Main Menu
BANGKOK PORTAL

วันนี้มีที่มา

วันไบโพลาร์โลก

     โรคไบโพลาร์ (Bipolar) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว นับเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่อาจอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิดและไม่ควรมองข้าม ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคดังกล่าวมากเป็นอันดับ 3 ของโรคทางจิตเวช ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังระบุว่า โรคไบโพลาร์ เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความสูญเสียเนื่องจากความเจ็บป่วยหรือพิการมากเป็นอันดับ 6 ของโลกอีกด้วย โดยมีผู้ป่วยถึง 1 ใน 5 ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ ดังนั้น เนื่องในโอกาสวันที่ 30 มีนาคม วันไบโพลาร์โลก (World bipolar day) เราจึงจะพาทุกคนไปร่วมสร้างความเข้าใจกับโรคดังกล่าวอีกครั้ง

     โรคไบโพลาร์ (Bipolar) คืออะไร 

     โรคไบโพลาร์ (Bipolar) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นโรคทางอารมณ์ที่ผู้ป่วยจะมีความแปรปรวนทางอารมณ์สูง ทำให้บางช่วงผู้ป่วยอาจมีอาการซึมเศร้า สลับกับช่วงเวลาที่อารมณ์ดี ครึกครื้น หรืออาจหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ ขณะที่สาเหตุของโรคไบโพลาร์เชื่อว่าเกิดจากการทำงานผิดปกติในสมอง ในการหลั่งสารสื่อนำประสาทที่ไม่สมดุล และปัจจัยดัานพันธุกรรมก็อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
     สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะแบ่งเป็นช่วงที่อารมณ์ดีอย่างผิดปกติ หรือภาวะมาเนีย (Mania) ที่ผู้ป่วยจะรื่นเริงเกินกว่าที่ควรจะเป็นอย่างไม่สมเหตุสมผล ช่างพูดช่างคุย แต่หากอารมณ์ร้ายขึ้นมาก็อาจมีลักษณะของความก้าวร้าว กับอีกช่วงหนึ่งคือ ภาวะซึมเศร้า (Depressive) ที่ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนกับโรคซึมเศร้า เช่น การแยกตัวออกไป รู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร กินไม่ได้ นอนไม่หลับ สำหรับกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือ รู้สึกเหมือนตัวเองไม่มีค่า และพยายามฆ่าตัวตาย โดยมีผู้ป่วยถึง 1 ใน 5 ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ 
     โรคดังกล่าวนี้สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชายเท่า ๆ กัน โดยร้อยละ 20 ของผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการระหว่างอายุ 15-19 ปี เป็นโรคทางจิตเวชที่มีผู้ป่วยมากถึงร้อยละ 2 ของประชากรโลก ดังนั้น โรคไบโพลาร์จึงเป็นกลุ่มความผิดปกติทางอารมณ์ที่คนในสังคมไม่ควรมองข้าม ควรหันมาสร้างความเข้าใจเพื่อให้ตระหนักรู้โดยเร็วหากพบคนในครอบครัวมีลักษณะอาการใกล้เคียงกับโรคนี้
 

     วันไบโพลาร์โลก (World bipolar day)

     วันไบโพลาร์โลก (World bipolar day) ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม ของทุกปี เริ่มต้นขึ้นจากความคิดริเริ่มของเครือข่ายโรคไบโพลาร์ของทวีปเอเชีย (Asian Network of Bipolar Disorder) ซึ่งได้ร่วมกับอีก 2 องค์กรอย่าง International Bipolar Foundation และสมาพันธ์โรคไบโพลาร์สากล (International Society for Bipolar Disorders) ในการขับเคลื่อนและทำงานร่วมกันในวันดังกล่าวนี้ โดยถือเอาวันที่ 30 มีนาคม ซึ่งเป็นวันเกิดของ วินเซนต์ แวน โก๊ะ (Vincent van Gogh) ศิลปินผู้ล่วงลับ ที่คาดว่าน่าจะเป็นหนึ่งในผู้ป่วยไบโพลาร์ มาจัดตั้งวันไบโพลาร์โลกขึ้น
     ด้วยวิสัยทัศน์ที่จะทำให้สังคมโลกได้ตระหนักถึงปัญหา สร้างความรู้ความเข้าใจ และช่วยลดตราบาปทางสังคมที่มีต่อโรคนี้ ทั้ง 3 องค์กรได้ทำงานร่วมกันเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโรคไบโพลาร์ไปสู่สังคมโลก สร้างความตระหนักรู้ในเรื่องโรคดังกล่าวแก่สังคม และเพื่อให้ไวต่อการตอบสนองความเจ็บป่วย
โดย วิลเลม โนเลน อดีตประธานของสมาพันธ์โรคไบโพลาร์สากล เคยกล่าวถึงที่มาของวันไบโพลาร์โลก ระบุว่า หลังจากเครือข่ายโรคไบโพลาร์ของทวีปเอเชียเสนอไอเดียดังกล่าว พวกเขาก็ตัดสินใจทันทีที่จะสนับสนุนไอเดียดังกล่าวอย่างแข็งขัน เพราะนั่นจะช่วยให้ทางองค์กรบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไบโพลาร์และคนที่เกี่ยวข้องได้

     ขณะที่ มัฟฟี่ เวลก์ ผู้ก่อตั้งและประธานของ International Bipolar Foundation เผยว่า เธอเคยฝันว่าสักวันลูกชายของเธอที่ต้องใช้เกือบทั้งชีวิตอยู่กับโรคไบโพลาร์ จะสามารถอาศัยอยู่ในประเทศที่เขาไม่ต้องถูกคนรอบข้างตัดสินจากตัวโรคอีก แต่มองที่ตัวตนของเขาจริง ๆ ซึ่งเธอเชื่อมั่นว่าการจัดตั้งวันไบโพลาร์โลกนี้จะช่วยทำให้ความฝันของเธอเป็นจริงได้

     กิจกรรมวันไบโพลาร์โลก

     ในวันไบโพลาร์โลก นอกจากจะมีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโรคไบโพลาร์ เพื่อให้คนในสังคมได้ทำความรู้จักกันแล้ว ยังจะมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในโรคดังกล่าวอีกด้วย

Cr. www.health.kapook.com

โรคไบโพลาร์ (Bipolar) คืออะไร 


          โรคไบโพลาร์ (Bipolar) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นโรคทางอารมณ์ที่ผู้ป่วยจะมีความแปรปรวนทางอารมณ์สูง ทำให้บางช่วงผู้ป่วยอาจมีอาการซึมเศร้า สลับกับช่วงเวลาที่อารมณ์ดี ครึกครื้น หรืออาจหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ ขณะที่สาเหตุของโรคไบโพลาร์เชื่อว่าเกิดจากการทำงานผิดปกติในสมอง ในการหลั่งสารสื่อนำประสาทที่ไม่สมดุล และปัจจัยดัานพันธุกรรมก็อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน

          สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะแบ่งเป็นช่วงที่อารมณ์ดีอย่างผิดปกติ หรือภาวะมาเนีย (Mania) ที่ผู้ป่วยจะรื่นเริงเกินกว่าที่ควรจะเป็นอย่างไม่สมเหตุสมผล ช่างพูดช่างคุย แต่หากอารมณ์ร้ายขึ้นมาก็อาจมีลักษณะของความก้าวร้าว กับอีกช่วงหนึ่งคือ ภาวะซึมเศร้า (Depressive) ที่ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนกับโรคซึมเศร้า เช่น การแยกตัวออกไป รู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร กินไม่ได้ นอนไม่หลับ สำหรับกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือ รู้สึกเหมือนตัวเองไม่มีค่า และพยายามฆ่าตัวตาย โดยมีผู้ป่วยถึง 1 ใน 5 ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ 

          โรคดังกล่าวนี้สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชายเท่า ๆ กัน โดยร้อยละ 20 ของผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการระหว่างอายุ 15-19 ปี เป็นโรคทางจิตเวชที่มีผู้ป่วยมากถึงร้อยละ 2 ของประชากรโลก ดังนั้น โรคไบโพลาร์จึงเป็นกลุ่มความผิดปกติทางอารมณ์ที่คนในสังคมไม่ควรมองข้าม ควรหันมาสร้างความเข้าใจเพื่อให้ตระหนักรู้โดยเร็วหากพบคนในครอบครัวมีลักษณะอาการใกล้เคียงกับโรคนี้

          [อ่าน โรคไบโพลาร์ Bipolar คนอารมณ์สองขั้ว เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย]

 

วันไบโพลาร์โลก (World bipolar day)


          วันไบโพลาร์โลก (World bipolar day) ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม ของทุกปี เริ่มต้นขึ้นจากความคิดริเริ่มของเครือข่ายโรคไบโพลาร์ของทวีปเอเชีย (Asian Network of Bipolar Disorder) ซึ่งได้ร่วมกับอีก 2 องค์กรอย่าง International Bipolar Foundation และสมาพันธ์โรคไบโพลาร์สากล (International Society for Bipolar Disorders) ในการขับเคลื่อนและทำงานร่วมกันในวันดังกล่าวนี้ โดยถือเอาวันที่ 30 มีนาคม ซึ่งเป็นวันเกิดของ วินเซนต์ แวน โก๊ะ (Vincent van Gogh) ศิลปินผู้ล่วงลับ ที่คาดว่าน่าจะเป็นหนึ่งในผู้ป่วยไบโพลาร์ มาจัดตั้งวันไบโพลาร์โลกขึ้น

          ด้วยวิสัยทัศน์ที่จะทำให้สังคมโลกได้ตระหนักถึงปัญหา สร้างความรู้ความเข้าใจ และช่วยลดตราบาปทางสังคมที่มีต่อโรคนี้ ทั้ง 3 องค์กรได้ทำงานร่วมกันเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโรคไบโพลาร์ไปสู่สังคมโลก สร้างความตระหนักรู้ในเรื่องโรคดังกล่าวแก่สังคม และเพื่อให้ไวต่อการตอบสนองความเจ็บป่วยโรคไบโพลาร์ (Bipolar) คืออะไร
 


          โรคไบโพลาร์ (Bipolar) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นโรคทางอารมณ์ที่ผู้ป่วยจะมีความแปรปรวนทางอารมณ์สูง ทำให้บางช่วงผู้ป่วยอาจมีอาการซึมเศร้า สลับกับช่วงเวลาที่อารมณ์ดี ครึกครื้น หรืออาจหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ ขณะที่สาเหตุของโรคไบโพลาร์เชื่อว่าเกิดจากการทำงานผิดปกติในสมอง ในการหลั่งสารสื่อนำประสาทที่ไม่สมดุล และปัจจัยดัานพันธุกรรมก็อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน

          สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะแบ่งเป็นช่วงที่อารมณ์ดีอย่างผิดปกติ หรือภาวะมาเนีย (Mania) ที่ผู้ป่วยจะรื่นเริงเกินกว่าที่ควรจะเป็นอย่างไม่สมเหตุสมผล ช่างพูดช่างคุย แต่หากอารมณ์ร้ายขึ้นมาก็อาจมีลักษณะของความก้าวร้าว กับอีกช่วงหนึ่งคือ ภาวะซึมเศร้า (Depressive) ที่ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนกับโรคซึมเศร้า เช่น การแยกตัวออกไป รู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร กินไม่ได้ นอนไม่หลับ สำหรับกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือ รู้สึกเหมือนตัวเองไม่มีค่า และพยายามฆ่าตัวตาย โดยมีผู้ป่วยถึง 1 ใน 5 ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ 

          โรคดังกล่าวนี้สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชายเท่า ๆ กัน โดยร้อยละ 20 ของผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการระหว่างอายุ 15-19 ปี เป็นโรคทางจิตเวชที่มีผู้ป่วยมากถึงร้อยละ 2 ของประชากรโลก ดังนั้น โรคไบโพลาร์จึงเป็นกลุ่มความผิดปกติทางอารมณ์ที่คนในสังคมไม่ควรมองข้าม ควรหันมาสร้างความเข้าใจเพื่อให้ตระหนักรู้โดยเร็วหากพบคนในครอบครัวมีลักษณะอาการใกล้เคียงกับโรคนี้

          [อ่าน โรคไบโพลาร์ Bipolar คนอารมณ์สองขั้ว เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย]
 

วันไบโพลาร์โลก (World bipolar day)


          วันไบโพลาร์โลก (World bipolar day) ตรงกับวันที่ 30 มีนาคม ของทุกปี เริ่มต้นขึ้นจากความคิดริเริ่มของเครือข่ายโรคไบโพลาร์ของทวีปเอเชีย (Asian Network of Bipolar Disorder) ซึ่งได้ร่วมกับอีก 2 องค์กรอย่าง International Bipolar Foundation และสมาพันธ์โรคไบโพลาร์สากล (International Society for Bipolar Disorders) ในการขับเคลื่อนและทำงานร่วมกันในวันดังกล่าวนี้ โดยถือเอาวันที่ 30 มีนาคม ซึ่งเป็นวันเกิดของ วินเซนต์ แวน โก๊ะ (Vincent van Gogh) ศิลปินผู้ล่วงลับ ที่คาดว่าน่าจะเป็นหนึ่งในผู้ป่วยไบโพลาร์ มาจัดตั้งวันไบโพลาร์โลกขึ้น

          ด้วยวิสัยทัศน์ที่จะทำให้สังคมโลกได้ตระหนักถึงปัญหา สร้างความรู้ความเข้าใจ และช่วยลดตราบาปทางสังคมที่มีต่อโรคนี้ ทั้ง 3 องค์กรได้ทำงานร่วมกันเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโรคไบโพลาร์ไปสู่สังคมโลก สร้างความตระหนักรู้ในเรื่องโรคดังกล่าวแก่สังคม และเพื่อให้ไวต่อการตอบสนองความเจ็บป่วย