึ่งกรมควบคุมโรคได้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย 7 สถานที่ หรือ 7ร. ได้แก่ โรง

  • เรือน(บ้าน)
  • โรงเรียน
  • โรงพยาบาล
  • โรงแรม/ รีสอร์ท
  • โรงงาน/อุตสาหกรรม
  • โรงธรรม(วัด/มัสยิด/ศาสนสถาน)
  • สถานที่ราชการ

     ซึ่งสถานที่ดังกล่าวมีการรวมตัวกันของประชาชนถือเป็นสถานที่เสี่ยงที่จะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก และจากผลการสำรวจนั้น พบแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายสูงสุดในกลุ่มโรงธรรม และโรงเรียน

อาการของโรคไข้เลือดออก

  • มีไข้สูงเฉียบพลันเกิน 38 องศาเซลเซียสประมาณ 2-7 วัน
  • อ่อนเพลีย ซึมลง
  • คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
  • ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยตามตัว
  • หน้าแดง อาจพบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกสีแดงเล็กๆ ตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่น

Cr. www.thaipbs.or.th