Main Menu
BANGKOK PORTAL

วันนี้มีที่มา

วันเทคโนโลยีของไทย

     วันเทคโนโลยีของไทย19 ตุลาคมของทุกปี เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย หลังทรงพระกรุณาบัญชาการปฏิบัติบัติการทำฝนสาธิตด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515
​     นอกจากจะทรงเป็นนักปกครองแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ยังทรงมีอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้กำหนดให้ วันที่ 19 ตุลาคม เป็นวันเทคโนโลยีของไทย

​     วันเทคโนโลยีของไทย ทำไมต้องเป็น 19 ตุลาคม
​     สาเหตุที่กำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคม เป็นวันเทคโนโลยีของไทย เนื่องจาก เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 หรือเมื่อ 43 ปีที่แล้ว ด้วยพระปรีชาสามารถในการค้นคว้าทดลองและปฏิบัติการทำฝนหวังผล ให้ตกในพื้นที่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประเทศสิงคโปร์ที่กำลังประสบภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับสภาวะแห้งแล้งในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ในขณะนั้น ขอส่งนักวิทยาศาสตร์มาสังเกตการณ์และขอรับถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญใน การปฏิบัติการทำฝนหวังผลในประเทศไทย ในการนี้ทรงพระกรุณารับบัญชาการปฏิบัติการสาธิตด้วยพระองค์เอง ทรงกำหนดให้อ่างเก็บน้ำของเขื่อนแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีพื้นที่ผิวน้ำเพียง 46.5 ตารางกิโลเมตรหรือ 1,162.5 ไร่ เป็นพื้นที่เป้าหมายหวังผลในการปฏิบัติการทำฝนสาธิตครั้งนี้ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยปฏิบัติการค้นคว้าทดลองและปฏิบัติการทำฝนหวังผลที่ผ่านมา ทรงปฏิบัติการฯสาธิต ในวันที่ 19ตุลาคม 2515 ณ ศูนย์บัญชาการฯ สันเขื่อนแก่งกระจาน ทรงสามารถบังคับหรือชักนำฝนให้ตกลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจานอย่างแม่นยำภายในเวลาประมาณ 5 ชั่วโมงนับจากเริ่มปฏิบัติการ เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาและเป็นที่น่าอัศจรรย์แก่นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ และข้าราชบริพารที่เป็นข้าราชการและข้าราชบริพารระดับสูงที่เฝ้าฯ สังเกตการณ์อยู่ ณ ที่นั้น ต่างประทับใจในพระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาสามารถ
​     การสาธิตฝนครั้งนั้น ถือเป็นต้นกำเนิดเทคโนโลยีฝนหลวงที่พัฒนาเป็นการทำฝนมาถึงปัจจุบัน และเพื่อจารึกไว้เป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543  คณะรัฐบาลจึงมีมติให้เทิดพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็น "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" และกำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันเทคโนโลยีของไทย"  เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด โดยได้ทรงศึกษาค้นคว้าวิจัย และทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนเป็นการแสดงเทคโนโลยีที่คิดค้นประดิษฐ์ และพัฒนาโดยคนไทย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สาธารณชนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าร่วมพัฒนาเทคโนโลยีของไทย
​     และเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2558 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินจากพระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังเขื่อนแก่งกระจาน ของกรมชลประทาน ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี “
โอกาสนี้ทรงทอดพระเนตรการสาธิตการปฏิบัติการฝนหลวงจำลองซึ่งได้ทรงเล่าพระราชทานแก่ผู้ตามเสด็จว่า เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2515 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบัญชาการปฏิบัติการทำฝนหลวงสาธิตแก่นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ ณ เขื่อนแก่งกระจาน ทรงบังคับให้ฝนตกลงตรงเป้าหมาย ท่ามกลางสายตาของผู้แทนต่างประเทศข้าราชการและพสกนิกรชาวไทย ที่มารับเสด็จ ซึ่งต่างชื่นชมในพระปรีชาสามารถถือเป็นต้นกำเนิดเทคโนโลยีฝนหลวงที่พัฒนามาจนถึงปัจจุบันคณะรัฐมนตรีจึงมีมติถวายพระราชสมัญญา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ว่า "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย"และกำหนดให้วันที่ 19 ต.ค.ของทุกปี “เป็นวันเทคโนโลยีไทย” เพื่อจารึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย
​     ในวันนั้นศูนย์ฝนหลวงหัวหิน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้สาธิตปฏิบัติการฝนหลวงตามเทคนิคที่ได้พระราชทานเมื่อปี 2543 ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ล่าสุดใช้ในสภาวะอากาศยากลำบาก เป็นสูตรการกระตุ้นให้เกิดเมฆโดยใช้เครื่องบินเซสน่าคาราแวน 4 ลำ
พระปรีชาของพระบิดาแห่งเทคโนโลยี
​     นอกจาก "โครงการฝนหลวง" แล้ว พระองค์ยังทรงเป็นนักประดิษฐ์ และนักวิทยาศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากโครงการในพระราชดำริ และที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ หลายด้าน ตัวอย่างเช่น
​     กังหันน้ำชัยพัฒนา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้น  "เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย" หรือ "กังหันชัยพัฒนา" เพื่อทำหน้าที่เติมออกซิเจนลงไปในน้ำ เป็นการลดมลภาวะทางน้ำถือได้ว่า เป็นประวัติศาสตร์ของการออกสิทธิบัตรแก่สิ่งประดิษฐ์ของไทย
การออกแบบสายอากาศ(Antenna)  เพื่อใช้กับวิทยุสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ในช่วงต้นรัชสมัย ประเทศไทยยังขาดแคลนเทคโนโลยีขั้นสูง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (HS1A) ได้ทรงหาหนทางพึ่งพาตนเอง พัฒนาอุปกรณ์สื่อสาร เพื่อขจัดปัญหาการติดต่อกับพื้นที่ห่างไกล
​     ในขบวนเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรในระยะแรก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสังเกตุคลื่นวิทยุรบกวนกันระหว่างเครือข่ายทำให้ไม่อาจติดต่อทางวิทยุสื่อสารได้ ทรงมีพระราชดำริว่าสายอากาศน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญ และพระองค์ทรงอาศัยพื้นฐานทางวิทยุศาสตร์ที่เคยศึกษา ได้ทรงค้นคว้าเพิ่มเติมและมีพระราชปฏิสันถารกับผู้รู้
​     พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเริ่มต้นทดลองงานสายอากาศด้วยพระองค์เอง ปรับค่าต่างๆ จนได้สายอากาศที่มีประสิทธิภาพทั้งในการส่งและการรับ สายอากาศที่ดีที่สุดที่ทรงทดลองได้นั้นนอกจากสัมพันธืกับเครื่องรับส่งวิทยุ และสายส่งแล้ว ยังมีค่าสะท้อนกลับของคลื่นวิทยุ หรือที่เรียกว่า Standing Wave Ratio (SWR) ที่ได้มาตรฐานสูงกว่ามาตรฐานสากลซึ่งนักวิทยุสื่อสารได้ปรับใช้กันทั่วไป
​     เมื่อ 40 กว่าปีก่อน ราคาเครื่องรับส่งวิทยุเมื่อเทียบกับงบประมาณของประเทศแล้ว มีมูลค่าสูงแต่เป็นสิ่งจำเป็นในงานพัฒนาประเทศและภารกิจด้านความมั่นคง หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงค้นคว้าและทดลองสายอากาศด้วยพระองค์เองเป็นเบื้องต้นแล้ว จึงมีพระราชดำริว่าเป็นเทคโนโลยีที่น่าจะสามารถพัฒนาขึ้นได้เองภายในประเทศ
งานพัฒนาสายอากาศซึ่งเป็นพระราชดำริที่ได้ริเริ่มครั้งแรกของโลกจึงได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 ได้พระราชทานให้กองทัพและนักวิทยาศาสตร์ไทยร่วมกันค้นคว้าวิจัย ท่ามกลางแดดจัดยามบ่ายพระมหากษัตริย์ประทับบนดาดฟ้าพระตําหนักจิตรลดารโหฐานพระราชทานกระแสพระราชดำรัส เกี่ยวกับสายอากาศตามพระราชประสงค์จำนวนกว่า 20 รายการ แก่ ดร.สุธี อักษรกิตติ์ จึงได้ออกแบบและสร้างสายอากาศถวาย ตามพระราชประสงค์ จนกระทั่งสายอากาศเหล่านั้นได้รับพระราชทาน ได้แก่
เมื่อ ๓๐-๔๐ ปีก่อน รองศาสตราจารย์ ดร.สุธี อักษรกิตติ์ และ พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ ได้เคยถวายตัวรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทแด ่องค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อน้อมรับพระราชดำริในการออกแบบสร้างสา ยอากาศให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ เพื่อนำมาออกแบบและสร้างสายอากาศถวาย ตามพระราชประสงค์ จนกระทั่งสายอากาศเหล่านั้นได้รับพระราชทา นชื่อ สุธี ๑, สุธี ๒, สุธี ๓, สุธี ๔ และไส้กรอกหลวง
​     "ทฤษฎีใหม่" เป็นการบริหารจัดการที่ดินเพื่อเกษตรกร ให้มีสภาพการใช้งานที่สร้างความยั่งยืนมากกว่าการทำการเกษตร โดยไม่มีการแบ่งส่วนของที่ดิน เพื่อใช้ทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำ และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ควบคู่ไปกับการเพาะปลูก เป็นต้น ฯลฯ
โครงการ "แกล้งดิน" โดยทรงพบว่า ดินพรุเป็นดินเปรี้ยวจัด ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ จึงมีพระราชดำริว่า ควรแกล้งทำให้ดินเปรี้ยวจนถึงที่สุด แล้วทำ "วิศวกรรมย้อนรอย"  หาทางปรับปรุงดินที่เปรี้ยวนั้น เพื่อจะได้รู้วิธีแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดสภาพเปรี้ยวแบบที่เคยเป็น จากนั้นจึงมีการปรับปรุงดินเปรี้ยวโดยวิธีการต่างๆ จนทำให้พื้นดินที่เปล่าประโยชน์ และไม่สามารถทำอะไรได้ กลับฟื้นคืนสภาพที่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกครั้งหนึ่ง

​     กิจกรรมในวันเทคโนโลยีแห่งชาติ
​     กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงาน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการเทิดพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะที่ทรงเป็น "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" โดยเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2544
​     กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ โดยแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถของพระองค์ในฐานะ "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" อีกทั้งมีนิทรรศการเทคโนโลยี เพื่อแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ที่ค้นคิดโดยคนไทย และมอบรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น รวมทั้งมีการสัมมนา อภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอีกด้วย

Cr.www.http://huahin.royalrain.go.th