ในช่วงแรก (พ.ศ.2453 ถึง พ.ศ.2454) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสนับสนุนและเป็นผู้ริเริ่มการจัดงานการแสดงกสิกรรมและพาณิชการ ซึ่งในปัจจุบัน คือ “งานเกษตรแห่งชาติ” ในงานมีการแสดงมหรสพ แตรวง รวมทั้งจัดแสดงสินค้าเกษตรและเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการเพาะปลูกจากในประเทศและต่างประเทศ มีการทำโรงนาสาธิตให้ประชนดูเป็นตัวอย่าง ประกวดพันธุ์ข้าวและพันธุ์พืช มีการแนะนำให้รู้จักระบบชลประทานและรัฐบาลสนับสนุนลงทุนจัดงานให้ทั้งหมด ส่วนการแสดง กสิกรรม และพาณิชยการ ครั้งที่ 2 ช่วงนี้ประชาชนรู้รักพัฒนาพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์พัฒนาวิธีการปลูก แต่ไม่มีการแสดงมหรสพเพราะอยู่ในระหว่างการไว้ทุกข์พระบรมศพ รัชกาลที่ 5 การจัดงานครั้งนี้จึงอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐบาลมีนโยบายลดค่าใช้จ่ายในการจัดงานลง การส่งพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ก็มีจำนวนลดลงด้วย
แรก ๆ การจัดงานวันเกษตรจะไม่มีคำว่า “แห่งชาติ” โดยจะเป็นชื่องานว่า งานวันเกษตรต่อมาปรากฏว่างานวันเกษตรได้รับความสนใจจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก ขอบเขตของการจัดงานได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางจนเกินงบประมาณและกำลังคน ประกอบกับบ้านเมืองประสบปัญหาเศรษฐกิจ จึงเป็นเหตุให้ต้องหยุดการจัดงานไปหลายปี
ต่อมารัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดงานลักษณะนี้ จึงมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานวันเกษตรแห่งชาติขึ้น ตั้งแต่วันที่ 3 – 4 มกราคม พ.ศ. 2491 โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ ซึ่งส่วนราชการทั้งสองได้ร่วมกันจัดติดต่อกันเรื่อยมา เป็นประจำทุกปี ณ บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
วัตถุประสงค์ของการจัดงานถือหลักการเดิมของการจัดงานนิทรรศการครั้งแรก คือ การจัดแสดงต่าง ๆ จะเป็นทางหนึ่งที่ชักนำปลุกใจอาณาประชาราษฎร์ ให้ประกอบการเพาะปลุก เลี้ยงสัตว์ และค้าขายให้เจริญทันสมัย โดยมีจุดประสงค์จะให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งเกษตรกร ได้เรียนรู้พัฒนาการวิชาการใหม่ ๆ และเน้นนโยบายที่จะให้เกษตรทุกภาคได้รับความก้าวหน้า และพัฒนาการวิชาการการเกษตรใหม่ ๆ และเน้นนโยบายที่จะให้เกษตรทุกภาคได้รับทราบความก้าวหน้า และพัฒนาการทางด้านการเกษตรอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ
นอกจากนั้นยังเน้นให้เกษตรที่ทำงานหนักมาทั้งปีได้มีโอกาสพักผ่อนหย่อนใจและหาความสำราญในการเที่ยวงาน จึงมีมติเห็นชอบให้จัดงานวันเกษตรแห่งชาติขึ้น ทั้งในส่วนภูมิภาคสลับกับส่วนกลาง โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่าง ๆ ต่อมาการจัดงานวันเกษตรแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปี และได้เปลี่ยนไปจากเดิมเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ก่อสร้างอาคารของมหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์และของกระทรวงกระเกษตรเสียเป็นส่วนมาก การจัดงานจึงไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านั้นได้อย่างเต็มที่นัก ซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการจัดตลาดนัด และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เป้าหมายของงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก คือ เน้นทางด้านธุรกิจ
ผู้ที่มาเที่ยวงานส่วนใหญ่เป็นนิสิตนักศึกษา และข้าราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรเป็นส่วนใหญ่ และบุคคลภายนอกที่มาเดินเที่ยวชมงาน ส่วนพวกเกษตรกรจะมีแต่พวกที่เป็นแม่ค้าหรือพ่อค้าขนสินค้ามาเพื่อขายเท่านั้นมิได้สนใจใฝ่รู้พัฒนาการใหม่ ๆ ทางด้านการเกษตร และบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่างเรียกชื่องานนี้ว่า “งานเกษตรแฟร์” Cr. www.lib.ru.ac.th