วันโอโซนโลกมีการเฉลิมฉลองทุกปีในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ.1987 (พ.ศ.2528) เป็นวันที่ให้ความสำคัญกับบรรยากาศโลกชั้นโอโซนซึ่งมันมีบทบาทสำคัญในสภาพแวดล้อม องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันที่สะท้อนให้เห็นถึงการลดลงของชั้นบรรยากาศโอโซน มีกิจกรรมมากมายที่จัดโดยองค์กรต่าง ๆ เพื่อชี้ให้เห็นถึงการลดลงของชั้นบรรยากาศโอโซน เช่น การรณรงค์เลิกใช้กระป๋องสเปรย์
ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษเผยผลสำรวจ ประเทศไทย ช่วง 6 เดือน แรกของปี พ.ศ.2558 ใน 25 จังหวัด มีการตรวจพบ 12 จังหวัดที่มีปริมาณก๊าซโอโซนเพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร ราชบุรี ลำปางลำพูน แพร่ นครราชสีมา และฉะเชิงเทรา (เฉลี่ยเกินค่ามาตรฐานร้อยละ 16 ปี พ.ศ.2557 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 26 ในปี พ.ศ.2558 และอีก 12 จังหวัด ก๊าสโอโซนปริมาณลดลงอย่างชัดเจน เช่น ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ เชียงใหม่เชียงรายแม่ฮ่องสอน (เกินค่ามาตรฐานเฉลี่ยร้อยละ 24 ปี พ.ศ.2557 ลดลงเหลือร้อยละ 15 ในปี พ.ศ.2558) และก๊าซโอโซนพบปริมาณไม่เปลี่ยนแปลง ในจังหวัดสุราษร์ธานี
ประวัติวันโอโซนโลก
เกิดจากการที่นานาประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528) เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนา และพิธีสาร ว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน" ขึ้น และ ในปี ค.ศ.1987 (พ.ศ. 2530) ได้จัดให้มีการลงนาม เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล"
สาระสำคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการ พิทักษ์ ชั้นโอโซน และ เป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 191 ประเทศพิธีสารมอนทรีออลกับการช่วยปกป้องมนุษยชาติ พิธีสารมอนทรีออล กำหนดให้ประเทศภาคีสมาชิก ลดและเลิกการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน โดยเป็นการลดในรูปแบบขั้นบันได เพื่อให้ไม่ให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อประเทศภาคีสมาชิกทั่วโลก
หากไม่มีพิธีสารมอนทรีออลฉบับนี้ ชั้นบรรยากาศโอโซนที่คอยช่วยกรองรังสียูวีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบน โลกจะถูกทำลายลง โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้ประเมินไว้ว่า หากพิธีสารมอนทรีออลไม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้น จำนวนคนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งผิวหนังในอีก 40 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 19 ล้านคนทั่วโลก และ 130 ล้านคนจะเป็นโรคตาต้อกระจก แม้ว่าระยะเวลาดังกล่าวจะดูเหมือนค่อนข้างนาน แต่ด้วยการเจริญเติบโตทางอุตสาหกรรม สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนจะยิ่งถูกผลิตมากขึ้นและนำไปใช้ในปริมาณมาก ปฏิกิริยาการทำลายโอโซนก็จะยิ่งสูงขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้พิธีสารมอนทรีออลยังมีส่วนในการช่วยชะลอปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศไปอีก 10 ปี กล่าวคือ หากไม่มีพิธีสารดังกล่าว โลกจะเผชิญกับปัญหาการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศเร็วขึ้นอีก 10 ปี
สำหรับประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ.1988 (พ.ศ.2531) และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ.1989 (พ.ศ.2532) มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ.1989 (พ.ศ.2532)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อกระตุ้น ให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
2. เพื่อช่วยกันลดใช้สาร CFC และสารฮาลอนซึ่งเป็นตัวทาลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ
สาร CFC (Chlorofluorocarbon) รวม 5 ชนิดและสารฮาลอน (Holon) 3 ชนิด รวมสารควบคุมทั้งสิ้น 8 ชนิด ซึ่งสารเหล่านี้ถูกใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น สารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นก๊าซสำหรับเป่าโฟม และเป็นฉนวนในโฟมรวมทั้งใช้เป็นตัวทำละลายในการทำความสะอาด ล้างคราบไขมันสิ่งสกปรกในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่สารที่อยู่ในกระป๋องสเปรย์ ผลของพิธีสารในขั้นต้นสารเคมีที่ถูกควบคุม คือ สารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิงในอุปกรณ์ป้องกัน และระงับอัคคีภัยซึ่งการใช้สาร CFC ก็มีมากในการอุตสาหกรรม นั่นคืออุตสาหกรรมยิ่งพัฒนา ก็จะมีการทำลายโอโซนกันมากเท่านั้น
โอโซนคืออะไร
ชั้นโอโซน (อังกฤษ: zone layer) เป็นส่วนหนึ่งชั้นบรรยากาศของโลกที่ประกอบด้วยโอโซนในปริมาณมาก ชั้นโอโซนช่วยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ประมาณ 97-99% ของรังสีทั้งหมดที่แผ่มายังโลก
โอโซนคือรูปแบบพิเศษของออกซิเจน ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในชั้นของบรรยากาศชั้นบน ๆ ชั้นโอโซนนี้มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อโลก
ชั้นโอโซนอยู่ห่างจากผิวโลก ประมาณ 20 ไมล์ โดยอยู่ในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ ชั้นโอโซนจะช่วยป้องกันไม่ให้รังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ส่องมาถึงโลกของเรา ดวงอาทิตย์ทำให้ชีวิตบนโลกดำรงอยู่ได้ ความอบอุ่นและพลังงานของดวงอาทิตย์ ส่งผลต่อดิน น้ำ อากาศ และสิ่งมีชีวิตทุกอย่าง แต่ดวง อาทิตย์ทำให้เกิดรังสีที่เป็นอันตรายต่อชีวิตด้วย ชั้นโอโซนมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะทำหน้าที่เป็นเกราะคุ้มกัน ปกป้องพืชและสัตว์จากรังสีที่เป็นอันตรายของดวงอาทิตย์
ดังนั้น เมื่อใดที่โอโซนบางลงเราก็ได้รับการปกป้องน้อยลงด้วย เราเรียกรังสีที่เป็นอันตรายจากดวงอาทิตย์ว่า อุลตราไวโอเลต อุลตราไวโอเลตเป็นรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หากมีปริมาณน้อยรังสีอุลตราไวโอเลตจะปลอดภัยและมีประโยชน์
โดยช่วยให้ร่างกายของเราได้รับวิตามินอี แต่รังสีอุลตราไวโอเลตที่มากเกินไป เป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวหนังของเราอักเสบเนื่องจากแพ้แดด
ปริมาณของรังสีอุลตราไวโอเลตจำนวนมาก อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการอักเสบรุนแรง เกิดโรคผิวหนังและปัญหาเกี่ยวกับดวงตา รังสีอุลตราไวโอเลตยัง ลดความสามารถของร่างกายมนุษย์ ในการต่อสู้กับโรคต่าง ๆ นอกจากนี้รังสีอุลตราไวโอเลตปริมาณมากยังทำลายพืชในไร่และต้นพืชเล็ก ๆ ในทะเลซึ่งเป็นอาหารของปลา หากต้องไปอยู่ท่ามกลางแสงแดด ควรทาครีมป้องกันผิว ครีมทาผิวเหล่านี้จะมีตัวเลขบอก ปริมาณการปกป้องผิวจากรังสีอุลตราไวโอเลตได้
Cr. www.mnre.go.th
Copyright © 2020 Bangkok.go.th All rights reserved. ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ทุ่งครุ ส่วนห้องสมุดและการเรียนรู้ สำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้
สํานักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว โทร. ๐ ๒๔๒๖ ๕๒๕๗ e-mail : thungkhrulibrary024265257@gmail.com