1.แรดขาว (Ceratotherium simum) เป็นแรดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พบในทวีปแอฟริกา 2.แรดดำ (Diceros bicornis) เป็นแรดที่มีความใหญ่รองมาจากแรดขาว พบในทวีปแอฟริกาเช่นกัน 3.แรดอินเดีย (Rhinoceros unicornis) พบในภูมิภาคเอเชียใต้ จัดเป็นแรดที่มีเพียงนอเดียว มีลักษณะเด่นคือ ผิวหนังหนาและมีรอยย่นเห็นได้ชัดเจน 4.แรดชวา (Rhinoceros sondaicus) พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับแรดอินเดีย เป็นแรดชนิดที่หายากที่สุดในโลก และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดที่หายากที่สุดในโลกอีกด้วย 5.กระซู่ หรือ แรด 2 นอ หรือ แรดสุมาตรา, แรดขน (Dicerorhinus sumatrensis) มีลักษณะเด่นที่สุดคือ มี 2 นอ นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง จัดเป็นสัตว์ตระกูลแรดที่มีขนาดเล็กที่สุด พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน มีลักษณะเด่นคือ มีขนปกคลุมทั้งลำตัว เป็นแรดที่หายากมากอีกชนิดหนึ่ง
ทั้งนี้ การกำหนดให้ทุกวันที่ 22 กันยายน ของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์แรดโลก ถือเป็นอีกหนึ่งหนทางในการเพิ่มความตระหนักถึงการลดจำนวนลงของประชากรแรดทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันมีการปรับตัวลดลงจนเกือบจะกลายเป็นสัตว์สูญพันธุ์ไปแล้ว
ปัจจุบันมีประชากรแรดจำนวนน้อยกว่า 30,000 ตัว แม้ว่าจะไม่มีตัวเลขที่แน่นอน แต่ผู้เชี่ยวชาญอย่าง Emma Pereira ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารขององค์กร Save the Rhino International เชื่อว่าปัจจุบันมีแรดเพียง 27,000 – 30,000 ตัวเท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยมีสองสายพันธุ์ที่มีจำนวนเหลือเยอะกว่าสายพันธุ์อื่นๆ คือ แรดดำแอฟริกันมีเหลืออยู่ประมาณ 5,500 ตัว และแรดขาวแอฟริกันเหลืออยู่ประมาณ 18,000 ตัว
ส่วนแรดอีกสามสายพันธุ์ที่อยู่ในพื้นที่แถบเอเชียนั้น พบว่า แรดนอเดียวเหลืออยู่แค่ประมาณ 3,500 ตัว ส่วนแรดชวาเหลืออยู่น้อยกว่า 70 ตัว และแรดสุมาตราเหลืออยู่น้อยกว่า 80 ตัว Cr. www.samyan-mitrtown.com